Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ดูบอลกับเสี่ย
•
ติดตาม
30 ม.ค. 2021 เวลา 07:24 • กีฬา
แอร์เบ ไลป์ซิก : คนทั้งประเทศเกลียด คนไลป์ซิกรัก
📍 ทำไมคนเยอรมันถึงเกลียด แอร์เบไลป์ซิก?
ในปี 2009 เรดบูล บริษัทเครื่องดื่มชูกำลังยักษ์ใหญ่ของโลกได้เปิดตัว เรดบูล ไลป์ซิก ซึ่งเป็นการซื้อสิทธิ์ทีมจาก เอสเอสเฟา มาครานชแตดท์ ทีมในลีกระดับ 4 ของประเทศ เรดบูล ไลป์ซิกกลายเป็นสโมสรฟุตบอลทีมใหม่ภายใต้อาณาจักรลูกหนังกระทิงแดง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้เทคโอเวอร์สโมสรในลีกสูงสุดของออสเตรียและสหรัฐมาและประสบความสำเร็จ
https://www.theguardian.com/business/2020/nov/23/red-bull-pays-out-550m-to-founders-including-family-of-drinks-inventor
ทว่าในเยอรมนี การจะเทคโอเวอร์ทีมฟุตบอลมันไม่ได้ง่ายเหมือนสองประเทศก่อนหน้า เนื่องจากกฎมากมายที่ป้องกันการเทคโอเวอร์ ทั้งการห้ามไม่ให้ต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือการห้ามไม่ให้ตั้งชื่อทีมตามบริษัท และกฎสำคัญอีกข้อมีชื่อว่า กฎ 50+1 กฎดังกล่าวได้มีผลสำคัญอย่างมากต่อรากฐานฟุตบอลระหว่างสโมสรกับแฟนบอลท้องถิ่น โดยเป็นการบังคับให้ทุกสโมสรต้องมีแฟนบอลเป็นผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 51 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด จึงเสมือนว่าแฟนบอลเป็นเจ้าของสโมสรและป้องกันการเข้ามาบริหารแบบเบ็ดเสร็จจากนักธุรกิจที่ร่ำรวยอีกด้วย
แต่ด้วยความเป็นนักธุรกิจและไหวพริบในการลงทุนของกลุ่มทุนเร็ดบูล พวกเขาสามารถหาช่องโหว่ของกฎและทำมันได้สำเร็จ โดยการแต่งตั้งลูกจ้างของเขาจำนวนหนึ่งให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นของสโมสร และเปลี่ยนชื่อทีมของตัวเองให้กลายเป็น ราเซ่นบอลชปอร์ต ไลป์ซิก เพื่อไม่ให้เหมือนกับชื่อแบรนด์ตัวเอง
https://www.waz.de/sport/fussball/bvb/bvb-fans-haengen-in-der-nacht-anti-rb-leipzig-plakate-auf-id209500025.html
ความหลบหลีกและใช้ช่องโหว่เหล่านี้ได้สร้างความไม่พอใจขึ้นมาเรื่อยๆต่อแฟนบอลทีมอื่นๆที่มีต่อแอร์เบ ไลป์ซิก เริ่มมีกระแสต่อต้านแนวทางการใช้เงินมหาศาลเข้ามาในวงการฟุตบอลของเรดบูล
ในที่สุดในปี 2016 เมื่อแอร์เบ ไลป์ซิกเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดความรุนแรงก็ได้ประทุขึ้นในเกมส์ที่ไปเยือนทีมที่ได้ชื่อว่ามีแฟนบอลที่เชียร์ได้มีพาสชั่นที่สุดในยุโรป โบรุสเซีย ดอร์มมุนด์ โดยก่อนเกมได้เกิดความรุนแรงขึ้น แฟนบอลอุลตราของเสือเหลือบางกลุ่มได้เข้าทำร้ายแฟนบอลทีมเยือนจนได้นับบาดเจ็บ ในที่สุดตำรวจต้องเข้ามาควบคุมสถานการณ์ ไม่ใช่แค่เพียงแฟนบอลดอร์ทมุนด์เท่านั้นที่แสดงท่าทีต่อต้านทีมของเร๊ดบูล แฟนบอลทีมต่างๆทั่วเยอรมันต่างพากันร้องเพลง โชว์ป้าย ต่อต้านการเข้ามาแทรกแซงวงการฟุตบอลของกลุ่มทุนจากประเทศออสเตรีย
https://www.thelocal.de/20170207/how-leipzig-fans-are-being-brutally-abused-by-other-football-clubs
📍 แล้วทำไมคนไลป์ซิกถึงรัก?
แม้จะโดนเกลียดชังและถูกเพ่งเล็งโดยแฟนฟุตบอลเกือบทั่วประเทศแต่ในช่วงก่อนการระบาดของไวรัสโควิด-19 แอร์เบไลป์ซิกมีแฟนบอลเข้าชมเต็มความจุของเร็ดบูล อารีน่า แทบจะทุกเกมส์ และนี่คือคำตอบว่าทำไมชาวไลป์ซิกถึงรักทีมของอาณาจักรฟุตบอลเรดบูลสาขานี้
คำตอบต้องย้อนกับไปภายหลังการรวมประเทศเยอรมัน ซึ่งลีกฟุตบอลของทั้งสองประเทศถูกรวมกลายเป็นลีกเดียว ลีกตะวันออกถูกยุบและมีเพียง 2 ทีมเท่านั้นได้เล่นในบุนเดสลีกา ขณะที่สโมสรอื่นๆในลีกสูงสุดของเยอรมันตะวันออกเดิมต้องกระจัดกระจายไปเล่นตามลีกในระดับล่างๆของประเทศ
https://www.faz.net/aktuell/sport/fussball/scherbenhaufen-ost-fussball-aus-2-6-wird-bestenfalls-0-3-12935549.html
ด้วยสภาวะเศรษฐกิจทางฝั่งตะวันออกที่ย่ำแย่ภายหลังรวมประเทศใหม่ ทีมจากตะวันออกที่ไม่มีเงินทุนสนับสนุนจากบริษัทใหญ่เหมือนในฝั่งตะวันตก ก็เจอกับวิกฤต เมื่อพวกเขาไม่สามารถรักษานักเตะเก่งๆไว้ให้อยู่กับทีมและไม่สามารถรักษาสภาพคล่องของการเงินได้ และค่อยๆทยอยกันตกชั้นสู่ลีกรองๆลงไปจนไม่เหลือทีมในลีกสูงสุดอีกเลยตั้งแต่ปี 2006
แต่แล้วเรดบูล ก็เข้ามาพวกเขาได้เนรมิตแอร์เบไลป์ซิกสร้างทีมฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จด้วยเงินทุนที่หนาพอจะดึงนักเตะระดับบิ๊กเนมมากมายเข้าสู่ทีม ปีแล้วปีเล่าแอร์เบไลป์ซิกก้าวขึ้นสู่ลีกสูงสุดได้สำเร็จพร้อมทั้งกลายมาเป็นคู่แข่งแย่งแชมป์ลีกกับบาเยิร์น มิวนิค ได้อย่างภาคภูมิ
แม้ว่าแฟนบอลทั่วประเทศจะเย้ยหยันและดูถูกทีมนี้ไว้มากมายแต่แฟนบอลแอร์เบไลป์ซิก ก็มีทางเลือกในแบบของเขา เราขอปิดบทความด้วยคำกล่าวของแฟนบอลทีมนี้ที่ตอบคำถามถึงเรื่องที่พวกเขาถูกวิจารณ์ว่าเป็นทีมไรประวัติศาสตร์ โดยเขาตอบไว้ว่า
“จริงอยู่ที่เราไม่มีประวัติศาสตร์ให้พูดถึง แต่เรากำลังสร้างมันและเราก็เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์”
บันทึก
1
2
1
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย