Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กฎหมายมหาชนในชีวิตประจำวัน
•
ติดตาม
29 ม.ค. 2021 เวลา 00:09 • การศึกษา
#ถาม-#ตอบ #พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์
#และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546
" ชนใดประพฤติธรรม ในธรรมที่พระพุทธเจ้ากล่าวดีแล้ว ชนเหล่านั้นจักข้ามแดนมฤตยูที่ข้ามได้ยาก" (พุทธภาษิต)
1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศใดมีกี่มาตราและกี่หมวด
ตอบ
พ.ศ. 2546, มี 53 มาตรา,จำนวน 9 หมวด
(จำชื่อพระราชกฤษฎีกานี้ให้ดี)
2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ 2546 มีผลบังคับใช้วันที่เท่าไร
ตอบ
1) บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2) ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2546
3) พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2546
3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ 2546 ให้ไว้ ณ วันที่เท่าไร
ตอบ
9 ตุลาคม 2546
4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ 2546 ได้ตราขึ้นตามกฎหมายใด
ตอบ
1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
5. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ 2546 ได้ตราขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534ฉบับที่เท่าไร
ตอบ
ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2545
6. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ 2546 ประกอบด้วยกี่หมวด แต่ละหมวดว่าด้วยเรื่องใดบ้าง
ตอบ
9 หมวด คือ
1) หมวดที่ 1 ว่าด้วยเรื่อง การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
2) หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
3) หมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
4) หมวดที่ 4 ว่าด้วยเรื่องการบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
5) หมวดที่ 5 ว่าด้วยเรื่อง การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
6) หมวดที่ 6 ว่าด้วยเรื่องการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
7) หมวดที่ 7 ว่าด้วยเรื่อง การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
8) หมวดที่ 8 ว่าด้วยเรื่องการประเมินผลการปฏิบัติราชการ
9) หมวดที่ 9 ว่าด้วยเรื่องบทเบ็ดเตล็ด
(หมวดที่ 1 เป็นหัวข้อหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หมวด ที่ 2 –หมวดที่ 8 เป็นหัวข้อย่อย)
7.การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามข้อใด
ตอบ
คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร.
8. “ส่วนราชการ”ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ 2546ไม่รวมถึงหน่วยงานใด
ตอบ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)
9. “ส่วนราชการ”ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ 2546หมายถึงส่วนราชการตามกฎหมายใด
ตอบ
กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวงกรม(พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวง
กรมพ.ศ. ๒๕๔๕)
และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร
10. รัฐวิสาหกิจ”ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ 2546คือ รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายใด
ตอบ
1) พระราชบัญญัติ
2) พระราชกฤษฎีกา
11. “ข้าราชการ”ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546นอกจากให้หมายรวมถึง “พนักงาน”ยังหมายถึงผู้ใดด้วย
ตอบ
ลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ
12. ผู้ใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546
ตอบ
นายกรัฐมนตรี
13. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ใดบ้าง
ตอบ
1)เกิดผลประโยชน์สุขของประชาชน
2)เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
4)ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
5)มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
6)ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
7)มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
14. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึงการปฏิบัติราชการอย่างไร และเพื่ออะไร
ตอบ
- การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมาย
- เพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
15. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าผู้ใดเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ
ตอบ
ประชาชน
16. ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนมีแนวทางการบริหารราชการอย่างไรบ้าง
ตอบ
1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการ
2)การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต
3)ก่อนเริ่มดำเนินการส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน
4)ให้เป็นหน้าที่ขอข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ
5)ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
17. การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องให้สอดคล้องกับอะไรบ้าง
ตอบ
1) แนวนโยบายแห่งรัฐ
2) นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
18. การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปอย่างไร
ตอบ
1) ซื่อสัตย์สุจริต
2) สามารถตรวจสอบได้
3) มุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
19. ก่อนเริ่มดำเนินการ หากกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชนส่วนราชการจะต้องดำเนินการอย่างไรก่อน
ตอบ
1) ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหรือ
2) ชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงผลประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
20. ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ซึ่งปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่นหรือระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการนั้นดำเนินการอย่างไรต่อไป
ตอบ
1) แจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และ
2) ให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วย
21. หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไปให้ส่วนราชการปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่องให้เป็นไปการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ตอบ
ก.พ.ร.(คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ)
22. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการปฏิบัติอย่างไรบ้าง
ตอบ
1 )ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใดส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
2) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ต้องมีรายละเอียด
3)ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ
4)ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไข
23. การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ ต้องมีรายละเอียดอะไรบ้าง
