30 ม.ค. 2021 เวลา 08:34 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เริ่มขุด Bitcoin 2021 คุ้มมั้ย?
1
ภาพโดย WorldSpectrum จาก Pixabay
การขุดบิทคอย คือการถอดรหัสชุดข้อมูล และจัดการกับชุดข้อมูลนั้น เมื่อดำเนินการสำเสร็จเราจะรับค่าดำเนินการในส่วนนั้นมา เฉพาะนั้นการขุดให้ได้จำนวนชุดคำสั่งหรือค่า Hash/s ขึ้นอยู่กับความแรงของอุปกรณ์ที่ใช้ขุด
กำลังขุด SHA-256
1TH = 1,000 GH/s
1TH = 1,000,000 MH/s
1TH = 1,000,000,000 KH/s
1
ตัวอย่างแรงขุดของขุดแบรนด์ต่างๆ
ภาพโดย InstagramFOTOGRAFIN จาก Pixabay
1. (Hardware)เครื่องขุด Bitcoin โดยเฉพาะ มีหลากหลายค่ายที่ได้รับนิยม เช่น MINER BROS, Sesterce, Antminer, Bitmain และอีกมากมาย
ข้อดี มีกำลังขุดที่สูงมาก
ภาพโดย Лечение Наркомании จาก Pixabay
2. (software)ขุดด้วยโปรแกรม
2.1 Mining Software เป็นโปรแกรมที่ใช้กำลังขุดจาก GPU หรือการ์ดจอ และยังสามาราถใช้ CPU ของเครื่องในการช่วยขุดได้ด้วย แบ่งได้ 3 ประเภทคือ
ประเภทแรก ขุดผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป (Third party) เช่น
NiceHashMiner, MinerGate, kryptex และอื่นมากมาย
ข้อดี ง่าย, สะดวก, โปรแกรมจะหา Pool ที่เหมาะสมสเปคและคุณค่าที่สุดให้โดยอัตโนมัติ, มีทีม Service Support, มี Chart แสดงรายละเอียด, บางที่สามารถถอนเป็น USD ได้เลยด้วย
ข้อเสีย เสียค่า Fee สูงขึ้นตามแต่แบรนด์ (ผมใช้ kryptex เพราะ UI สวยดี แต่แอบแพงอีกหนึง :)
ประเภทที่สอง ขุดจากเหมืองโดยตรง P2P
คือการขุดผ่าน Pool ตรงโดยใช้โปรแกรม http://p2pool.in/
ข้อดี เสียค่าFee ถูกกว่า ปลอดภัย
ข้อเสีย ต้องคอยมาเช็คว่าโปรแกรม Run ปกติมั้ย ปัญหาจุกจิก ต้องใช้
ประเภทที่สาม Web Brower สามารถใช้ได้ทั้ง PC, Mac, Mobile, Tablet, Laptop
รายชื่อเวปไซต์ขุดบิทคอยน์
Cryptotab แบรด์นนี้ที่ผมทดลองมาจ่ายจริง และไม่โดนหักด้วย (เลือกแบบส่งนาน รอประมาณ 24 ชั่วโมง) ส่วนเวปอื่นๆ ตัวผมยังไม่สามารถถอนได้ อนาคตจะอัพเดพเวปที่ถอนได้เพิ่มเติ่มครับ
ข้อดี ง่ายที่สุด ไม่กินสเปรคเครื่องมาก สามารถขุดจากมือถือ Ipad ได้หมด สามารถเพิ่มแรงขุดโดยการอัดเงินเข้าได้
ข้อเสีย ได้น้อยเหมาะแก่การขุดขำๆ ไม่แนะนำให้ซื้อ Boost เพราะแรงขุดน้อยอยู่ดี
** หากอยากทดลองตอนนี้มีโปรโมชั่น Boost x2 31 days
1
ขุดตอนนี้ยังคุ้มอยู่มั้ย?
1
ตารางเปรียบเทียบ การ์ดจอ/แรงขุด/รายได้เฉลี่ยต่อวัน
ลองคิดจากค่าไฟบ้านเราดู สำหรับการใช้ไฟ้า 1 หน่วย(Unit) = เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1000 วัตต์(Watts) ต่อ 1 ชั่วโมง
สูตรการคำนวณประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย
กำลังไฟฟ้า(Watt) x (จำนวนเครื่อง)/1000 x (ชั่วโมง) ต่อ 1 วัน
โปรแกรม Kryptex
จากภาพตัวอย่างด้านบน
45 (W) x 1 (เครื่อง) / 1000x 12 (ชั่วโมงที่เปิดต่อวัน) = 0.54 หน่วย (Unit)
1 เดือนจะใช้ไฟฟ้า (0.54 x 30) = 16.2 หน่วยต่อเดือน
และถ้าผมใช้การ์ดจอQuadro P200 ขุดได้ 14.66 MH/s ตกวันละ 1 USD 30 วัน = 30 USD - (หักค่าFee) 6 USD/transition เหลือ 24 USD หรือ 700 กว่าบาท สำหรับผมเปิดขุดสะสมไว้ เพราะต้องเปิดคอมวันละ 12 ชม.อยู่แล้ว
**** ข้อสังเกตุหลังจากที่ขุดมาได้ระยะหนึ่งมีปัญหาบางครั้งที่ต้อง รีสตาร์ทเครื่องใหม่เวลาจะกลับมาใช้งานโหมดตัดต่อวีดีโอ เพราะอาจจะมองเหมือนได้มาฟรีแต่จริงๆแล้วเสี่ยงต่อการ์ดจอเสียหายด้วย สำหรับผู้ที่สนใจจะมาขุด และยังมีปัจจัยเรื่องค่า FT (Energy Adjustment charge ค่าผันแปรก้าวหน้า) และภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7 %
เช็คคค่า FT จาก PEA https://bit.ly/3r0K7ub
แนะนำขุดสายโปรแกรม MSI Afterburner เพื่อลด Watts หรือ Overclock สำหรับสายการ์ดจอ
https://www.msi.com/Landing/afterburner
ข้อดีและข้อเสีย จากประสบการณ์ที่ทดลองใช้มาระยะหนึ่งครับ หวังอาจจะมีประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านไม่มากก็น้อยครับ
การขุดบิตคอยน์ยังมีการซื้อขายแรงขุดหรือที่เรียกว่า Cloud Mining จะมีการเกร็ง-ทำกำไรกันอย่างไร โปรดกดติดตามไปกับTreasure Quest x Bitcoin2021
#TreasureQuestxBitcoin2021
#TreasureQuest
#BitCoin2021
#blockdit

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา