Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คีตาแห่งสยาม
•
ติดตาม
26 ม.ค. 2021 เวลา 09:00 • หนังสือ
✴️ บทนำ (ตอนที่ 8) ✴️ หน้า (46) - (47)
💠 การเริ่มบทสทนาในคีตา 💠
ในแง่สัญลักษณ์แล้ว นี่คือฉากเริ่มการสนทนาในคีตา: จิตวิญญาณแห่งมนุษย์ การหยั่งรู้ถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันกับนิรันดรภาพ บรมวิญญาณอันเกษมสุขได้เสื่อมทรามลงในกายจิตของมนุษย์
อินทรีย์สัมผัสและจิตที่มืดบอด กับพุทธิ (พลังปัญญาแยกแยะอันบริสุทธิ์) ที่มีอำนาจอยู่เหนืออาณาจักรแห่งกายนี้ มีความขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา อำนาจแห่งกิเลส (จิตที่หมกมุ่นอยู่กับการแสวงหาความเพลิดเพลินภายนอก) — ขัดแย้งกับ พุทธิ (พลังปัญญาบริสุทธิ์) ที่พยายามนำจิตสำนึกของมนุษย์กลับสู่สภาวะการหยั่งรู้วิญญาณซึ่งมีมาคู่กับมนุษย์
“สกา” คือเกมแห่งมายา ที่นำจิตมนุษย์ถอยห่างจากบรมวิญญาณสู่วัตถุ จากจิตวิญญาณสู่พันธะทางกาย เกมนี้มีเสน่ห์เย้ายวน มนุษย์ถึงกับเอาอาณาจักรกายทั้งหมดของตน และพลังสันติสุขแห่งวิญญาณเป็นเดิมพันในการชิงชัยกับผัสสอินทรีย์ที่ล่อลวงนำไปสู่กาม เพื่อที่ว่าสุดท้ายแล้วก็ถูกสิ่งเหล่านั้นครอบงำ – เช่น ปัญญาญาณอันบริสุทธิ์แห่งอาตมันถูกโค่นอำนาจจากอาณาจักรกาย และต้องถูกเนรเทศออกจากเมืองไป
ทั้ง ๆ ที่เดิมทีแล้ว เมื่ออยู่ในวัยเด็ก อินทรีย์แห่งชีวิต และพัฒนาการทางกายของมนุษย์ ถูกควบคุมอย่างอัตโนมัติโดยพลังปัญญาแห่งวิญญาณ (การแยกแยะอันบริสุทธิ์และความสงบ) แต่เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ความอยากอย่างแรงกล้าถูกกระตุ้นด้วยความเย้ายวนของชีวิตและนิสัยจากชาติก่อน ๆ แล้วเริ่มบ่มเพาะความวุ่นวายเพื่อยึดครองอาณาจักรกาย
พุทธิปัญญาของพี่น้องปาณฑพถูกชักนำเข้าไปสู่เกมที่มีกลลวงของอินทรีย์ และถูกขับออกจากอาณาจักร เมื่อมนุษย์ผ่านประสบการณ์เลวร้ายมาหลายปี และถูก “ตะบันอย่างหนัก” ด้วยความโลภ โกรธ กาม ความอิจฉา และการหลงตน เมื่อนั้นแหละที่การแยกแยะและผลพวงอันประเสริฐของมันจะหาทางกอบกู้อาณาจักรกายที่สูญหายไปให้ กลับคืนมา
เมื่ออินทรีย์ในกายเกิดความเคยชินเลวๆ ปัญญาแห่งเจตจำนงอิสระจะถูกขับออกไป 'อย่างน้อยสิบสองปี' การเปลี่ยนแปลงทางกายและจิตที่สมบูรณ์ และการสร้างนิสัยใหม่ๆที่ดีจะเป็นไปได้ภายในสิบสองปีเท่านั้น
ในวงรอบสิบสองปีนี้ มนุษย์จะค่อยๆก้าวหน้าไปสู่การวิวัฒน์ทางจิตวิญญาณ (ต้องใช้เวลาสิบสองปีด้วยการมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ตามปกติ และปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ เพื่อให้เกิดผลต่อโครงสร้างของสมองแม้ในส่วนที่ประณีตที่สุด — และต้องใช้เวลานับล้านปีที่จะทำให้สมองสะอาดบริสุทธิ์พอที่จะสำแดงจิตจักรวาลได้อย่างเพียงพอ แต่ด้วยเทคนิค “#กริยาโยคะ” กระบวนการวิวัฒน์นี้จะเร็วขึ้นอย่างมาก)
สัญลักษณ์ของ 'ปีที่สิบสาม' ที่พี่น้องปาณฑพต้อง “ปลอมตัว” อยู่นอกอาณาจักรของตนนั้น หมายถึง “โยคะสมาธิ” ที่ผู้ภักดีต้องดึงวิญญาณที่มีพุทธิปัญญาออกมาให้พร้อมที่จะต่อสู้เพื่อเรียกเอาอาณาจักรกายกลับคืนมา
คีตาจึงได้พรรณนาถึงการที่ (1)'ยุธิษเฐียรปลุกและฝึกพลังทิพย์จนจิตมีความสงบยิ่ง' (2)'ส่วนภีมะนั้นควบคุมปราณ (พลังชีวิต)' (3)'อรชุนมีตบะควบคุมตนพ้นจากการยึดมั่นถือมั่น' (4)'นกุลมีพลังที่จะยึดมั่นอยู่กับระเบียบที่ดีงาม' และ (5)'สหเทพมีพลังที่จะต่อต้านความชั่ว'
ทายาทผู้มีพุทธิปัญญาเหล่านี้ พร้อมกับกองทัพและพันธมิตรที่มีจริตฝ่ายจิตวิญญาณและความดี พยายามที่จะกลับจากการถูกเนรเทศ แต่ความโน้มเอียงของผัสสอินทรีย์ขี้ฉ้อกับกองทัพผัสสะของมันไม่เต็มใจที่จะไปจากอาณาจักรกายที่มันครอบครองอยู่
ทว่าด้วยการช่วยเหลือของ 'กฤษณะ' (คุรุ หรือจิตวิญญาณที่ตื่นแล้ว หรือสหัชญาณที่เกิด จากสมาธิ) สงครามต้องดำเนินไป – ทั้งทางวัตถุ จิตใจ และจิตวิญญาณ ด้วยประสบการณ์ซ้ำๆของสมาธิ เพื่อทวงเมืองคืนจากอหังการและกองทัพแห่งความชั่วร้ายในจิตใจ ในสนามรบแห่งกายมนุษย์ — กุรุเกษตร “สนามแห่งการกระทำ” – #ทายาทของจิตที่มืดบอดกับทายาทของพุทธิปัญญาอันบริสุทธิ์จึงต่างประจันหน้าเข้าหากัน
___
▪️ร้อยลักษณะของผัสสจริต (เการพ)▪️
แง่มุมเชิงลบนับร้อยของผัสสอินทรีย์ (ที่แตกต่างกันไปอย่างนับไม่ถ้วน) เป็นศัตรูที่น่าคร้ามเกรง ซึ่งบางส่วนของทายาทแห่งจิตที่มืดบอดมีดังนี้ :
กามราคะ ความโกรธ ความโลภ
ความตระหนี่ ความเกลียด ความอิจฉา
ความชั่วร้าย ตัณหา การข้องอยู่กับเพศรส
การทำร้าย การสำส่อน ความไม่ซื่อสัตย์
ความต่ำช้า ความโหดร้าย เจตนาร้าย
การอยากทำร้ายผู้อื่น
สัญชาตญาณเชิงลบ ไร้ความเมตตา
ความคิดและคำพูดที่หยาบคาย
ความไม่อดทน ความอยากได้
ความเห็นแก่ตัว ความก้าวร้าว ความหยิ่งยโส
การถือชั้นวรรณะและการแบ่งชั้นทางสังคม
ความภูมิใจในชาติพันธุ์ของตน
การพิถีพิถันอย่างผิดทิศผิดทาง
ใช้อำนาจบาตรใหญ่ อารมณ์ฉุนเฉียว
ความทะลึงอวดดี
ความรู้สึกแย่ๆชอบชวนทะเลาะ
ขาดความกลมกลืน อาฆาตแค้น
