28 ม.ค. 2021 เวลา 02:09 • การศึกษา
มือใหม่อยากเลี้ยงปลาน้ำจืด ต้องเริ่มยังไง ?
1
เหตุการณ์วิกฤติโควิด-19 นี้ทำให้เราต้องเจอความเปลี่ยนแปลงมากมาย งานที่เคยคิดว่ามั่นคงกลับกลับไม่ได้มั่นคงอย่างที่คิด เราได้เจอวิถีชีวิตใหม่ ๆ ทำให้เกิดชีวิตรูปแบบใหม่ ๆ
3
จากไม่เคยทำกับข้าวก็หันมาทำกับข้าว สินค้าบางชนิด เช่น เมล็ดพันธุ์พืชก็กลับขายดีขึ้น เพราะคนเริ่มมาสนใจสุขภาพมากขึ้น ลดภาระค่าใช้จ่ายลงและยังเป็นการใช้เวลาว่างอยู่กับบ้านอย่างคุ้มค่า
2
บางคนมองหางานรายได้เสริมหรือต้องตกงาน กลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด และหนึ่งในวิธีสร้างรายได้เสริม คือ การเลี้ยงปลาน้ำจืด
1
เพราะนอกจากจะได้ความเพลิดเพลินแล้ว ได้มีแหล่งอาหาร ถ้ากินไม่หมดก็ขายได้ เพราะวิกฤติครั้งนี้สอนให้เราเรียนรู้ที่จะพึ่งพาตัวเองให้มากที่สุด และใช้ชีวิตโดยไม่ประมาทเรื่องการเงิน
1
แต่คำถาม คือ จะเลี้ยงปลาอะไร ต้องมีบ่อแบบไหน ต้องเตรียมอะไรบ้าง คงเป็นเรื่องปวดหัวไม่น้อย เราเลยขอสรุปรายละเอียดพื้นฐานสำหรับมือใหม่ที่เริ่มเลี้ยงปลามาฝากกันค่ะ
2
1. สำรวจทรัพยากรที่เรามี 🌿
นั่นคือ บ่อปลา เพราะข้อจำกัดหลักของการเลี้ยงปลา คือ บ่อปลา ซึ่งต้องใช้พื้นที่และเงินลงทุน ถ้ามีการขุดบ่อไปแล้วที่ดินก็จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป การจะมาถมที่กลับต้องใช้ต้นทุนสูงกว่าตอนขุดเป็นหลายเท่า
3
การที่เราจะเริ่มต้นเลี้ยงปลาในระยะแรกจึงอาจเริ่มจากสิ่งที่เรามีก่อน ใช้เงินลงทุนไม่มาก เมื่อมีความชำนาญขึ้นจึงค่อยขยับขยายไป และสำรวจและใช้จุดแข็งของเราให้เป็นประโยชน์ เช่น ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีน้ำไหลผ่านหรือใกล้ลำคลองใหญ่ ก็ใช้ความได้เปรียบจากแหล่งน้ำที่มีมาเลี้ยงปลาที่ต้องใช้ออกซิเจนสูง เช่น ปลากดเหลือง, ปลานิล, ปลาทับทิม
โดยบ่อใช้เลี้ยงปลามีได้หลายแบบ หลายขนาด เช่น
🔸บ่อดิน
เป็นบ่อที่สามารถเลี้ยงปลาได้ทุกชนิด เริ่มต้นเลี้ยงปลาได้ตั้งแต่ 1 ตารางเมตร แต่อัตราการปล่อยปลาขึ้นอยู่กับชนิดของปลาและขนาดของบ่อ
1
ถ้าบ่อขนาดเล็กไม่กี่ตารางเมตรก็เลี้ยงได้เฉพาะปลาที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจนในน้ำหายใจ จะขึ้นมาฮุบอากาศเหนือน้ำ เช่น ปลาดุก ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาสลิด ฯลฯ
2
ถ้าบ่อมีขนาดใหญ่ปานกลาง เช่น 1 งานขึ้นไป ก็สามารถเลี้ยงปลาประเภทที่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ เช่น ปลานิล/ทับทิม ปลากดเหลือง ปลาไน ปลาชะโอน ปลาตะเพียน ฯลฯ แต่ความหนาแน่นก็ขึ้นอยู่กับสภาพบ่อ
2
🔸บ่อปูน/ ท่อซีเมนต์
มักจะไม่ใหญ่มาก เหมาะกับการเลี้ยงปลาที่ไม่ต้องให้ออกซิเจน แต่ถ้ามีการเดินระบบอากาศก็สามารถเลี้ยงปลาที่ต้องใช้ออกซิเจนได้ แต่ไม่นิยมเพราะเป็นการเพิ่มต้นทุน มักจะใช้เลี้ยงปลาที่ตัวไม่ใหญ่มากและมีราคาสูง เช่น ปลาตระกูลเนื้ออ่อน
1
ปลาน้ำจืดที่เลี้ยงกันในบ่อซีเมนต์ส่วนใหญ่ คือ ปลาดุก ปลาหมอ ปลาสลิด เพราะเลี้ยงง่าย ส่วนท่อซีเมนต์กลม ๆ ส่วนใหญ่จะมีขนาด 0.8 - 1 ตารางเมตร ซึ่งเหมาะจะเลี้ยงแค่ปลาดุก ปลาหมอ ประมาณ 80-100 ตัว
🔸บ่อผ้าใบ/บ่อพลาสติก
โดยส่วนใหญ่จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก ใช้แทนซีเมนต์เพราะต้นทุนการทำบ่อน้อยกว่า หลักการเลี้ยงเหมือนกับบ่อปูน
🔸กระชัง
ใช้การปักหรือแขวนกระชังลอยในบ่อขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถสูบน้ำออกหมดได้ หรือเลี้ยงในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น คลอง แม่น้ำ โดยเฉพาะแหล่งที่มีน้ำไหลผ่านเพราะมีออกซิเจนในน้ำสูง
แต่มีข้อเสีย คือ ควบคุมสภาพน้ำไม่ได้ ถ้าเป็นบ่อที่น้ำนิ่งถึงแม้จะกว้างแต่เมื่อปลามารวมกันที่เดียวก็จะขาดอากาศเหมือนกัน ความหนาแน่นต้องน้อยกว่าน้ำไหลผ่าน
2. ศึกษารายละเอียดของปลาที่เราสนใจ 🌿
ดูว่ามีกี่สายพันธุ์ ต้องการการดูแลมากน้อยแค่ไหน ชอบสภาพแวดล้อมอย่างไร ปลาชนิดไหนเป็นปลากินพืช ปลาชนิดไหนเป็นปลากินเนื้อ
ถ้าเลี้ยงเพื่อขายก็ต้องศึกษาความต้องการของตลาดด้วย ระยะเวลาเลี้ยงนานเท่าไหร่ ต้นทุนการเลี้ยงประมาณมากน้อยแค่ไหน ฯลฯ
และที่สำคัญปลาที่เราสนใจสามารถเข้ากับบ่อของเราหรือไม่ เช่น เราสนใจเลี้ยงปลากดเหลือง แต่สภาพบ่อเราที่มีเล็กเกินไป ก็ไม่เหมาะที่จะเลี้ยง
ถ้าจะเลี้ยงปลาหลายชนิดรวมกันก็ต้องศึกษานิสัยของปลาว่าอยู่ร่วมกันได้หรือเปล่า
ขอยกตัวอย่างปลาที่นิยมเลี้ยงกันดังนี้
🔸ปลาดุก
หลัก ๆ จะเลี้ยงกันอยู่ 3 สายพันธุ์ แต่ที่นิยมเลี้ยงกันมากมี 2 สายพันธุ์ เพราะเลี้ยงง่าย เลี้ยงได้กับบ่อทุกประเภท คือ ปลาดุกบิ๊กอุย ซึ่งเป็นพันธุ์ผสมกันระหว่างปลาดุกอุยกับดุกรัสเซีย รูปร่างจะคล้ายปลาดุกอุยซึ่งหลายคนเข้าใจว่ามันคือตัวเดียวกัน เลี้ยงง่าย ใช้เวลา 3-4 เดือน เป็นที่นิยมของตลาด
1
ที่นิยมอีกชนิด คือ ปลาดุกรัสเซียหรือดุกยักษ์ โตไว ทนโรค เลี้ยงแค่ 2-3 เดือน แต่ราคาขายจะถูกกว่าปลาดุกบิ๊กอุย
1
ส่วนปลาดุกอุย มีหลายชื่อ เช่น ดุกบ้าน ดุกนา ดุกเนื้ออ่อน รสชาติดี ราคาสูง แต่เลี้ยงยากกว่า ไม่เหมาะจะเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ หาซื้อลูกพันธุ์ยาก เลยมีการเลี้ยงกันน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ
🔸ปลานิล/ปลาทับทิม
ปลาทับทิมเป็นการคัดสายพันธุ์มาจากปลานิล บางคนเลยเรียก นิลดำ/นิลแดง การเลี้ยงเลยเหมือนกันแต่ปลาทับทิมเลี้ยงยากว่าเพราะทนทานต่อโรคน้อยกว่า ปลาที่ขายตามฟาร์มทั่วไปจะเป็นปลาแปลงเพศ เพราะปลานิลเพศผู้จะตัวใหญ่กว่า
อีกทั้งตัวเมียเมื่อออกลูกตัวจะไม่ค่อยใหญ่ขึ้น ผู้ผลิตเลยให้กินอาหารผสมฮอร์โมนเพื่อแปลงเป็นเพศผู้ ซึ่งทำให้ปลาที่เลี้ยงจะไม่ออกลูก แต่อาจมีตัวเมียอยู่บ้างแต่ไม่เกิน 10% บางคนเลยเรียกว่าปลานิลหมัน ใช้ระยะเวลาเลี้ยง 4-6 เดือน ต้องเลี้ยงในบ่อที่มีออกซิเจนสูง
1
🔸ปลาหมอ
ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ชุมพร ลูกพันธุ์ปลาหมอที่ขายส่วนใหญ่จะเป็นหมอแปลงเพศเหมือนกัน แต่จะให้กินฮอร์โมนเพื่อแปลงเป็นเพศเมีย เพราะตัวเมียจะใหญ่กว่าตัวผู้อีกทั้งผู้บริโภคยังนิยมปลาที่มีไข่ ใช้เวลาเลี้ยง 4-6 เดือน
1
เลี้ยงได้กับบ่อทุกประเภท แต่นิสัยของปลาหมอ คือ เวลาฝนตกปลาจะกระโดดขึ้นจากบ่อซึ่งควรกั้นตาข่ายไว้รอบบ่อ
3. สำรวจความพร้อมของตัวเอง 🌿
ดูว่าเราอยากเลี้ยงปลาอะไร มีเวลาดูแลแค่ไหน ความพร้อมของเงินทุนเป็นอย่างไร เช่น ถ้าเรามีร่องน้ำในสวนปาล์มและอยากใช้ประโยชน์จากมันแต่ไม่มีเวลาดูแล ไม่ได้ไปให้อาหาร
อาจจะปล่อยปลากินพืชในปริมาณน้อย ๆ ให้กินสารอินทรีย์ในน้ำ เช่น ปลาสลิด ปลาหมอตาล ปลานิล แต่ถ้าตั้งใจเลี้ยงจริงจังและมีเวลาดูแลเต็มที่ก็อาจจะเลี้ยงปลาดุกในปริมาณเยอะ ๆ ลดต้นทุนโดยหาเนื้อปลา/โครงไก่บดมาให้ และต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำหากมีน้ำเสีย
1
4. การเตรียมบ่อ 🌿
🔸บ่อดิน ควรตากบ่อให้แห้ง 1-2 วันแล้วหว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินและกำจัดสัตว์ต่าง ๆ ที่หลงเหลือในบ่อแล้วตากบ่อไว้ 1-2 วันจึงเติมน้ำ
ถ้าเป็นบ่อที่ไม่สะดวกสูบน้ำออกก็ควรปล่อยลูกพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ปลาอื่น ๆ ไม่สามารถกินได้แล้ว หรือเลี้ยงในกระชังก่อนจนได้ขนาดแล้วค่อยปล่อยลงบ่อดินโดยตรง
1
🔸บ่อซีเมนต์ ถ้าเป็นบ่อใหม่ต้องแช่น้ำไว้อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ใส่หยวกกล้วยลงไปด้วยแล้วค่อยเปลี่ยนถ่ายน้ำ เคล็ดลับให้ปลาแข็งแรง คือ ให้ใส่ดินไปด้วย เป็นดินเหนียวหรือดินจอมปลวกได้จะดีเพราะไม่มีสารเคมีปะปนในดิน
2
จะช่วยให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายบ่อธรรมชาติและแร่ธาตุในดินช่วยให้ปลาแข็งแรงไม่ค่อยเป็นโรค และควรเติมเกลือแกงไปด้วยเล็กน้อย
🔸บ่อพลาสติก สามารถเติมน้ำเลี้ยงได้ทันทีหรือแช่น้ำไว้สัก 1 สัปดาห์ก่อนก็ได้ หลักการเดียวกับบ่อซีเมนต์
 
🔸กระชัง ถ้าเป็นกระชังใหม่ควรปักหรือแขวนกระชังไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์ให้ตะไคร่เกาะ ถ้ากระชังใหม่จะทำให้ปลาดุกเป็นโรคหนวดเปื่อย แต่ปลาบางชนิดอาจปล่อยได้เลย เช่น ปลากดเหลือง เเต่เพื่อความปลอดภัยจึงควรแช่น้ำไว้ก่อน
1
5. อัตราการปล่อย 🌿
ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของบ่อ เช่น ถ้าน้ำนิ่งปล่อยปลาได้เท่านี้ตัวแต่ถ้าเลี้ยงแหล่งน้ำไหลผ่านก็เพิ่มจำนวนได้อีก
โดยทั่วไปปลาดุก, หมอ, ช่อน ปล่อยสูงสุดที่ 80-100 ตัวต่อตารางเมตร ถ้าปลานิล ปลาทับทิม ปล่อยประมาณ 30 ตัวต่อตารางเมตร ยิ่งปลาที่ต้องการออกซิเจนสูงยิ่งมีอัตราการปล่อยต่ำ
วิธีสังเกต ถ้าปลามีอาการลอยหัวขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ แปลว่า แน่นเกินไป ต้องย้ายออกบางส่วนหรือเพิ่มออกซิเจนโดยการเติมน้ำหรือตีอากาศ
1
6. อาหาร 🌿
1
โดยทั่วไปจะให้อาหารปลาดุกกับปลาทุกชนิด อาหารที่ปลาชอบจะมีสีเข้ม ๆ กลิ่นแรง ๆ
🔸ปลากินเนื้อ เช่น ปลาดุก ปลาหมอ ปลาชะโอน ปลาช่อน ปลากดเหลือง เป็นปลาที่ต้องการอาหารที่มีโปรตีนสูง ในช่วงแรกต้องให้อาหารที่มีโปรตีนสูง ยิ่งสูงปลายิ่งแข็งแรง โตไว จากนั้นจึงค่อยลดปริมาณโปรตีนลง
โดยดูจากเปอร์เซ็นต์โปรตีนที่ระบุไว้ที่ถุงหรือกระสอบอาหาร ถ้าให้อาหารกบได้ก็ยิ่งดีเพราะมีโปรตีนสูงกว่าแต่ราคาก็จะแพงขึ้นด้วย โดยเฉพาะปลาชะโอน ปลาช่อน ปลาหมอ ควรให้อาหารโปรตีนสูง
ลูกพันธุ์ปลาที่เราซื้อตามฟาร์มทั่วไปจะมีอายุประมาณ 30-45 วัน เราสามารถให้อาหารปลาดุกเล็กหรือกบเล็กได้ หรือให้อาหารลูกอ็อดก่อนสัก 1-2 สัปดาห์ได้ก็ดี จากนั้นก็ให้อาหารปลาดุกเล็ก โปรตีนอย่างน้อย 30% ราคาประมาณ 500 บาทขึ้นไป (20 ก.ก.)
1
ถ้าอาหารปลาดุกที่แบ่งขายหรือราคากระสอบละ 300-400 บาท จะมีโปรตีนแค่ 25% ปลาจะโตช้า เราสามารถลดต้นทุนได้โดยให้อาหารพวกเนื้อปลา เนื้อไก่บด แต่ต้องระวังเรื่องน้ำเสีย
🔸ปลากินพืช เช่น ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาแรด มีอาหารสำหรับปลากินพืชโดยเฉพาะและสามารถให้อาหารลดต้นทุนพวกพืชหญ้าต่าง ๆ ได้ แต่ถ้าเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ ควรให้อาหารปลาดุกที่มีโปรตีนสูงเช่นกันเพราะปลาจะโตไว คุ้มทุน
1
วิธีการให้อาหาร
2
วันแรกที่ปล่อยยังไม่ต้องให้อาหาร เริ่มให้ในวันถัดไป ให้อาหารอย่างน้อยเช้าเย็น ถ้าให้หลายรอบได้จะดีเพราะปลากินได้ทีละไม่เยอะ โดยเริ่มจากการหว่านอาหารในปริมาณน้อย ๆ จนมีอาหารเริ่มลอยแปลว่าปลาอิ่มแล้ว ให้หยุดแค่นั้น ถ้าให้ต่อไปปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเสีย มื้อต่อไปก็ปริมาณเท่าเดิมแล้วค่อย ๆ เพิ่มขึ้น
2
ปลาที่ขาดอากาศง่าย เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ควรให้อาหารตอนสาย ๆ ถึงตอนเย็น ถ้าเลย 5 โมงเย็นไปแล้วไม่ควรให้เพราะกลางคืนออกซิเจนในน้ำจะต่ำ เมื่อปลากินอิ่มจะขาดอากาศหายใจได้
7. โรคของปลา 🌿
ช่วงปล่อยปลาใหม่ ๆ อาจมีปลาตายบ้างเล็กน้อย เกิดจากความบอบช้ำจากการจับและการเดินทาง บางร้านจะใส่ยาเหลืองในถุงปลาไว้เพื่อป้องกันไว้ก่อน แต่ถ้าตายมาก ๆ มักเกิดจากการติดเชื้อ ต้องรักษาโดยการให้ยากิน แต่เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน
ควรให้อาหารผสมยาในสามวันแรกของการให้อาหาร โดยใช้ยาแก้อักเสบ (Amoxy) 5 เม็ดต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ละลายยาในน้ำและนำมาคลุกอาหาร ถ้าเป็นปลากินพืช เช่น ปลานิล สองวันแรกยังไม่ต้องให้อาหาร ให้ปลากินตะไคร่น้ำที่เกาะกระชังหรือสารอินทรีย์ในน้ำกรณีบ่อดิน ค่อยให้ในวันที่สาม
1
8. การดูแลอื่น ๆ 🌿
2
กรณีปลายังเล็กอาจมีศัตรู คือ นก มากินลูกปลา บางนกแค่โฉบลงมากิน แต่นกบางชนิด เช่น นกกาน้ำ สามารถดำน้ำลงไปกินลูกปลาทีละเยอะ ๆ จึงควรป้องกันด้วยการขึงตาข่ายคลุมบ่อ บางบ่ออาจมีงูที่ลงไปในกินปลาในน้ำ กลางวันจะมองไม่ค่อยเห็น กลางคืนจะสังเกตง่ายกว่า
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ พอจะได้แนวทางในการเตรียมเลี้ยงปลากันบ้างหรือยัง ตอนแรกอาจดูเหมือนยุ่งยาก แต่ถ้าเราได้ลองลงมือทำแล้วเราจะเริ่มเข้าใจไปทีละนิดและมันก็ไม่ได้มีอะไรยากเกินที่เราจะเรียนรู้ การศึกษาข้อมูลเยอะ ๆ จะช่วยให้เราย่นระยะเวลาการเรียนรู้ แต่สำคัญที่สุด คือ เราต้องลงมือทำ 🌿🌿
ขอบคุณที่คนที่แวะมาให้กำลังใจนะคะ ❤️
โฆษณา