27 ม.ค. 2021 เวลา 05:56 • นิยาย เรื่องสั้น
นิทานชาดก เรื่อง นันทิวิศาลชาดก
สมัยหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับ ณ วัดพระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ทรงยกเรื่องพระฉัพพัคคีย์ กลุ่มภิกษุ 6 รูป ชอบพูดถ้อยคำเสีนดแทงจิตใจคนอื่น ทรงเล่านิทานว่า
นานมาแล้วที่เมืองตักศิลา แคว้นคันธาระ พราหมณ์คนหนึ่งเลี้ยงโคไว้ตัวหนึ่ง รูปร่างสวยงาม มีพละกำลังมาก พราหมณ์รักโคตัวนี้ดุจลูกชายโคสำนึกในบุญคุณของเจ้าของที่เลี้ยงดูตนมาอย่างดี อยากจะตอบแทนบุญคุณบ้าง
วันหนึ่งจุงกล่าวกับพราหมณ์ว่า
"พ่อจงไปท้าพนันกับเศรษฐีโควินทะว่า โคของเราสามารถลากเกวียนที่ผูกติดกันถึงหนึ่งร้อยเล่มได้ ให้พนันด้วยเงินหนึ่งพันกหาปณะ พ่อจะได้เงินด้วยวิธีนี้ "
พราหมณ์ทำตามที่โคบอก และได้นัดพนันลากเกวียนในวันรุ่งขึ้น ถึงเวลาพราหมณ์ก็นั่งบนเกวียน เงื้อปะฎักขึ้น และร้องเสียงดังว่า " เฮ้ยไอ้โคขี้โกง ไอ้โคหน้าโง่ เอ็งลากเกวียนไปซีวะ"
โคนันทิวิสาลได้ยินนายพูดคำหยาบ ก็นึกน้อยใจว่าทำไมพ่อเรียกเราผู้ไม่โกง ไม่โง่ ว่าโคหน้าโง่ จึงยืนนิ่ง ไม่เคลื่อนไหว ไม่ลากเกวียน ทำให้พราหมณ์แพ้พนันเงินถึง หนึ่งพันกหาปณะ พราหมณ์รู้สึกเศร้าเสียใจ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ
โคนันทิวิศาลเห็นนายมีความทุกข์ ก็สงสาร จึงเข้าไปปลอบและกล่าวว่า " พ่อ ข้าอยู่ที่บ้านท่านมานาน เคยทำภาชนะอะไรแตกเสียหายใหม่ เคยเหยียบใครๆไหม เคยถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะในที่ที่ไม่สมควรไหม ทำไมพ่อเรียกข้าว่าไอ้ขี้โกง ไอ้หน้าโง่ เพราะเหตุนี้แหละข้าถึงไม่ลากเกวียน ถ้าพ่ออยากได้กหาปณะ ให้พ่อไปพนันกับเศรษฐีใหม่ ด้วยเงินสองเท่า ขออย่างเดียวอย่าพูดคำหยาบกับข้า แล้วข้าจะช่วยพ่อ "
พราหมณ์ได้ทำตามที่โคนันทิวิสาลแนะนำ โดยไปพนันกับเศรษฐีใหม่ คราวนี้พราหมณ์นั่งบนเกวียนแล้วพูดอย่างไพเราะว่า " นันทิวิสาลลูกรักพ่อ เจ้าจงลากเกวียนเล่มแรกที่ตั้งอยู่ ช่วยให้พ่อชนะพนันด้วย"
โคนันทิวิสาลได้ยินคำไพเราะรื่นหู ก็เบิกบานใจ ออกแรงเต็มที่ลากเกวียนที่ผูกติดกันถึงร้อยเล่มเคลื่อนออกจากที่ นำเกวียนเล่มสุดท้ายมาตั้งอยู่ ณ จุดที่เกวียนเล่มแรกตั้งอยู่ ทำให้พราหมณ์ชนะพนัน ได้กหาปณะหนึ่งพันเหรียญสมปรารถนา
พระพุทธองค์ได้ตรัสคาถาใจความว่า
พึงพูดวาที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่ควรพูดคำหยาบ ไม่ว่ากาลไหน เมื่อพราหมณ์พูดวาจาไพเราะ โคนันทิวิสาลได้ลากสัมภาระอันหนักอึ้งไปได้ ทำให้พราหมณ์ได้ทรัพย์จำนวนมากและ โคนันทิวิสาลเองก็ปลาบปลื้มที่ได้มีโอกาสตอบแทนบุญคุณนาย
คติธรรมเรื่องนี้คือ ควรพุดแต่คำไพเราะรื่นหู เป็นที่พอใจของคนอื่น ไม่พึงวาจาแสลงหู
โฆษณา