อารมณ์อ่อนไหวเกินไป เกียจคร้าน
ขาดความคิดริเริ่ม ขี้ขลาด
จิตใจเลื่อนลอยและเฉื่อยชา
ไม่แยแสด้านจิตวิญญาณ ไม่เต็มใจทำสมาธิ
ผัดวันประกันพรุ่งในเรื่องของจิตวิญญาณ
กาย ใจ และวิญญาณไม่บริสุทธิ์
ไม่ภักดีต่อพระเจ้า
ไม่สำนึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระเจ้า
ความโง่เขลา จิตอ่อนแอ
จิตติดโรค ขาดวิสัยทัศน์
จิตใจคับแคบ ไม่เห็นการณ์ไกล
โง่หลงทั้งทางกาย จิต และวิญญาณ
ความหุนหันพลันแล่น
จิตใจโลเล ติดรสผัสสะ
ชอบที่จะเห็นสิ่งเลว ๆ ฟังสิ่งเลว ๆ
กินสิ่งเลว ๆ ดมสิ่งเลว ๆ สัมผัสสิ่งเลว ๆ
คิด หวัง รู้สึก พูด จำ และกระทำสิ่งเลว ๆ
กลัวความเจ็บป่วยและความตาย วิตกกังวล
เชื่อไสยศาสตร์มนต์ดำ ชอบสบถสาบาน
ไม่รู้จักประมาณ นอนมากเกินไป
กินมากเกินไป ปิดบังอำพราง
แสร้งทำความดี มีอคติ ชอบสงสัย
อารมณ์บูดบึ้ง มองโลกแง่ร้าย
ขมขื่น ขาดความพอใจ หนีจากพระเจ้า
และเลื่อนการทำสมาธิไปเรื่อย ๆ
โดนแบบนับไม่ทัน 😅 – แอดมิน
1
ทายาทแห่งจิตที่มืดบอด ซึ่งเป็นทาสของอารมณ์ฝ่ายลบนี้ มีแต่จะนำมาซึ่งความป่วยไข้ ความวิตกกังวล การระบาดของความโง่หลง และความยากไร้ทางจิตวิญญาณ ทั้งนี้เพราะความยากไร้ปัญญาในอาณาจักรกายของเขา
1
ส่วนพลังแห่งวิญญาณรู้ตื่น ที่วิวัฒน์ไปกับการทำสมาธิภาวนาและการควบคุมตน จะยึดอาณาจักรกายได้และปักธงชัยแห่งจิตวิญญาณไว้ที่นั่น สถาปนาอาณาจักรที่อุดมด้วยสันติภาพ ปัญญาญาณ ความมั่งคั่ง และความมีอนามัย
#แต่ละคนต้องต่อสู้ในสมรภูมิแห่งกุรุเกษตรของตนเอง นี่เป็นสงครามที่ไม่แค่คุ้มที่จะเอาชนะ แต่ในระเบียบสวรรค์แห่งจักรวาลและสัมพันธภาพนิรันดร์ระหว่างอาตมันกับปรมาตมัน #สงครามนี้เป็นสงครามที่ต้องเอาชัยชนะให้ได้ไม่ช้าก็เร็ว
ภควัทคีตาอันศักดิ์สิทธิ์ได้ให้ความมั่นใจแก่ศิษย์ผู้ภักดีว่า “การบรรลุสู่ชัยชนะโดยเร็วที่สุด” #เป็นไปได้ด้วยการปฏิบัติศาสตร์โยคะสมาธิอันศักดิ์สิทธิ์นี้อย่างไม่ย่อท้อ #จงศึกษาอย่างที่อรชุนฟังบทเพลงปัญญาญาณแห่งวิญญาณภายในตน
°°°°°°°°°
ข้าแต่ กฤษณะ องค์โยคเทพ! เป็นไปได้แน่แท้ ที่พร ชัยชนะ และอำนาจจักบังเกิด ด้วยพระองค์ผู้ทรงฤทธิ์ ณ ที่ซึ่งเพลงทิพย์นี้มาสู่อรชุน ยามเมื่อเขาได้สนทนากับพระเจ้า
°°°°°°°°°
—บทที่ 18 : 76-78
(บทกวีประพันธ์โดย เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนลด์)
(จบ)(คำนำ)
1 บันทึก
2
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ภควัทคีตา เล่ม 1 บทนำ
1
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย