31 ม.ค. 2021 เวลา 13:31 • หนังสือ
##สรุปหนังสือ | เทคนิคเปลี่ยนคุณให้เป็นคน"ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง"และลงมือทำทันที
...ขอบอกเลยว่าถ้าไม่มีหนังสือเล่มนี้
ผมคงไม่ได้เริ่มต้นทำเพจนี้จนมาถึงทุกวันนี้👏🏻
แนะนำลองหยิบหลาย ๆ เทคนิคมาใช้
รับประกันได้เลยว่าได้ผลแน่นอน และอย่าลืมฝึกฝนและทบทวนบ่อย ๆ เพื่อให้ไม่ลืม✌🏻
✍️ มีทั้งหมด 55 เทคนิค งั้นมาเริ่มกันเลย..
.
.
12 Mins. Read.
.
.
.
วิธี # 01 —> 10
.
📌 01 : อย่าคาดหวังว่าตัวเองในอนาคตจะลงมือทำ
2
...คำพูดติดปากของคนที่ลงมือทำทันทีไม่เป็นคือ "เดี๋ยวทำทีหลัง" หรือเก็บไว้ทีหลังเราน่าจะทำได้
...ที่จริงทำทีหลังก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหรอกเพราะความสามารถของคุณไม่ต่างจาก "ตอนนี้" แม้แต่น้อย
○ นักผัดวันประกันพรุ่งจะคิดว่าตัวเองในอนาคตดีกว่าตัวเองตอนนี้เสมอ
○ เตรียมตัวเองให้พร้อมที่จะลงมือทำได้ทุกเวลาที่ต้องการ เช่น เอางานมากองไว้ตรงหน้า เปิดโปรแกรมที่จะต้องทำงานพร้อม = เคล็ดลับที่จะทำให้ "ความสุขที่รออยู่ในอนาคตอันใกล้" กลายเป็นจริงขึ้นมา
.
2
📌02 : ลงมือทำในตอนเช้า
1
พูดถึง "เรื่องที่ลงมือทำตอนนี้ไม่ได้" = "เรื่องที่ไม่จำเป็นต้องทำตอนนี้"
...ถ้ารู้จักงานที่สำคัญแต่ไม่ด่วนไหมครับ (Important but not urgent) เช่น การลดน้ำหนัก การออมเงิน การหาความรู้ เพราะมันไม่ได้รีบ ไม่มี deadline เราเลยไม่ทำ
○ จงลงมือทำ [ก่ อ น] ที่จะเปรียบเทียบว่าอะไรสำคัญกว่ากัน
= ถ้าเราเปรียบเทียบกับงานที่มีเส้นตายเราจะเผลอไปทำงานนั้นก่อน
.
2
📌 03 : โยนปัจจุบันทิ้งไป
คือทิ้งความสุขสบายไปซะ แต่อย่าหักโหมเกินไป
○ ไม่อยากปล่อยให้ "ความสุขสบายในตอนนี้" หลุดมือไป = เรามักกลัวว่าอนาคตอาจจะแย่กว่า เ ล ย ไ ม่ ก ล้ า ทํ า อ ะ ไ ร ใ ห ม่ ๆ เช่น ตื่นมาตอนเช้าแล้วอยากหลับต่อ ทำไมต้องออกไปอ่านหนังสือด้วยล่ะ
วิธีเอาตัวออกจากการเสพติดภาวะสุขสบายนี้ ก็ให้เริ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป
.
3
📌 04 : ทิ้งความสุขสบายไปซะ
เช่น สมมุติว่าเรากำลังดู Netflix แล้วรู้สึกอยากลงมือทำงาน ไม่ควรจับปลาสองมือ อย่างแรกที่ควรทำคือการมุ่งจดจ่อการ "ปิด Netflix" เพียงอย่างเดียวครับ จากนั้นทำจิตใจให้โล่ง 🌬🌫
○ อย่าจินตนาการถึงอนาคตที่เลวร้าย เดิมทีมนุษย์เป็นสัตว์เกียจคร้าน พยายามหลีกเลี่ยงเรื่องที่ไม่ชอบ วิธีที่ดีที่สุดคือ ไม่ต้องคิดล่วงหน้า
.
1
📌 05 : กระตุ้นด้วยความตื่นกลัว
เช่น ถ้าตอนเราแก่และเราไม่ออมเงิน แต่เพราะเราเพิกเฉยและไม่เชื่อว่าสถานการณ์ในอนาคตมีอยู่จริง
○ การรู้ข้อเท็จจริงก่อนจะใช้ความตื่นกลัวมาเป็นแรงกระตุ้น
ต้องหลีกเลี่ยงข่าวลือหรือแหล่งข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือ ในทางกลับกันการรู้ "ข้อเท็จจริง" ที่น่าเชื่อถือทำให้คุณเริ่มลงมือทำได้ เช่น ถ้าอยากรับมือกับแผ่นดินไหว ลองดูสารคดีที่เกี่ยวข้อง
.
1
📌 06 : คาดการณ์ล่วงหน้า
ก่อนที่จะคาดการณ์ล่วงหน้า ควรรับรู้และเข้าใจสภาพปัจจุบันก่อน คนส่วนใหญ่หลีกเลี่ยงการรับรู้ความเป็นจริง เช่น น้ำหนักที่เรามี การทำรายรับรายจ่าย พอเราไม่ต้องการรับรู้ ก็ลงเอยด้วยการปล่อยให้ทุกอย่างคาราคาซังต่อไป
○ แนะนำคือลองทำความเข้าใจในสภาพปัจจุบันแล้วคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
.
1
📌 07 : อย่าหลงกลสมองที่ชอบคิดอะไรแบบรวบยอด
สมองเราจำรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ค่อยได้หรอก มักติดนิสัยคิดแบบรวบยอด
○ แนะนำให้วิเคราะห์ก่อนลงมือทำ
.
📌 08 : ย่อยงานให้เล็กลง
1
สรุปคือ อย่าคิดเป็นภาพใหญ่ ๆ ที่ไม่มีรายละเอียด แต่ให้ลองย่อยงานที่ต้องทำออกมา
แล้วดูว่ามีอะไรที่สามารถลงมือทำตอนนี้ได้ไหม
ผมใช้เทคนิคนี้ประจำ ⭐
.
2
📌 09 : ไม่ตั้งเป้าหมายใหญ่เกินไป
1
...การคิดถึงเป้าหมายมากเกินไปจะทำให้คนเราไม่เห็นคุณค่าของงานเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงหน้า แล้วการคิดแบบนี้มากเกินไปมักจะทำให้เกิดการผลัดไม่ทำงานเล็ก ๆ ที่อยู่ตรงหน้า
จิตวิทยาจะเรียกคนพวกนี้ว่า "คนช่วงเพ้อฝัน"
...ผมก็เคยเป็นคนแบบนั้น เช่น เวลาผมตั้งเป้าหมายว่าจะทำ YouTube แต่ไม่ตระหนักว่าสิ่งแรกที่ควรทำคือ ก า ร ถ่ า ย วี ดี โอ แต่ผมชอบจินตนาการไว้ก่อนว่าจะมีคนติดตามกี่คน คนจะมาดูเยอะแน่ ๆ แต่พอทำจริงทำแค่คลิปเดียว ไม่มีคนดู ซึ่งตรงข้ามกับที่ฝันไว้ จะรู้สึกรับไม่ได้อย่างรุนแรง
○ อย่าฝันไปไกลกว่างานธรรมดา ๆ ที่อยู่ตรงหน้า
.
1
📌 10 : อย่าปลาบปลื้มกับการวาดฝันใส่กระดาษ
ย่อยความฝันใหญ่ ๆ ออกเป็นส่วนเล็ก ๆ แล้วทำให้เป็นจริง
* พยายามย่อยให้เล็กที่สุด เราจะมองเห็นว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง
วิเคราะห์ก่อนลงมือทำ
.
วิธี # 11 —> 20
.
✏ 11 : ใช้ตัวล่อ
...กรณีบีบบังคับตัวเองแล้วทำไม่ได้สักที ตัวอย่างเช่น ถ้าลงมือทำความสะอาดห้องไม่ได้สักที ก่อนออกจากบ้าน นำข้าวของที่ต้องจัดเก็บ มากองไว้หน้าประตู เพราะมันจะบังคับให้คุณต้องลงมือทำ
.
2
✏ 12 : หยุดสะสมข้าวของ
...หนูนักเก็บ (Pack Rat) = มีแผลใจมักมีแนวโน้มชอบเก็บสะสมของ
"คนที่ลงมือทำทันที มักไม่ค่อยสะสมข้าวของ" เลือกทิ้งสิ่งที่ไม่จำเป็น ลดข้าวของได้อย่างมีประสิทธิภาพ เวลามีข้างของรายล้อมมากเกินไปอยู่ตรงหน้าจึงสับสนได้ง่าย
.
1
✏ 13 : เลิกคิดถึงผลลัพธ์
1
ให้ความสำคัญกับ "จำนวน" จะทำให้รู้สึกสนุกกับงานมากกว่า สามารถใช้สามารถใช้เทคนิคนี้กับการหางานและสารภาพรักได้ด้วย เช่น จากจีบคนเดียวเป็นจีบหลาย ๆ คนสัก 10 คน รับรองว่าโอกาสสำเร็จเพิ่มขึ้นแน่นอน
.
2
✏ 14 : ลดความเสี่ยง
โทรคุยกับลูกค้า แต่กลัวคนปฏิเสธ ลดความเสี่ยงได้โดยการหาเวลาที่คิดว่าเขาจะสะดวกหรือติดตามทางเมลแทน
○ วิธีให้รางวัลตัวเองไม่ช่วยให้ทำงานเสร็จเสมอไป
เพราะรางวัลนั้นเป็นสิ่งที่ได้มาโดยไม่จำเป็นต้องทำงานให้เสร็จก่อน เช่น ให้รางวัลเสร็จโดยการกินขนม แต่ต่อให้ทำงานไม่เสร็จ ก็กินขนมได้อยู่ดี
○ นึกถึงประโยชน์ที่จะได้รับ
เช่น โล่งใจ / ทำสำเร็จ
.
3
✏ 15 : เลิก 'ทำอะไรก็ได้ไปก่อน"
ถึงเราจะรู้สึกพอใจขอที่ได้ทำ แต่งานจะคืบหน้าหรือไม่นั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะพลังงานในช่วงเช้าเป็นช่วงที่มีค่ามาก เลือกใช้พลังงานให้ถูก
.
1
✏ 16 : กำจัดอิทธิพลของแรงกระตุ้น
เราควรลำดับรายการที่ต้องทำทั้งหมดแบบละเอียด กำหนดลำดับของงานก่อน อย่าพึ่งแต่แรงกระตุ้นหรือรอมีอารมณ์ทำงานก่อน
.
1
✏ 17 : ทำต่างจากเดิมแต่เล็กน้อย
1
...ปกติคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง มนุษย์มักต้องการรักษาสิ่งเดิม ๆ เอาไว้ และมีแนวโน้มที่จะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ลองลงมือทำพร้อมกับทำสิ่งที่ต่างจากเดิมเล็กน้อยนะครับ
.
1
✏ 18 : บอกคนอื่นว่าจะทำอะไร
...คนเราปรารถนาที่จะได้รับการยอมรับจากผู้อื่น ลองป่าวประกาศในเฟสบุ๊ค ไอจี ทวีตเตอร์ หรือจะบล็อคดิทก็ได้ มันทำให้รู้สึกว่ามีคนอื่นจับมอง แถมช่วยให้ทำเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง
.
1
✏ 19 : ใช้สายตาของคนอื่นให้เกิดประโยชน์
1
...ทางจิตวิทยาเรียกว่า ปรากฏการณ์ฮอว์ธอร์น ใช้ประโยชน์จากคนรอบข้างให้มากที่สุด พอเรารู้สึกเหมือนมีคนจ้องมองอยู่ เราจะสามารถลงมือทำได้ทันที ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผมตอนที่ผมไปร้านกาแฟ หรือทำงานที่ออฟฟิศ
○ จงรายงานผลแม้ว่าจะไม่มีใครถาม จะช่วยให้เรารู้สึกถูกเป็นที่ยอมรับ
**ระวังคืออย่าป่าวประกาศเรื่องที่ตัวเองไม่น่าทำ เพราะจะส่งผลเสียต่อเรา
.
1
✏ 20 : คิดถึง 'จุดเริ่มต้น'
2
○ ลองคิดดูว่า 'แรกเริ่มเดิมที' คุณทำสิ่งนั้นไปเพื่ออะไร
ค้นหาบ่อเกิดของแรงจูงใจในขณะลงมือทำ ผมเคยเขียนถึงเรื่องของการถามตัวเองว่า "Why" ทำไมเราถึงทำสิ่งนั้น ถ้า "Why" ของเราแข็งแกร่งพอ มันจะช่วยเตือนใจเวลาเราท้อ เมื่อเรานึกย้อนกลับมาดูจุดเริ่มต้นของตัวเอง จะรู้สึกมีแรงผลักดันแบบไม่น่าเชื่อเลยครับ 🙂
.
1
เลิกคิดถึงผลลัพธ์
.
วิธี # 21 —> 30
.
1
📍21 : อย่าเริ่มต้นจากศูนย์
1
ไม่ว่าใครต้องเริ่มต้นจากศูนย์ก็คงรู้สึกยากกันทั้งนั้น ให้รู้จากการใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ในอดีตของตัวเอง/คนอื่น ปรับแก้จากของเก่าไปเรื่อย ๆ
○ คนเราทำงานได้ดีเมื่อมีข้อจำกัด ⭐
.
1
📍22 : เตรียมพร้อมก่อนออกบิน
คนที่ลงมือทำทันที ไ ม่ เ ป็ น มักจะเป็นคนที่เตรียมตัวไม่เป็นด้วย
แนะนำให้ลองเปลี่ยนจาก "ทำเลยดีกว่า" มาเป็น "เตรียมตัวก่อนดีกว่า"
เช่น เขียน E-mail อาจจะเอาอีเมลเก่ามาเขียนแก้
.
1
📍23 : จัดหาอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพเตรียมพร้อม
1
...แม้แต่เรื่องที่คิดว่าไม่น่าจะทำได้ แค่เตรียมทุกอย่างไว้พร้อมตลอดเวลา คุณจะกลายเป็นคนที่ลงมือทำได้ทันที
.
1
📍24 : ไม่ยึดติดกับความสมบูรณ์แบบ
การยึดติดกับความสมบูรณ์แบบจะทำให้คุณไม่สามารถเริ่มลงมือทำได้ เพราะเราจะมัวแต่คิดไม่จบไม่สิ้นสักที ดังนั้นทำให้ดีที่สุด ณ ขณะนั้นก็พอครับ
.
1
📍25 : อย่ากังวลจนเกินเหตุ
...ยกตัวอย่างการตอบอีเมล "ตอนนี้ยังตอบไม่ได้" แต่เดี๋ยวใช้เวลาคิดสักพักน่าจะตอบได้ นั้นเป็นแค่การ "หลอกตัวเอง" เท่านั้น
○ วิธีที่ดีที่สุดคือลงมือทำเสียเดี๋ยวนั้นเลย
ถ้ามีประโยคปฏิเสธของอีเมล ก็สร้างแบบร่างเอาไว้ ปรับแก้จากของเดิมที่มีอยู่แล้ว คุณก็จะทำงานได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากขึ้น
.
1
📍26 : บอกไปตามความจริง
เวลามีคนส่งงานให้มาติชม ควรเขียนความคิดเห็นกว้าง ๆ ที่เป็นแง่บวกกลับไปก่อน หรืออาจจะบอกว่า ยังอ่านไม่ละเอียดเลยยังให้ความเห็นไม่ได้ ควรเขียนความเป็นจริงให้มากที่สุด มาโกหกว่ายุ่งอยู่ไม่ได้ คนเขาดูออก
○ หมั่นแจ้งความคืบหน้าของการทำงานอยู่เสมอ เดี๋ยวคนอื่นจะนึกว่าเราไม่ได้ทำงาน
.
1
📍27 : กำหนดตารางงาน
ขั้นตอนสุดท้ายของการเตรียมพร้อม
○ ลองจับเวลาดูว่าต้องใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ถึงจะทำงานเสร็จ
.
1
📍28 : ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย ⭐
1
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่จะขยับเนื้อขยับตัวทำงานในตอนที่รู้สึกผ่อนคลายครับ
○ ความเครียดหรือความกังวล
เป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่สามารถทำงานได้
.
1
📍29 : อย่าตั้งใจมากเกินไป
1
สมองจะรู้สึกหวั่นและส่งสัญญาณเตือนไม่ให้เราลงมือทำ
วิธีแก้คืออย่าทำอะไรเกินตัว ทำอะไรที่พอเหมาะแทน
"One Small Step Can Chang Your Life" - โรเบิร์ต มอเธอร์
○ คนที่ลงมือทำได้ทันทีคือคนไม่คิดมาก
.
1
📍30 : ระวังเรื่อง "กลับลำ"
1
○ กลับลำ = การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เราตั้งใจ
ต้องหาวิธีป้องกัน เช่น กลับไปกินข้าวที่บ้าน แต่ไปเจออาหารข้างทาง ทำให้ไม่ได้กินข้าวที่บ้านสักที การทำงานก็เช่นกัน ถ้ามีข้อความเข้าหรือเสียงแจ้งเตือนเข้ามา ก็จะกวนการทำงานของเรา
วิธีการป้องกันที่ดีสุดคือ "ไม่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต"
.
1
.
วิธี # 31 —> 40
.
1
📝31 : อย่าเพิ่มเรื่องที่อยากทำ
เพราะเราจะไขว้เขวเพราะว่ามีเรื่องที่ต้องทำมากเกินไป ลองอ่าน "The Power of Less" ของลีโอ บาบัวต้า = ทำน้อยแต่ได้มาก
.
1
📝32 : คัดเลือกให้เหลือเรื่องเดียว
เราควรพาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่บังคับให้เราทำแต่สิ่งที่ต้องทำเท่านั้น เช่น ไปร้านกาแฟโดยไม่ต้องเอามือถือไปด้วย
○ คนเราสามารถทำได้ทีละอย่างเท่านั้นและควรจดจ่อกับเรื่องนั้นให้เต็มที่
.
1
📝33 : ตัดสินใจให้เด็ดขาด
เหตุที่ลงมือทำไม่ได้สักที อาจเป็นเพราะเราไม่ได้ตัดสินใจให้เด็ดขาดเพราะเราคิดว่าอาจจะมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า
เช่น ตัดสินใจจะออมเงิน คุณก็จะเอาแต่คิดอยู่ในใจว่าจะออมเงินดีไหมนะ
.
1
📝34 : จัดโต๊ะทำงานให้โล่ง
นอกจากเยอะ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารต่าง ๆ ทำให้ตัดสินใจไม่ได้ว่าควรทำอะไรก่อน แนะนำให้เก็บโต๊ะให้เรียบร้อย นอกจากนี้ลองลดโฟลเดอร์บนเดสท์ท็อปให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้
.
1
📝35 : ทำให้งานดูง่ายขึ้น
ย่อยงานให้กลายเป็นงานเล็ก ๆ โดยเริ่มทำงานจาก A แล้วไปทำงาน B เสร็จแล้วค่อยทำงาน C [ลดระดับความยากของงานลงมาให้อยู่ในระดับที่สามารถทำได้]
.
1
📝36 : ยืดอกเข้าไว้
1
เขาบอกว่า การหัวเราะจะทำให้คนเรารู้สึกสนุกขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ บางครั้งพฤติกรรมก็สามารถชักจูงสมองได้ เช่น ถ้าง่วงนอน ลองทำหน้าตื่น ๆ เบิกตากว้าง ๆ ก็จะไม่รู้สึกง่วง
1
⭐ เคล็ดลับหนึ่งคือการยืดอก เวลาทำท่านี้เราจะคิดอะไรในแง่ลบได้ยากขึ้นและถ้าเชิดหน้าขึ้นด้วย คุณก็จะไม่อยากคิดเรื่องร้าย ๆ
1
📝37 : ปริมาณงานที่ต้องทำกำลังดี
1
...เหมือนเวลายกดัมเบลล์ ยกเบาเหมือนยกขวดน้ำ คุณอาจจะล้มเลิก หรือ ถ้ายกหนักเกินไป อาจจะรู้สึกว่ามันยากลำบาก
○ วิธีหาปริมาณงานที่กำลังดี
ต้องรู้ได้ว่าปริมาณที่น้อยที่สุดที่รู้สึกแบบว่าทำได้แบบสบาย ๆ คืออะไรให้แบบเวลาทำงานก็รู้สึกโล่งใจ ถ้ามากเกินไปจะไม่อยากทำต่อ น้อยเกินไปก็ไม่มีค่าพอที่จะให้ทำ
.
1
📝38 : ถ้าชอบดองงานเอาไว้ ทำในคราวเดียวกันต้องระวังให้ดี
1
...บางคนชอบสะสมแล้วทำในคราวเดียว พวกดองงาน = คนที่ชอบความท้าทาย เพราะคนพวกนี้ถ้าไฟไม่ลนก้น จะไม่มีแรงจูงใจ อีกอย่างคือ ทำงานเสร็จปังเดียวมันก็ทำให้รู้สึกดีนะ แต่ระวังจะติดเป็นนิสัย
○ ลดดินพอกหางหมู
ต้องมองให้ขาดว่า 'ควร' สะสมงานไว้เท่าไหร่ เช่น ดองงานหนึ่งเดือน —> เปลี่ยนเป็น 1 สัปดาห์
○ ความไม่สม่ำเสมอเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์
และการรักษาพฤติกรรมให้ 'คงที่' ก็ยากเช่นกัน
ดองได้แต่ให้ไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็พอแล้ว⭐
.
1
📝39 : วิธีทำงานโดยไม่อาศัยเส้นตาย
...เส้นตายในหนังสือคือ การให้คนอื่นกำหนดเส้นตาย มันคือการทำตาม "ความคาดหวังคนอื่น" แถมยังพึ่งแต่คนอื่นด้วย
○ ให้คุณกำหนดเส้นตายด้วยตัวเองแล้วทำให้เสร็จตามนั้น ควรทำเป็นประจำด้วย
.
1
📝40 : เลิกหาข้ออ้างในตัวเอง
เช่น "ก็ฉันเป็นแบบนี้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว" หรือ "ต้องรอบิ้วอารมณ์ก่อนแล้วค่อยทำ" ซึ่งระวังจะกลายเป็นการสะกดจิตตัวเองว่าเราเป็นคนแบบนั้นจริง ๆ
○ สร้างความรู้สึก greatful/ความรู้สึกยินดี จะช่วยให้เราลงมือทำทันที
ยินดีเวลาเราได้ลงมือทำ ชมตัวเองก็ได้ ถ้าเราได้ลิ้มรสความรู้สึกดี ๆ เราก็จะลงมือทำเสมอ
.
1
.
วิธี # 41 —> 50
.
1
🖊 41 : รับฟังคำติชม
○ หาผู้สนับสนุน
• ปกติมนุษย์เรารู้สึกดีเวลาได้รับคำติชม
• หาคนสนับสนุนได้เช่น คนในครอบครัว เพื่อน เจ้านาย เพื่อนในแพลตฟอร์มต่าง ๆ
• ทวิตเตอร์ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางให้คุณหาผู้สนับสนุนได้
○ คำติชมแบบซาวด์เอฟเฟกต์
• ในรายการเวลามีการตอบคำถามถูก ก็จะมีเสียงซาวด์เอฟเฟกต์ฟังแล้วรู้สึกดีขึ้น หรือเวลาเล่นเกมซุปเปอร์มาริโอ้ จะมีเสียง "ดึ้ง" ที่ทำให้เล่นหลายรอบไม่เบื่อ
⭐สามารถนำเทคนิคนี้ไปประกอบเวลาที่คุณทำงานหรือทำงานเสร็จ ก็ "เย้ แต่น แตน แต๊น!"
.
1
🖊 42 : เชื่อว่า "ตัวเองเป็นคนที่ลงมือทำทันที"
ถ้าคุณเชื่อว่า "ตัวเองเป็นคนขี้เกียจ" คุณจะกลายเป็นคนแบบนั้น
○ ทำให้คนอื่นคิดว่าเราเป็น "คนที่ชอบลงมือทำทันที" ก็สิ้นเรื่อง
เพราะภาพลักษณ์ของตัวเองจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม
.
2
🖊 43 : ฟังเพลง
การกระตุ้นให้ตื่นตัว ช่วยให้ลงมือทำทันที แต่จะหมดความหมายทันที ถ้าไปทำอย่างอื่นแทนที่จะทำในสิ่งที่ควรทำ
○ เปลี่ยนสภาพแวดล้อม
นอกจากเพลงแล้ว สถานที่เงียบ ๆ ก็ช่วยให้เราทำงานได้เช่นกัน เช่น ร้านกาแฟ หรือ co-working space เป็นต้น
.
1
🖊 44 : จะเชื่อว่า "สนุก"⭐
1
...ในหนังสือเขาพูดถึงนิยาย "The Adventures of Tom Sawyer" ซึ่งเป็นนิยายภาษาอังกฤษเล่มแรกที่ผมอ่าน!! พูดถึงตอนทอมกำลังทาสีแต่ทอมรู้สึกเบื่อ แค่เขาก็ทำท่าทีเหมือนสนุกกับมัน ทำให้คนเห็นแล้วรู้สึกอยากทำ จึงขอทำบ้าง เพราะคนที่มาเห็นจะจินตนาการว่า "การทาสีเป็นเรื่องสนุก"
○ ความคิดและจิตใจส่งผลต่อการทำงาน
แล้วคนที่มาเห็นในเรื่องของทอม จะเรียกอคติที่เกิดขึ้นนี้ว่า ภาพแรกที่เห็น (Anchoring Bias)
.
1
🖊 45 : อย่าใช้เงินเป็นเป้าหมาย
คนเราคิดว่า "อะไรก็ตามที่ต้องจ่ายเงินแลกมาเป็นสิ่งที่มีคุณค่า" ส่วนการใช้เงินล่อ เพื่อให้ยอมทำนั้นแบบไม่มีคุณค่าอะไรเลย
○ มองหา "คุณค่า" ให้กับงานของตัวเอง
การทำงานโดยมีเงินเป็นเป้าหมายไม่ใช่วิธีที่ดีที่ช่วยให้เราลงมือทำทันทีได้
.
🖊 46 : ป้องกันความเสียหายที่ร้ายแรงที่สุด
ส า เ ห ตุ : "ตั้งความหวังสูง"/"กลัวล้มเหลว" ทำให้เราทิ้งงานกลางคัน
วิ ธี แ ก้ ไ ข ปั ญ ห า : หาว่าความเสียหายที่ร้ายแรงที่สุดคืออะไร และบอกวิธีรับมือ = เราจะชนะความกลัวได้ เช่น ความเสียหายร้ายแรงที่สุดคือ การปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดนเปล่าประโยชน์ ยิ่งปล่อยเวลาผ่านไปโดยงานไม่คืบหน้า เวลาพักผ่อนคุณก็จะน้อยตาม
ค ว ร : ประเมินว่างานแต่ละชิ้นต้องใช้เวลาเท่าไหร่ ย่อยงานให้สามารถทำเสร็จได้ในวันเดียว
○ เขียนเหตุผลหลักที่ทำให้ลงมือทำไม่ได้
บางครั้งคุณจะพบว่าสิ่งที่ทำไม่ได้เป็นแค่ "เรื่องขี้ปะติ๋ว"
.
1
🖊 47 : พูดคุยเรื่องงานบ่อย ๆ
...เราหลีกเลี่ยงงานซ่ำ ๆ ซาก ๆ น่าเบื่อไม่ได้หรอก แต่ถ้าลองหยิบเรื่องนั้นมาพูด พอมีคนรับรู้ เราจะมีแรงจูงใจกับเรื่องนั้นอัตโนมัติ
○ พยายามชักชวนให้คนอื่นเข้ามามีส่วนร่วม
เช่น ให้ feedback วางลำดับเนื้อหาต่าง ๆ
.
1
🖊 48 : ค้นหาสาเหตุที่ทำให้ "ผัดวันประกันพรุ่ง"
➀ เลือกไม่ถูก
เรามีเรื่องให้ทำเยอะแยะไปหมด แต่จำไว้นะว่า คนเราสามารถทำได้ทีละเรื่องเท่านั้น
⭐คุณควรเริ่มด้วยการเลือกเรื่องที่จะทำมาแค่เรื่องเดียว
➁ ตัดสินใจไม่เด็ดขาด
มีความลังเลว่าเรา "อยากทำเรื่องนั้น ๆ หรือเปล่า" เช่นการออกกำลัง แต่ไม่ทำสักที
⭐ทุกครั้งที่จะผัดวันให้ถามตัวเองว่า "ได้เลือกสิ่งที่จะทำเป็นอย่างดีแล้วหรือไม่" และ "ตัดสินใจได้เด็ดขาดแล้วหรือเปล่า"
➂ ไม่ได้เตรียมตัว
ทั้งที่ตัดสินใจอย่างดีแล้วแต่ลงมือทำไม่ได้ สาเหตุอาจเป็น คุณไม่ได้เตรียมตัว
⭐เตรียมสิ่งของให้พร้อมก่อนทำงานจะช่วยให้เราลงมือทำทันที
➃ ลงมือทำไม่ได้
ทำตามข้อ 1-3 แค่ลงมือทำไม่ได้ แนะนำให้ลองทำตามวิธีอื่น ๆ ในเขียนในนี้ได้เลย
.
1
🖊 49 : รู้จักประเมินเวลา
เช่น งานนี้น่าจะเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง หรือ ใช้เวลาเพียงแค่ 3 นาทีก็พอ
○ ถ้าไม่ประเมินเวลาที่ต้องใช้ ก็เหมือนกับการคลำทางท่ามกลางหมอกอันหนาทึบ
○ ลองทำดูก่อนแล้วค่อยประเมินเวลาที่ต้องใช้
ยิ่งเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อนก็ยิ่งประเมินยากเข้าไปใหญ่
⭐แต่ "ลองดูสักนิดก่อน"นะ
.
1
🖊 50 : สร้างเงื่อนไขเฉพาะตัว
จะสร้างเงื่อนไข "สร้างความรู้สึกยินดีเมื่อทำเสร็จแล้ว" เราก็จะเปลี่ยนเป็นคนที่ชอบลงมือทำจริง ๆ
.
2
.
วิธี # 51 —> 55
.
📌 51 : จดบันทึกเรื่องที่ผัดผ่อนออกไป
ยอมรับเถอะ การผัดวันประกันพรุ่ง = ความล้มเหลว
วิธีแก้ปัญหาคือ "เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด" แนะนำให้เราจดบันทึกความล้มเหลว
○ ทุกครั้งที่ผัดวันประกันพรุ่งก็จง "จดบันทึก"
เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เพราะเรามักผัดวันประกันพรุ่งโดยไม่รู้ตัว การจดบันทึกจะช่วยให้เราตระหนักว่าได้ทำผิดพลาดอะไรบ้าง
.
1
📌 52 : หยุดพักชั่วคราว
1
เพราะงานอาจง่ายไปจนเราพัด ลองทำอะไรคล้ายกันดู
.
1
📌 53 : อย่าลังเลเมื่อเห็นรายการสิ่งที่ต้องทำ
1
○ อย่าเสียเวลาไปกับการคิดว่าจะทำดีไหมหรือจะทำอย่างไรดี
สู้คุณเลิกคิดแล้วหันไปทยอยจัดการงานทีหลังอย่างตามลำดับจะดีกว่า
.
1
📌 54 : ใช้โปรแกรมเอ็กซ์เซลมาเป็นตัวช่วย
ง่าย ๆ คือใช้โปรแกรมหรืออะไรก็ได้มาบันทึกว่า [เวลาอ่านหนังสือ] = [อ่านได้กี่หน้า]
เช่น 34 นาที อ่านได้ 44 หน้า ดังนั้น 1 ชั่วโมงจะอ่านได้ 82 หน้า
ถ้าหนังสือ 400 หน้า หากมีเวลาอ่านวันละ 1 ชั่วโมงก็จะอ่านจบภายใน 5 วัน
.
1
📌 55 : หา "พื้นที่ส่วนตัว"
ที่ทำงานกดดันเกินไปจนไม่เป็นอันทำงาน แต่ถ้าผ่อนคลายเสียจนเอาแต่นอนกลิ่งไปมาที่บ้านก็คงไม่ได้เหมือนกัน
ดังนั้นต้องหาจุดสมดุลให้เจอนั้นเอง เช่น ไปร้านกาแฟเงียบ ๆ สักแห่ง
1
อ่านเสร็จแล้วก็ถึงเวลาของ action
ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดี
ขอบคุณครับ
1
โฆษณา