ตอบ
1) ขั้นตอนระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน
2) เป้าหมายของภารกิจ
3) ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และ
4) ตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
24. การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการต้องสอดคล้องกับอะไร
ตอบ
มาตรฐานที่ก.พ.ร.กำหนด
25. ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้ส่วนราชการดำเนินการอย่างไร
ตอบ
1) แก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบ หรือ
2) เปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
26. ในกรณีที่ภารกิจใดมีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการหรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียงหรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการอย่างไร และเพื่ออะไร
ตอบ
- กำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการ
- เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
27. กรณีให้ส่วนราชการมีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าคณะผู้แทนในต่างประเทศ เพื่ออะไร
ตอบ
เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการในจังหวัดหรือในต่างประเทศ
1) สามารถใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็นและ
2) บริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
28. ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่ออะไร
ตอบ
เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
29. การให้ส่วนราชการต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่ออะไร
ตอบ
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการ
1) ได้อย่างถูกต้อง
2) รวมเร็ว และ
3) เหมาะสมกับสถานการณ์
30. การให้ส่วนราชการต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่ออะไร
ตอบ
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกาฯ
31. ก.พ.ร. จะเสนอต่อผู้ใดเพื่อกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ
ตอบ
คณะรัฐมนตรี
32. การกำหนดมาตรการกำกับการปฏิบัติราชการ ให้กระทำโดยวิธีใด และเพื่ออะไร
ตอบ
- จัดทำความตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรหรือโดยวิธีการอื่นใด
- เพื่อแสดงความรับผิดชอบให้การปฏิบัติราชการ
33. ผู้ใดมีหน้าที่จัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และแผนดังกล่าวกำหนดไว้ในช่วงระยะเวลาใด
ตอบ
- คณะรัฐมนตรี
- ตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี
34. ให้มีการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในกี่วัน นับแต่เมื่อใด
ตอบ
- 90 วัน
- นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
35. หน่วยงานใดบ้าง ที่มีหน้าที่ร่วมกันจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรี
ตอบ
1) สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
2) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
3) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และ
4) สำนักงบประมาณ
36. เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้มีผลผูกพันหน่วยงานใดบ้างที่จะต้องดำเนินการจัดทำภารกิจให้เป็นไปตามแผนการบริหารราชการแผ่นดินดังกล่าว
ตอบ
1) คณะรัฐมนตรี
2) รัฐมนตรี และ
3) ส่วนราชการ
37. ในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินให้จัดทำเป็นแผนกี่ปี
ตอบ
4 ปี
38. การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องให้สอดคล้องกับสิ่งใดบ้าง
ตอบ
1) นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภามาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
2) ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และ
3) แผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
39. การจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดินต้องมีสาระสำคัญใดบ้าง
ตอบ
1) การกำหนดเป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการหรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ
2) ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรต่างๆ ที่จะต้องใช้ระยะเวลาการดำเนินการ และ
3) การติดตามประเมินผล
40. เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้จัดทำแผนอะไร
ตอบ
แผนนิติบัญญัติ
41. หน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนนิติบัญญัติ
ตอบ
1) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและ
2) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
42. แผนนิติบัญญัติ มีรายละเอียดอะไรบ้าง
ตอบ
1) กฎหมายที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่
2) กฎหมายที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือ
3) กฎหมายที่ยกเลิก
43. การจัดทำแผนนิติบัญญัติ ต้องให้สอดคล้องกับกับอะไรบ้าง
ตอบ
1) แผนการบริหารราชการแผ่นดิน
2) ส่วนราชการผู้รับผิดชอบ และ
3) ระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ
44. แผนนิติบัญญัติผู้ใดเป็นผู้เห็นชอบ
ตอบ
คณะรัฐมนตรี
45. ผู้ใดเป็นผู้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การจัดทำแผนนิติบัญญัติ และเพื่ออะไร
ตอบ
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน
46. ส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนอะไร จัดทำแผนนั้นกี่ปี และต้องสอดคล้องกับแผนใด
ตอบ
- แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
- 4 ปี
- สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
47. แผนกปฏิบัติราชการประจำปี ต้องระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับอะไรบ้าง
ตอบ
1) นโยบายการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ
2) เป้าหมายและผลสัมฤทธิ์ของงาน
3) ประมาณการรายได้และรายจ่ายและทรัพยากรอื่นที่ต้องใช้
48. แผนกปฏิบัติราชการประจำปีต้องเสนอต่อผู้ใด ให้ความเห็นชอบ
ตอบ
รัฐมนตรี
49. เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจำปีของส่วนราชการใดแล้ว ให้หน่วยงานใดดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จในแต่ละภารกิจตามแผนปฏิบัติราชการดังกล่าว
ตอบ
สำนักงบประมาณ
50. สำนักงบประมาณจะไม่จัดสรรงบประมาณสำหรับภารกิจในกรณีใดบ้าง
ตอบ
1) ภารกิจที่ส่วนราชการที่ไม่ได้เสนอแผนปฏิบัติราชการ
2) ภารกิจที่ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
ที่มา : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546. เรียบเรียงโดย เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล. 2564.
https://www.blockdit.com/dr.settawat
ผู้เรียบเรียง ผศ.ดร.เศรษฐวัฒน์ โชควรกุล ขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้รับจากการเผยแพร่บทความวิชาการทุกบทความอันเป็นวิทยาทานและธรรมทานให้แด่ดวงจิตคุณพ่อศักดา โชควรกุล (บิดาผู้ล่วงลับของผู้เรียบเรียง)
https://www.facebook.com/profile.php?id=100003743725944
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย