27 ม.ค. 2021 เวลา 02:01 • หนังสือ
📖 รีวิวหนังสือ Principles โคตรหนังสือที่ว่ากันว่าทุกคนควรจะต้องอ่านครั้งนึงในชีวิต!!! 📖 (Part I)
1
Principles 📕
เขียนโดย Ray Dalio
สำหรับหนังสือ “Principles” นี่ต้องบอกว่าเป็นหนังสือที่ไม่น่าอ่านเลยถ้าดูจากภายนอกเนื่องด้วยความหนาของมันครับ แบบว่าหนามาก ๆๆๆๆ ครับ (เหยียบ 600 หน้า) แถมดูไปดูมาเหมือน text book ซะมากกว่า 😅 แต่เนื่องจากได้ยินคำร่ำลือมาว่าหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มนึงเลยที่ดีที่สุดในศตวรรษเลยก็ว่าได้ เราเลยต้องจัดซะหน่อย ผมคิดว่ามีหลายคนเลยใช่มั้ยที่ซื้อหนังสือเล่มนี้มาแต่ยังไม่ได้อ่านหรืออ่านยังไม่จบด้วยความหนาของมัน งั้นลองมาอ่านรีวิวกันก่อนก็ได้ครับ 😊
1
โดยส่วนตัวไม่ได้รู้จัก “Ray Dalio” ซึ่งเป็นผู้เขียนมาก่อนเลย ซึ่งก็มาได้รู้จักจากคำรำ่ลือของหนังสือที่ลุงแกเขียนนี่แหละครับ
1
Ray Dalio เป็นใคร ทำไมคนถึงสนใจอย่างมากกับหนังสือที่เค้าเขียนบอกเล่าถึง “Principles” หรือ “หลักการ” ในการใช้ชีวิตแล้วก็การทำงานของเค้า....
Ray Dalio นั้นเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท Bridgewater Associates ซึ่งปัจจุบันเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยเค้าตั้งบริษัทขึ้นมาจากอพาร์ตเมนท์สองห้องนอนที่ New York City ประเทศสหรัฐอเมริกา 🇺🇸 ซึ่งตัว Ray ได้รับการยกย่องอย่างมากว่าเป็น “Steve Jobs แห่งวงการการลงทุน” เลยทีเดียว
ซึ่งจากการที่เค้าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามเป็นถึง 1 ใน 100 ของบุคคลที่รวยที่สุดในโลก 💸 ก็เลยมีนักข่าวหรือใครหลายคนมาสนใจในตัวเค้าอย่างมาก ตัวเค้าได้รับคำถามบ่อย ๆ ว่าทำยังไงถึงประสบความสำเร็จ และมีการไปเล่าขาน บอกต่อกันจนบางทีผิดเพี้ยน Ray เองเลยตัดสินใจเขียนเรื่องราวเหล่านี้ลงบนเว็บไซต์ ซึ่งเค้าบอกว่าไม่น่าเชื่อที่มีคนดาวน์โหลดไปอ่านกันมากกว่า 3 ล้านครั้ง!!!
1
ด้วยเหตุนี้แหละครับเค้าเลยตัดสินใจเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อที่จะแชร์ประสบการณ์ที่เค้าเจอมาซึ่งเค้าเน้นด้วยว่าความล้มเหลวนะครับ รวมทั้งหลักการและสิ่งต่าง ๆ ที่เค้าได้เรียนรู้ในการใช้ชีวิต การตัดสินใจและการทำงานที่ Bridgewater ซึ่งตัวเค้าเชื่ออย่างมากว่า การมีหลักการ หรือ “Principles” ที่ดีนั้นจะช่วยทำให้แต่ละคนมีการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ได้ดี มีชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงสามารถไปถึงเป้าหมายของตัวเองได้ 🎯
3
ซึ่งหนังสือจะแบ่งออกเป็น Life Principles กับ Work Principles (อีกส่วนที่เป็น Part แรกเลยจะเป็นประวัติของ Ray ที่จะสอดแทรกหลักการทั้ง Life และ Work Principles ไว้ด้วยกันครับ โดยในตอนแรกผมจะเล่าถึง Life Principles ก่อนนะครับ)
……………..
Part I : Life Principles 📝
หลักการแรกเลยที่ Ray บอกว่าสำคัญที่สุดในการใช้ชีวิตคือ เราต้องตอบตัวเราเองให้ได้ก่อนว่า “เราต้องการอะไร” “ความเป็นจริงคืออะไร” แล้วตัวเราจะทำอะไรหรือทำอย่างไรถึงจะสำเร็จได้สิ่งที่เราต้องการ
1
“Embrace Reality and Deal with it”
สิ่งแรกเลยเราต้องยอมรับความเป็นจริงก่อนนะครับ ไม่ว่ามันจะเลวร้ายหรือยังไงก็ตาม เพื่อให้เรารู้ว่าเราอยู่ในสถานการณ์ไหน ควรตั้งเป้าหมายอะไรที่เป็นไปได้ หลายคนอาจตั้งข้อสงสัยว่า เฮ้ย แล้วอย่างนี้เราฝันให้ไกลไว้ไม่ดีกว่าเหรอ เค้าบอกว่าจริง ๆ มันก็ดีหละครับ แต่เราต้องมองด้วยว่าในความเป็นจริงจะทำให้มันสำเร็จได้ยังไง ไม่ใช่เอาแต่ฝัน แต่สุดท้ายเราไม่ทำมันก็ไม่เกิดขึ้นจริงใช่มั้ยครับ โดยเค้าให้สมการแห่งความสำเร็จดังนี้ครับ
“Dream + Reality + Determine = Successful Life”
1
มีความฝันบวกกับดูความเป็นจริง แล้วก็ใส่ความมุ่งมั่นพยายามเข้าไปครับ แล้วเค้าเชื่อว่าคนเราจะประสบความสำเร็จได้
“Be Radically Open-Minded and Radically Transparent”
1
อีกทั้งต้องเป็นคนเปิดใจ รับฟังจากคนอื่นหรือจากแหล่งอื่น ๆ ซึ่งการที่เราเป็นคน open-minded เนี่ยจะเป็นตัวช่วยให้เราเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วรวมถึงทำให้เรากล้าที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยครับ ซึ่งเรื่องนี้ Ray ให้ความสำคัญสุด ๆ โดยจะมีการพูดถึงหัวข้อนี้เฉพาะเลย
4
นอกจากนี้มันยังรวมไปถึงการเปิดใจรับ feedback ในกรณีที่เราตัดสินใจทำอะไรลงไปด้วยครับ โดยเค้าบอกว่าให้เราอย่าไปกลัวอะไรที่มาขวางทางที่เราจะไปสู่เป้าหมายที่เราตั้งใจไว้ ให้เราลุยเลย จะผิดพลาด หรืออะไรก็ให้ยอมรับ เปิดใจรับสิ่งที่จะเกิดขึ้น เพราะเค้าเชื่อหลักการนี้ครับ
3
"Pain + Reflection = Progress" 📈
4
คือมันต้องยอมรับความผิดพลาด ความเจ็บปวดครับ ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม มันแน่นอนอยู่แล้วที่จะต้องมีการทำผิดพลาด เกิดมาคงไม่มีใครที่ไม่เคยทำอะไรผิดพลาดเลย ถูกมั้ยครับ? สิ่งสำคัญคือเราต้องเปิดใจรับฟัง เรียนรู้ข้อผิดพลาด แล้วชีวิตเราจะเกิดความก้าวหน้าครับ คล้าย ๆ ประโยคที่เราเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า “No pain no gain”
2
นอกจากนี้ให้เรา “own you outcomes” คือให้ยอมรับผลที่จะเกิดจากการกระทำของเราครับ ถ้ามันผิดพลาดก็ให้เรียนรู้ว่าเกิดจากอะไร เราจะปรับปรุงยังไงแทนที่จะไปโทษฟ้าโทษฝน
อีกอันนึงที่ Ray เค้าให้ความสำคัญคือเค้าบอกว่า ให้คิดว่าชีวิตเราเป็น “Machines” ที่เราสามารถออกแบบมันได้นะครับ เช่น ถ้าเราทำอะไรไปอย่างนึงให้ลองเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับเป้าหมายที่เราตั้งใจตอนแรกดู สมมติมันยังไม่ดี ให้เราคิดประมาณว่า เอ...แล้วเราจะปรับปรุงเครื่องจักรตัวนี้ตรงไหนให้มันทำงานได้ตามผลลัพธ์ที่เราต้องการ อันนี้เป็นมุมมองที่ค่อนข้างแปลกทีเดียวจากคนอื่น ๆ ผมมองว่าด้วยความที่ Ray เป็นนักการเงินจ๋า เค้าจะค่อนข้างมองอะไรเป็น logic จัด ๆ เค้าจะมีการเปรียบเทียบหลักการกับการทำงานของเครื่องจักรหรือพวกคอมพิวเตอร์บ่อย ๆ ครับ
3
……………..
“Use the 5-Step Process to Get What You Want”
Ray ได้ให้กระบวนการคิดในการจะทำอะไรก็ตามที่เราต้องการ เช่น ถ้าเราต้องการจะทำอะไรให้สำเร็จให้คิดเป็นขั้นตอนดังนี้ครับ
1
1. Have clear goals
2. Identify and don’t tolerate the problems
3. Diagnose problems
4. Design a plan
5. Push through completion
2
อันนี้ค่อนข้างตรงไปตรงมานะครับและผมว่าหลาย ๆ คนก็คงมีหลักการคล้าย ๆ แบบนี้ครับ แต่ Ray เองก็มีเทคนิคแนะนำครับ เค้าบอกว่า 5 ข้อข้างบนเนี่ยเราต้องทำให้เร็ว แล้วก็ทำต่อเนื่องวนไปเรื่อย ๆ แล้วเราก็จะเกิดการเรียนรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด (evolve) มีการพัฒนาและสามารถมีเป้าหมายที่สูงขึ้นได้เรื่อย ๆ
1
ข้อแรกคือ การตั้งเป้าหมายที่ชัดเจน (having clear goals) โดยให้เราจัดลำดับความสำคัญให้ดี เพราะเราไม่สามารถทำทุกอย่างที่เราอยากจะทำได้ ถูกมั้ยครับ?
แล้วจุดที่คนพลาดบ่อย ๆ คือ คำว่า Goals (เป้าหมาย) กับ Desires (ความปรารถนา) ให้เราแยกให้ออกครับ เช่น Goal ของเราคือ การมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่ Desire ของเราคือการกินอาหารที่อร่อย (แต่ไม่ดีต่อสุขภาพ) ซึ่ง Desire นี่แหละส่วนใหญ่มักจะเป็นตัวขัดขวางเป้าหมายของเรา ซึ่งมันมักจะเป็นสิ่งที่เราอยากจะทำเพราะมันง่าย ให้ความสุขกับเรา (สำหรับเรื่องนี้สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ใน Atomic Habits นะครับที่ผมเคยรีวิวไปแล้วนะครับ)
1
ขั้นต่อไปคือการระบุว่าปัญหาและ “สาเหตุที่แท้จริง” (root causes) ว่าคืออะไร เช่น เราทำงานได้ไม่ดีเลยช่วงนี้ เราอาจจะบอกว่าปัญหาของเราคือเรานอนน้อยนี่แหละ แต่ถามว่าจริง ๆ การนอนน้อยคือสาเหตุจริง ๆ รึเปล่า ให้เราลองถามคำถามต่อไปจนเจอสาเหตุจริง ๆ ว่าแล้วทำไมหละเราถึงนอนน้อย? 🤔
ลำดับต่อไปเมื่อเรารู้สาเหตุแล้ว เราก็ต้องวางแผนการปฏิบัติหรือจัดการครับ ให้ลองมองย้อนกลับไปว่ามันเกิดมาจากอะไร แล้วคิดหาวิธีการแก้มัน โดย Ray แนะนำให้เราลอง “visualize” หรือคิดเป็นภาพในสมองดูครับว่าเราจะทำอย่างงี้ ๆ ๆ ให้เห็นภาพแบบ “movie script” แล้วให้เขียนแผนนั้นออกมา แต่อย่าลืมหาวิธีการติดตามและวัดผลด้วย
ขั้นสุดท้ายพอได้แผนแล้วก็คือทำมันครับ สิ่งที่ Ray เน้นคือ ต้องทำอย่างมีวินัย! วินัยอีกแล้ว ถ้าอ่านเรื่องของคนที่ประสบความสำเร็จจะต้องเจอคำนี้เสมอครับ (เทคนิคการสร้างวินัยอ่านได้ใน Atomic Habits เลยครับ)
……………..
“Be Radically Open-Minded”
อย่างที่เกริ่นไว้ข้างต้นนะครับว่า Ray ให้ความสำคัญกับข้อนี้มาก ๆ Ray บอกว่าคนเรามี “barriers” หรือสิ่งที่มาปิดกั้นความคิดเราในตัวอยู่สองอย่างครับ คือ “ego” กับ “blind spot”
วิธีการคิดเพื่อจัดการกับสองสิ่งนี้มีดังนี้ครับ คือ ให้คิดว่าเราไม่มีทางรู้อะไรทั้งหมด เราไม่ใช่คนที่รู้ดีที่สุด ซึ่งมีหลายต่อหลายคนที่มีความมั่นใจในตัวเองสูงมากคิดว่าบางเรื่องเนี่ยเรารู้ดีที่สุดหละ เราเคยทำมา เคยผ่านมา โดยไม่คิดที่จะมองทางเลือกอื่น ๆ เลย อันนี้เป็นสิ่งที่อันตรายมาก ๆ นะครับ
ซึ่งในเรื่องนี้ Ray ได้ยกตัวอย่างเรื่องที่เค้าทำผิดพลาดครั้งยิ่งใหญ่ในปี 1982 ที่เค้าได้ทำนายสภาวะของตลาดหุ้นของอเมริกาว่าจะจมดิ่งด้วยความมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมกระทั่งประกาศออกสาธารณะ ซึ่งผลลัพธ์ออกมาตรงกันข้ามเลยที่เค้าคิดผิดสุด ๆ ตลาดกลับพุ่งทะยานต่อเนื่องไปอีกถึง 18 ปี!
ความผิดพลาดครั้งนั้นทำให้เค้าสูญเสียหลาย ๆ อย่าง ทั้ง เงิน และตัวบริษัท Bridgewater ที่เค้าไม่มีปัญญาจะจ่ายค่าจ้างใครจนไม่เหลือพนักงานคนไหนเลย เหลือเพียงเค้าคนเดียว...ซึ่งบทเรียนสำคัญนี้ทำให้เค้าเรียนรู้อะไรหลาย ๆ อย่าง
2
Ray แนะนำว่าให้เรารับฟังทางเลือกในเรื่องนั้น ๆ จากผู้อื่นก่อน โดยเฉพาะกับผู้ที่เคยทำมาแล้วและสำเร็จมาแล้ว หรือที่ในหนังสือเค้าเรียกว่า “believable people”
ถ้าเป็นไปได้ให้ไปลองหาคนที่มีความเห็นต่างจากเราแล้วรับฟังการโต้แย้งจากเค้าครับว่าเค้ามีเหตุผลอะไร โดยเฉพาะจาก believable people หรือคนที่เคยผ่านมาก่อนแล้ว หรือถ้าให้พูดอีกแบบก็คือลองหา “2nd opinion”
Ray ได้ยกตัวอย่างอีกเรื่องนึงในชีวิตเค้าให้ฟังตอนที่เค้าไปหาหมอแล้วตรวจพบเซลล์ที่มีอาการผิดปกติคล้ายกับมะเร็งที่หลอดอาหาร ซึ่งต้องมีการผ่าตัดออก แต่ในกรณีของเค้านั้นไม่สามารถจะทำได้เนื่องด้วยสภาพร่างกายของเค้าที่ไม่พร้อม ซึ่งตอนนั้นเค้าบอกว่าเค้าทำใจและคิดแม้กระทั่งเตรียมตัวตายแล้ว แต่ในขณะเดียวกันเค้าก็ลองพยายามไปปรึกษาคุณหมอที่อื่นอีก 3-4 ที่ โดยปรากฏว่าอีก 4 ที่มองตรงกันว่าไม่น่าจะเป็นเนื้อร้าย สุดท้ายเค้าได้ตรวจชิ้นเนื้อซึ่งผลปรากฏออกมาว่าไม่มีเซลล์ผิดปกติแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้เป็นจุดเปลี่ยนและบทเรียนสำคัญในชีวิตของ Ray เลยทีเดียว
ในเมื่อเรื่องของการเปิดใจรับฟังเป็นเรื่องสำคัญแล้วเราจะทำอย่างไรถึงจะเป็นคนที่เปิดใจได้?
ข้อแรกคือให้ฝึกทำให้เป็นนิสัยครับ หลักการง่าย ๆ แต่ทำยาก! 😅
ข้อถัดไปคือให้ลองมองย้อนกลับไปในอดีตในเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตว่าเรามี “blind spot” หรือจุดบอดตรงไหนบ้าง หรือถ้านึกไม่ออกให้ลองถามคนอื่นที่อยู่รอบ ๆ ตัวคุณดูครับ แล้วลองเขียนออกมานั่งดู เช่น เหตุการณ์ที่ผ่านมา มีหลาย ๆ คนที่บอกว่าคุณคิดผิด แต่คุณก็ยังยืนยันทำตามที่คุณคิด ให้ลองคิดดูว่าเพราะอะไร ผลลัพธ์ออกมาเป็นยังไง
1
นอกจากนี้เค้าบอกว่าให้ใจเย็น ๆ อย่าใช้อารมณ์ตัดสินใจอะไร (พูดง่ายแต่ทำยากอีกแล้วครับ) หรือให้ฝึกสมาธิเค้าบอกก็จะช่วยได้นะครับ
1
สุดท้ายคือให้มองหลักฐาน (evidences) เป็นหลักในการตัดสินใจ ซึ่งมันจะช่วยกำจัดการใช้อารมณ์หรือจิตใต้สำนึกในการตัดสินใจ
1
……………..
“Understand that People Are Wired Very Differently”
Ray เชื่อว่าคนเราทุกคนแตกต่างกัน การที่เราจะไปคาดหวังอะไรจากตัวคน ๆ นั้นโดยที่เราไม่รู้ว่าเค้าเป็นยังไงมันจะทำให้เกิดปัญหาแน่ ๆ ฉะนั้นเราต้องรู้ก่อนว่าเค้าเป็นคนยังไง เก่งอะไร ไม่เก่งอะไร
ซึ่งจากหลักการข้างต้นทำให้เค้าคิดค้นเครื่องมือตัวนึงมาใช้งานที่ Bridgewater ที่เค้าเรียกว่า “Baseball Card” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลของคนแต่ละคนในบริษัทแล้วให้แต่ละคนมาประเมินและให้คะแนนกันในแต่ละเรื่องแต่ละมุมว่า เรื่องนี้เรื่องนั้นเรามีความสามารถขนาดไหน
สมมติว่าเราเก่งเรื่องในเรื่องของการตลาด คนที่เห็นว่าเราเก่งเรื่องนี้ก็จะให้คะแนนเราในเรื่องของการตลาดสูง ซึ่งพอรวม ๆ ทุกเรื่องจากคะแนนของคนทั้งหมด มันก็จะกลายเป็นฐานข้อมูลของ “believability factor” ที่จะเอาไปใช้ในการตัดสินใจในแต่ะเรื่อง เช่น เมื่อมีการตัดสินใจในเรื่องของการตลาดและคุณมีส่วนในการตัดสินใจนั้น ค่าน้ำหนักที่คุณตัดสินใจก็จะมีค่าสูงเทียบกับคนอื่นที่มีค่าความเก่งในการตลาดน้อยกว่าคุณ มันทำให้การตัดสินใจในเรื่องนั้น ๆ มีคุณภาพมากขึ้น ฟังแล้วทึ่งเลยครับ! ซึ่งรายละเอียดของเครื่องมือพวกนี้ Ray จะเล่าไว้เยอะมากในส่วนของ Work Principles
1
แนวคิดข้างต้นก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ค่อนข้างเยอะ เช่น การ “put the right man on the right job” ที่เราเคยได้ยินกันบ่อย ๆ
หรือแม้กระทั่งการทำงานบริหารทีมที่ต้องประกอบไปด้วยคนในทีมที่หลากหลาย เค้าบอกให้เราใช้วิธี “orchestrate” คน คือคล้ายกับเราเป็นคอนดักเตอร์ของวงออเคสตร้าครับ ก็คือให้เราแน่ใจว่าให้แต่ละคนรับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง ซึ่งแตกต่างกันออกไปเลย แต่สุดท้ายพอมาประกอบรวมกันเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ
เค้าได้พูดต่อไปถึงเรื่องของความแตกต่างที่เรามีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน ซึ่งสิ่งที่เรานำไปปรับใช้กับตัวเราเองได้ก็คือ เมื่อเราเห็นจุดอ่อนของเรา เราก็ต้องยอมรับมัน แล้วต้องหาทางรับมือกับมัน เช่น คนที่รู้ว่าตัวเองไม่ค่อยมีวินัย ไม่ตรงต่อเวลา ก็ต้องมีการใช้การตั้งปลุก (alarm) มาช่วยตรงนั้น เป็นต้น
……………..
“Learn How to Make Decisions Effectively”
เรื่องการตัดสินใจเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ นะ ครับ โดย Ray บอกไว้เลยว่าคุณภาพของการตัดสินใจในแต่ละเรื่องในชีวิตจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพชีวิตเลยนะครับ ซึ่ง Ray เค้าใช้เวลาเยอะมากในการศึกษาเรื่องการตัดสินใจ รวมถึงการหาหลักการและระบบที่จะมาใช้ในการตัดสินใจโดยเค้าคิดว่าให้ทำยังไงถึงการตัดสินใจจะเป็นระบบ มีการใช้หลักการเดียวกันไม่ว่าจะให้ใครมาตัดสินใจก็ตาม ก็จะต้องได้คุณภาพในการตัดสินใจในระดับเดียวกัน
โดยเค้าบอกว่าการตัดสินใจนี่ประกอบไปด้วยสองกระบวนการนะครับ อย่างแรกคือ “การเรียนรู้” คือก่อนเราจะตัดสินใจอะไรเราต้องเก็บข้อมูล ดูข้อมูลก่อน ซึ่งข้อมูลต่าง ๆ เนี่ยมันถูกเก็บอยู่ในสมองเรา อย่างที่สองก็คือ “การตัดสินใจ” ซึ่งมันเหมือนกับการเลือกชุดข้อมูลในสมองเอามาใช้
2
ซึ่งกระบวนการที่สำคัญต่อการตัดสินใจ คือ กระบวนการเรียนรู้ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพมาก หากเรารู้จักการ “Synthesis” หรือการสังเคราะห์ข้อมูล ซึ่งหมายถึงการแปลงข้อมูลต่าง ๆ มากมายที่เราได้รับมาให้เป็นภาพที่มันชัดเจน
ถามว่าทำอย่างไร Ray บอกว่าเราต้องรู้ว่าข้อมูลอันไหนสำคัญ อันไหนไม่สำคัญก่อน อีกอย่างคือเราต้องพิจารณาข้อมูลนั้น ๆ เนี่ยที่ระยะเวลานานพอระดับนึงนะครับเพื่อที่จะดู “trend” ของมันจริง ๆ ไม่ใช่ว่าแค่ 2-3 วัน หรือ 2-3 ครั้งเราก็ด่วนสรุปจะตัดสินใจแล้ว
อีกทั้งเราต้องรู้จักการกะหรือการประมาณให้เป็นนะครับ (by-and-large) เค้าใช้คำว่าไม่ต้องเป๊ะเว่อร์ “imprecise” คือต้องมองภาพใหญ่ให้ออก เค้ายกตัวอย่างเช่น การคูณเลขถ้ามีใครมาถามว่า 38 คูณ 12 ได้เท่าไหร่ ให้เราใช้วิธีการประมาณแบบ ว่า 38 มันใกล้กับ 40 ใช่มั้ยครับ แล้ว 12 ก็ใกล้กับ 10 เราก็ประมาณว่าได้ประมาณ 40 คูณกับ 10 (ซึ่งเป็นการคูณที่ง่าย) เท่ากับ 400 อย่าไปใช้เวลากับมันเยอะเกินไป
1
นอกจากนี้การใช้กฎ 80/20 ที่ทุกคนเคยได้ยินกันมาบ้างว่า 20% ของข้อมูลทั้งหมดหรือแรงที่เราลงไปนั้นจะมีผลกระทบไปถึง 80% ของผลลัพธ์เลย ดังนั้นให้เราหา 20% นั้นให้เจอแล้วมันจะช่วยให้เราไม่ต้องใช้เวลาหรือลงแรงไปโดยไม่คุ้มค่า
อีกทั้งเราต้องรู้นะครับว่าระดับของการตัดสินใจในเรื่องนั้น ๆ ของเรามันคือระดับไหน เช่น มันคือ high level big picture เลยมั้ย หรือมันคือภาพเล็ก ๆ ภาพนึงเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราตัดสินใจในระดับเล็ก ๆ มันต้องล้อไปกับภาพใหญ่นะครับ ตัวอย่างเช่น ภาพใหญ่คือเราต้องการมีสุขภาพแข็งแรง ดังนั้นภาพเล็กคือเราก็ไม่ควรจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันอะไรทำนองนี้ครับ
Ray นั้นเชื่อมากว่าการตัดสินใจที่ดีนั้นแน่นอนครับต้องยึดเอาเหตุผล ตรรกะเป็นหลัก รวมถึงสิ่งที่เรียกว่า “common sense” ด้วย ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีหลักฐานหรือข้อมูลอะไรมายืนยันในการตัดสินใจ และด้วยความที่เค้าเป็นนักการเงินที่มีหลักการคิดแบบตรรกะจ๋าสุด ๆ เค้าบอกว่าบางเรื่องเราก็ต้องใช้การคำนวณ “expected value” เอามาใช้ในการตัดสินใจเลย! (สำหรับคนที่เคยเรียนพวกเศรษฐศาสตร์มาบ้าง ถ้ายังไม่ลืมคงพอเข้าใจนะครับ ส่วนใครไม่เข้าใจก็ช่างมันเหอะ ผมมองว่าในเรื่องของการเงินและธุรกิจนี่แน่นอนครับ แต่ในเรื่องของชีวิต มันอาจจะดูยากไปหน่อยกับคนส่วนใหญ่) หรือหากเรายังไม่อยากตัดสินใจในตอนนี้ ให้ลองชั่งน้ำหนักดูว่าการรอข้อมูลแล้วค่อยตัดสินใจเนี่ยมันมีต้นทุนขนาดไหน (cost of not deciding) เรารับได้หรือไม่
🗝สุดท้ายในเรื่องการตัดสินใจให้มีคุณภาพ Ray ได้ให้ shortcuts ไว้ดังนี้ครับ
💡 ทำให้มันง่ายเข้าไว้
💡 ใช้หลักการ เช่น มี criteria อะไรในการตัดสินใจ เอาตัวนั้นมายึดเป็นหลัก
💡 ใช้ “believability weight” คือให้คุยกับคนที่เค้ารู้เยอะรู้จริงในเรื่องนั้น ๆ หรือเคยทำมาแล้ว อย่าให้น้ำหนักกับความคิดตัวเองมากเกินไป แล้วลองมองหาคนที่เห็นไม่ตรงกับเราดูแล้วกลับมาคิดว่าเพราะอะไร แล้วมองย้อนไปในสิ่งที่เราคิดอีกทีว่ามันถูกจริงมั้ย
💡 ข้อสุดท้าย เค้าบอกให้ลองใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการตัดสินใจ คือให้ลองแปลงหลักการที่เรามีเป็น Algorithm แล้วใส่ไปในคอมพิวเตอร์ให้มันช่วยคำนวณหรือวิเคราะห์ดู เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีข้อดีคือมันไม่ลำเอียงครับ ไม่ใช้อารมณ์ ตัดสินใจตามข้อมูลเท่านั้น แต่ต้องระวังนิดนึงเพราะว่าคอมพิวเตอร์นั้นไม่มี “common sense” นะครับ
📌 ผมเล่าในเรื่องของ Life Principles มาหมดแล้ว (คนอ่านก็คงหมดพลังกันหมดแล้ว 🤣) ไว้ตอนต่อไปผมจะมาเล่าต่อในส่วนที่เป็น Work Principles บ้างว่าหลักการต่าง ๆ ที่เล่ามาเค้าเอาไปสร้างองค์กรอย่างไร เอาไปประยุกต์ใช้ในการทำงานที่ Bridgewater อย่างไรบ้าง ...To Be Continued...
#Principles #BookReview #สิงห์นักอ่าน
ป.ล. ถ้าไม่อยากพลาดการติดตามการรีวิวหนังสือดี ๆ แบบละเอียดยิบ ฝากกด Like กดติดตามเพจ รวมถึงยังติดตามได้อีกหนึ่งช่องทางใน facebook - facebook.com/TheCrazyBookReader
โฆษณา