Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Food for Thoughts : ขบคิดธุรกิจอาหาร
•
ติดตาม
27 ม.ค. 2021 เวลา 09:13 • ธุรกิจ
#รู้จักต้นทุนแฝง #อุดรอยเงินรั่วแบบไม่รู้ตัว
รู้จักต้นทุนตัวหลักๆ ที่เราใช้ดำเนินกิจการของเรากันแล้ว
มารู้จักเจ้าวายร้ายอย่างต้นทุนแฝงกัน
เจ้าต้นทุนแฝงเนี่ย
มันเกิดจากความไม่รู้
ไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ
ไม่ทันนึก หรือไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ
จนมันกลายเป็นสาเหตุให้ธุรกิจขาดทุน
หรือกำไรค่อยๆ ลดลง ทั้งที่...อ่าว ก็ขายได้นี่นา
#นึกภาพตามนะ
คล้ายหม้อต้มน้ำที่ก้นรั่ว...
ต้มก็ต้มไป ตักใส่ก็ตักไป รั่วก็รั่วไป ไม่อุดรูรั่วก่อนต้ม
ถ้าเห็นเพื่อนยืนต้มน้ำด้วยหม้อแบบนี้อยู่ จะทำยังไง?
พอควบคุมไม่ได้
ถ้ามูลค่าเล็กน้อยมากๆ ก็อาจจะไม่กระทบอะไร
แต่ถ้ารวมกันนานๆ เข้าล่ะ
มูลค่าที่สูญเสียระยะยาว
อาจจะทำให้เราพลาดโอกาสการทำกำไรไปอีกเยอะมากก็ได้
แม้จะขายดี รายได้สูง แต่กำไรที่เป็นเม็ดเงินจริงจังดันได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย
โชคดี อย่างไม่กระทบกับเงิน ก็กระทบกับเวลา
แทนที่จะเอาเวลาไปทำอย่างอื่น ไปนอน ไปพักผ่อน ไปสร้างคุณภาพหรือมูลค่าอื่นที่เพิ่มพูมมากกว่า
มีน้องเจ้าของร้านอาหาร SME คนหนึ่ง
ยอดขายช่วงก่อนหน้านี้
เดือนละแสนกว่าบาทติดต่อกันหลายเดือน
ทั้งที่ทำกันแค่ 2 คน สามี-ภรรยา
ถือว่า เล่นเกมเสี่ยงต่อสุขภาพมาก
แต่ในเมื่อน้องโอเคกับรายได้ที่เข้ามา #พี่ก็โอเค
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ เมื่อช่วงโควิดโจมตี
เงินไม่พอหมุนเวียนสภาพคล่องของร้าน
พอน้องเข้ามาปรึกษา
ยอดขายสูง ค่าใช้จ่ายน้อย
แต่ที่หนักเลยคือ ต้นทุนวัตถุดิบ และต้นทุนแฝง
คิดราคาขายต่อจาน 45 บาท
แต่พอคิดต้นทุนอาหารจานนั้น เท่ากับ 28-35 บาท
ส่วนต่าง 10-17 บาทที่ได้
พอเจียดให้แค่ค่าเช่าร้าน เท่านั้น
ไม่เผื่อค่าแรง ค่าแก๊ส ค่าน้ำไฟ ใดๆ เลย
และ ต้นุทนแฝงอีกอย่าง คือ....
น้องไม่เคยคิดค่าแรงให้ตัวเอง และภรรยาเลย 😠😠😠
และ สองคนทำงาน
...แต่มีรายการอาหารมากกว่า 50 รายการ 😱😱😱
ซึ่งในความเป็นจริง
ยอดขายเดือนละแสน ควรได้กำไรต่ำๆ หลังหักต้นทุน หักแรง หักค่าใช้จ่ายที่ร้าน ควรประมาณ 25,000-30,000 บาท ต่อเดือน โดยยังคงมีเงินทุนหมุนเวียนในการซื้อวัตถุดิบ และตัวเจ้าของร้านก็มีเงินจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน แบบสบายๆ
ตอนนี้ หนทางเดียว คือต้อง #สังคายนา
*** วิธีแก้ไขต้นทุนแฝง
(แต่ยากที่สุดสำหรับหลายคน)
คือ #ลงบัญชีอย่างละเอียด
คำว่าละเอียด...ถ้าละเอียดหนักๆ อาจจะไม่ใช่การเริ่มต้นที่ดี
เอาแค่ วันนี้ซื้อแม็คโครเท่าไหร่ หรือสั่งอะไรมาบ้าง...จด
ขายได้เท่าไหร่...จด (ถ้ารู้ว่าขายอะไรไปบ้าง จะดีมาก)
ให้รู้การหมุนเวียนเงินของตัวเองหน่อย
ซื้อของ 3,000 วันนี้ขายได้ 1,000
ก็ต้องรู้เลยว่ามีเงินซื้อของต่อในวันถัดไปแค่ 300-350 บาทเท่านั้น
แบบนี้ ก็ถือว่าเริ่มต้นแล้วล่ะ
ให้รู้ว่า #รั่วที่ไหน เราก็ตามไปอุดที่นั่นได้ถูก
#ตัวอย่างของต้นทุนแฝง เช่น
- กิจการขนาดเล็ก ใช้แรงงานเจ้าของร้าน พ่วงคนในบ้าน แต่ไม่เคยคิดค่าแรงเลย
- ใช้พื้นที่ที่มี บางทีก็หน้าบ้าน ใต้ถุน โรงรถ แต่ไม่เคยคิดค่าเช่า ค่าไฟก็รวมกับของบ้าน ค่าไวไฟอินเตอร์เน็ต ไม่เคยคิดค่าเสื่อมราคา
- ขายของที่ล้าสมัยเร็ว ไม่ได้คุณภาพ จนต้องขายต่ำกว่าราคาจริง
- สั่งวัตถุดิบมาเกิน เร่งขายไม่ได้ จนหมดอายุ ต้องทิ้ง
- สต็อคสินค้าเยอะ เหมือนจะไม่มีอะไร - แต่ เปลืองพื้นที่เก็บ ต้องดูแลรักษา ตรวจนับ เสี่ยงต่อการสูญหาย เสียหาย หมดอายุ เสื่อมตามกาลเวลา
- วัตถุดิบระดับ Premium แต่เอามาปรุงไม่ถูกวิธีจนลดมูลค่า (ผมเคยเจอคนเอาเนื้อวากิวมาสับต่อหน้าต่อตามาแล้ว)
- เปลี่ยนพนักงานบ่อย - แล้วยังไง? - ต้องมาเสียเวลาอบรมใหม่ ฝึกฝนใหม่ ดูแลใหม่ ค่ายูนิฟอร์มที่จ่ายไป
กลับไปเช็คธุรกิจของตัวเอง
รอยรั่วอยู่ตรงไหน
และรีบอุด
เสียดาย!! ลงทุนเท่าไหร่ ลงแรงมาแค่ไหน
อย่าให้ความขี้เกียจไม่เช็ค ขี้เกียจลงบัญชีแค่นี้มาทำให้สิ่งที่ผ่านมาทั้งหมดสูญเปล่า
อย่าเลย...ไม่เอา...ไม่ดี
ติดตามเรื่องเล่าเกี่ยวกับธุรกิจอาหารได้ทุกสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (วันพุธ และวันเสาร์)
ใครๆ ก็เริ่มทำธุรกิจอาหารได้
แต่ใครๆ ก็หายจากไปจากธุรกิจอาหาร
เรามาแชร์ข้อมูล และก้าวผ่านอุปสรรคในธุรกิจอาหารไปด้วยกัน
ติดตามผ่านเพจ
Facebook -
https://www.facebook.com/kobkidfoodbusiness
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย