31 ม.ค. 2021 เวลา 01:00 • ธุรกิจ
"วิธีทำธุรกิจให้เจ๊ง"
ยุคนี้ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือแม้กระทั่งมนุษย์เงินเดือน หลายๆคน
หันมาทำธุรกิจบ้างก็ทำเป็นอาชีพเสริม
บางคนก็หันมาเอาดีทางธุรกิจแบบเต็มตัว
1
แต่ก็มีไม่น้อยที่ต้องพับเสื่อกลับไปยังหนทางเดิม
เพราะธุรกิจที่ตั้งเป้าไว้ มันไปไม่ถึงฝั่งฝัน
และดูท่าจะไม่เป็นไปตามที่คาดเลย
นี่คือ สิ่งที่แอดมินเองเคยพลาดจากการทำธุรกิจ
และได้มีโอกาสพูดคุยกับเหล่านักธุรกิจที่มีปัญหา
1. ไม่ทำบัญชี
เรื่องนี้จะขาดไปไม่ได้เด็ดขาด
ขอย้ำ ! ว่าขาดไม่ได้เลย
การทำบัญชีเปรียบเสมือนดั่ง หัวใจ ของธุรกิจ
ที่คอยบอกเราว่าธุรกิจเรายังมีชีวิตอยู่ไหม
1
มันเป็นสิ่งที่คอยบอกเราว่า ตอนนี้กระแสเงินในธุรกิจเรามีสภาพแบบไหน คืนทุนหรือยัง จะคืนทุนเมื่อไหร่ แผนภาษีเป็นยังไง เมื่อรายได้เกินวงเงินไหนจะต้องปรับแผนบัญชีอย่างไร
น่าแปลกใจทั้งที่เป็นเรื่องที่จำเป็นมากแต่เราละเลยไป
บางคนพลาดถึงขนาดที่ว่า
ไม่รู้มาก่อนเลยว่าตัวเองขาดทุนอยู่
เพราะไม่ได้ทำบัญชี ถึงจะยอดขายเยอะ
แต่ไม่รู้ว่าไม่มีกำไรเลย
2. ไม่รู้ว่าจะขายให้ใคร
ปัญหานี้ก็หนักหน่วงไม่แพ้กัน
อาจจะสงสัยกันว่า มันเป็นไปได้เหรอ
มันเป็นไปได้ครับ เมื่อเอาของมาขาย
หลายคนมักจะมีคำถามว่า
ขายอะไรดี?
โดยที่ไม่ถามต่อว่าจะขายให้ใครดี
คำถามนี้สำคัญมากครับ "ขายให้ใครดี?"
บางทีอาจจะสำคัญกว่า ขายอะไรดีด้วยซ้ำ
การตั้งคำถามแต่เพียงว่าขายอะไรดี
ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลย
แต่หากจบที่คำถามนี้ ปัญหาที่ตามมาคือ
คุณอาจต้องสต๊อกสินค้าเยอะเกินความจำเป็น
และไม่รู้ว่าจะขายหมดเมื่อไหร่ เพราะไม่รู้ว่าจะขายได้ตอนไหน
เมื่อมีความคิดว่า
จะยิงแอด Ads (โฆษณา)
หากขาดความรู้ที่ว่าจะขายให้ใคร
ยิงจะต้องยิงแอดแบบกราดไปทั่ว
ทำให้เสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้และจุดนี้นี่เองจะเป็นตัวทำให้กำไรต่อชิ้นของสินค้าลดลง
1
3. ไม่รู้จักต้นทุนที่แท้จริง
เคยไหมที่ยอดขายเยอะมากแต่ไม่มีกำไรเลย หรือเงินหมุนเวียนลดลงเรื่อยๆ
ข้อนี้หลายคนยังนำเพียงต้นทุนสินค้ามาเป็นต้นทุนในการคำนวณกำไร อย่าลืมว่ามีส่วนต่างตรงนี้
ตัวอย่างเช่น
ค่าขนส่ง ค่ากล่องพัสดุ ค่าน้ำมันรถไปส่ง
ค่ายิงแอด หากละเลยส่วนตรงนี้ไปแล้วจะทำให้เราตั้งราคาขายต่ำไป หรือแผนธุรกิจผิดพลาด
2
4.ไม่มีกลยุทธ์สำหรับธุรกิจ
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า
วิสัยทัศน์ที่ปราศจากกลยุทธ์ คือภาพลวงตา
ประโยคนี้เห็นจะเป็นเรื่องจริง
พราะเมื่อได้ก้าวสู่วงการธุรกิจ
เราก็มักที่จะมุ่งมั่นกับการขายแบบเอาเป็นเอาตาย
ชนิดที่ว่าใครตัดราคามา ชั้นจะตัดราคาสู้
1
หยุดก่อน! อานนท์
การทำธุรกิจไม่จำเป็นต้องตัดราคา
การตัดราคาคือการมองไม่เห็นประโยชน์ของสินค้าเราอย่างแท้จริง เมื่อของเราดีจริง ทำไมจะต้องไปตัดราคา
1
ขอยกตัวอย่าง ตอนขายรถไฟฟ้าแรกๆ มีหลายเจ้าที่พยายามตัดราคาลงเพื่อแข่งกับเจ้าของเรา ผมวิเคราะห์ดูแล้วว่า ถ้าเราต้องลดราคาแข่งอีก
จะทำให้เราใช้เวลาคืนทุนนานกว่าเดิมมาก
เราขายสินค้าเหมือนกันราวกับแกะ
แต่ผมเลือกที่จะไม่ลดราคาลงขนาดนั้น เพราะมั่นใจในคุณภาพสินค้าและการบริการหลังการขาย อาจจะให้เทคนิคทางการค้าอีกนิดหน่อย
ผลสรุปคือ เราขายออกหมดไว โดยไม่ต้องแข่งตัดราคาเลย
1
ลูกค้ามีหลายประเภท มีทั้งที่พร้อมจ่ายและไม่พร้อมจ่าย
เมื่อสินค้าเราเหมาะสนกับราคานั้นแล้ว
ไม่จำเป็นต้องลดเพื่อให้ขายได้
5.ทำเพื่อความสบาย
หยุดก่อน อานนท์!
Please Stop ความคิดนั้นโดยทันที
เมื่อทำงานประจำคุณอาจจะหน้าที่เพียงตำแหน่งเดียว
ทำงานหน้าเดียว แต่ขอบอกไว้เลยว่าเมื่อคุณกระโดดมาทำธุรกิจแล้ว
คุณต้องเป็นไปตั้งแต่ รปภ. คนส่งของ คนแพ็คของ คนรับของ คนวางบิล คนทำบัญชี ช่างซ่อม พนักงานไลฟ์สด ฝ่ายขาย ฝ่ายจัดซื้อผู้บริหาร คุณต้องเป็นทุกอย่างให้คุณเอง
ถ้าอยากทำเพราะความสบายพับความคิดนั้นไว้ในแผนสำรองและตั้งใจทำงานของคุณต่อ
3
6. ไม่รู้จักแหล่งเงินทุน
ส่วนตรงนี้ ก็เป็นอีกเรื่องที่เรามักพลาดกัน และทำให้ความคิด
ของเราไม่ได้เริ่มต้น จากวลีสั้นๆที่ว่า "ไม่มีทุน"
1
ทุกวันนี้มีสินเชื่อสำหรับ SME หรือแม้กระทั่งกองทุนสำหรับ Start Up ไว้คอยเป็นแหล่งสนับสนุนความคิดของเรา
บางทีเราอาจจะขาดเงินก้อนเพียงเล็กน้อย
แต่เมื่อไม่มีทุนในส่วนนั้นแล้ว ทำให้ธุรกิจรันไปไม่ได้
ส่วนตรงนี้จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่นการใช้ใบ PO (ใบสั่งซื้อ)
มาเป็นหลักประกันยื่นขอกู้หลักทรัพย์มารันธุรกิจได้
2
และนี่คือสิ่งที่จะส่งผลให้ปัญหาที่มีในวันนี้งอกเงย
แทนที่จะเป็นการทำงานธุรกิจที่รายได้เติบโต กลายเป็นว่า
ปัญหาเติบโตแทน ส่งผลต่อความคิด จิตใจ
ลามไปสู่ความสัมพันธ์
2
หากอยากทำธุรกิจด้วยความมั่นคงแล้ว
มองความเป็นไปได้แบบไม่คิดไปเอง
ที่สำคัญคือ ทำบัญชี วางแผนตั้งแต่ก่อนลงทุนในธุรกิจนั้น
เรียกง่ายๆว่า วางแผนเจ๊งก่อน ที่จะเจ๊งจริงๆ
1
เมื่อมีข้อมูลในมือมาก ก็จะบริหารความเสี่ยงได้มาก ความรู้มากขึ้นความเสี่ยงลดลง
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น "เริ่มซักที"
โฆษณา