28 ม.ค. 2021 เวลา 14:45
การวิ่งธง ในพิธีกงเต็ก​ คืออะไร
1
ในงานขาวดำตามธรรมเนียมจีนนิยมจัดพิธีกงเต็ก ซึ่งไปสืบความมาว่าเริ่มจากนักพรตเต๋าชาวกวางตุ้ง​ที่เข้ามาในไทยนานมากแล้ว และได้หมดไปจากกรุงเทพกว่า ๕๐ ปีมาแล้ว
พี่น้องจีนในไทยมีทั้งแต้จิ๋ว แคะ ไหหลำ และอีกหลายหลายวัฒนธรรมภาษา อยากให้นักพรตเต๋าไปทำพิธีบ้างแต่ด้วยความที่คณะผู้ประกอบพิธีมีน้อยแค่ประกอบพิธีให้ชาวกวางตุ้ง​ก็ไม่เพียงพอกับงานที่มีแล้ว จึงทำให้พี่น้องจีนหลายภาษาในไทยเริ่มเรียนรู้จากนักพรตบ้างตำราบ้าง
ด้วยอักษรจีนเขียนตัวเดียวกันหลากสำเนียงจึงมีการนำวิชาไปประยุกต์ให้เหมาะกับภาษาวัฒนธรรม​และธรรมเนียมของตน
ทางชุมชนแต่จิ๋วก็มีการปรับให้เหมาะกับชาวแต้จิ๋ว​ในไทย ได้มีพิธี "ซึงกิมซัว"(ทลายภูเขาทอง)เป็นพิธีมงคลเพื่อแสดงความกตัญญู​ต่อผู้วายชนม์​ ที่มีธรรมเนียมให้ลูกสาวที่แต่งงานแล้วเป็นเจ้าภาพในพิธีนี้ มีนัยยะเป็นการอวยพรลูกหลาน โดยมีคณะผู้ประกอบพิธีแต่งกายคล้ายพระจีน มีการแปรแถวให้ตื่นตาตามจังหวะดนตรีจีน(ล่อโกว)​ที่เร้าบรรยากาศด้วยกลองและล่อ(วงโลหะขอบหนาตีด้วยของแข็ง)​ พออุ่นเครื่องได้ที่ก็เริ่มกระชับจังหวะในการเดินเร็วขึ้นเรื่อยๆ มีการต่อตัวให้ตื่นเต้นยิ่งขึ้นไปอีกชั่วเวลาหนึ่งก่อนประกอบพิธีข้ามสะพานต่อไป
1
สืบค้นหลายชุมชนชาวจีนในไทยล้วนแตกต่างกันไป ชาวไทยจีนไหหลำจะนิยมจัดคล้ายการแสดงงิ้ว ชาวไทยจีนแคะจะมีคณะสตรีประกอบพิธีแสดงกายกรรมฉาบ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าจะมีในคณะผู้ประกอบพิธีที่เป็นฆราวาส​เท่านั้น
ถ้าเทียบกับวัฒนธรรม​ของไทย ก็น่าจะใกล้เคียงกับการแสดงขัดเวลาสวดแต่ละจบหรือถ้าการแสดงที่ยาวหน่อยก็อาจจะแสดงหลังจากสวดเรียบร้อยแล้ว เพื่อไม่ให้บรรยากาศ​มีความซึมเศร้ามากจนเกินไป เช่น สวดคฤหัสถ์​ หรือการร่ายรำต่างๆ ของบางชุมชน
#aj_tom
ขอบคุณ​ภาพจาก youtube ช่อง "ซ้อแอ๊ว"
โฆษณา