31 ม.ค. 2021 เวลา 04:55 • สิ่งแวดล้อม
คุณเคยสงสัยไหมว่า"เมฆ"เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ?
กระบวนการเกิดเมฆนั้นอธิบายได้จากกระบวนการที่เรียกว่า"วัฏจักรของน้ำ"น้ำเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลก สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นได้ทั้ง ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ สับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปมาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
"วัฏจักรของน้ำ"เกิดขึ้นเมื่อน้ำบนพื้นผิวโลกระเหยเป็นไอลอยขึ้นสู่อากาศ กระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเล็กๆ และกลายเป็นก้อนเมฆในที่สุด จากนั้นก้อนเมฆก็จะกลั่นตัวลงมาเป็นหยดน้ำ,หิมะ หรือลูกเห็บ สู่พื้นโลกอีกครั้ง กลายเป็นวัฏจักรของน้ำที่หล่อเลี้ยงทุกสรรพชีวิตตั้งแต่อดีตจนมาถึงปัจจุบัน
เมฆสามารถแบ่งออกเป็น 10 สกุลโดยแบ่งจากรูปร่างและความสูงที่เกิด โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ เมฆชั้นล่าง เมฆชั้นกลาง และเมฆชั้นสูง ดังนี้
เมฆชั้นล่าง
1.สเตรตัส (Stratus) เมฆที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ลอยแนวนอนคล้ายหมอก แต่ไม่ติดพื้น
2.คิวมูลัส (Cumulas) มีลักษณะเป็นก้อนเดี่ยว ก่อตัวในแนวตั้ง อาจมีขนาดเล็ก หรือมียอดเมฆสูงถึงชั้นกลาง
3.สเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulas) เป็นก้อนเมฆย่อยสีเทาหรือขาว มักอยู่ติดกะนเป็นแพ พบได้ในวันที่มีเมฆมาก เมฆชนิดนี้ก่อตัวขึ้นเนื่องจากในชั้นบรรยากาศมีการพาความร้อนต่ำ
เมฆชั้นกลาง
1.แอลโตคิวมูลัส (Altocumulas) เมฆกเอนสีเทาหรือขาว เมื่ออยู่รวมกันคล้ายฝูงแกะ ลอนคลื่นติดกันเป็นแผ่นหนา
2.นิวโบสเตรตัส (Nimbostratus) ลักษณะเป็นแผ่นสีเทา ตัวเมฆอยู่ชั้นกลางแต่ฐานอยู่ชั้นล่างทำให้เกิดฝนตกต่อเนื่อง
3.แอลโตสเตรตัส (Altostratus) มีลักษณะเป็นแผ่นหนา และปกคลุมท้องฟ้าเปฌนบริเวณกว้าง
ปกติจะมีสีเทาเพราะบดบังแสงจากดวงอาทิตย์
เมฆชั้นสูง
1.ซีร์โรคิวมูลัส (Cirrocumulas) เป็นเมฆสีขาว จับตัวเป็นก้อน คล้ายลักษณะลองคลื่น หรือบางครั้งเป็นริ้ว
2.ซีร์โรสเตรตัส (Cirrostratus) เป็นเมฆแผ่นสีขาวปกคลุมท้องฟ้า ทำให้เกิดดวงอาทิตย์ทรงกลด
3.ซีร์รัส (Cirrus) มีลักษณะเป็นปุยสีขาวหรือเส้นคล้ายขนนก
4.คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus) ก้อนเมฆขนาดใหญ่มาก มาพร้อมกับพายุฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า และสภาพอากาศรุนแรง
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
โฆษณา