31 ม.ค. 2021 เวลา 07:04 • หุ้น & เศรษฐกิจ
⚠️[ANALYSIS]⚠️ ปรากฏการณ์ GameStop กับ วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 นั้นมีหลายสิ่งที่คล้ายกันมากๆ นักลงทุนท่านใดที่กำลังกังวลกับฟองสบู่ตลาดหุ้นตอนนี้ ควรทำความใจกับต้นเหตุของวิกฤตในปี 2008 ก่อน
1️⃣ วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 กับเหตุการณ์ GameStop ในตอนนี้ ไม่ได้คล้ายกันเพียงเพราะว่า Michael Burry เป็นคนมองเห็นสถานการณ์ในการเก็งกำไรและเป็นคนจุดชนวนให้มันระเบิดขึ้นมาเพียงอย่างเดียว
แต่ก็ต้องยอมรับว่า Burry นั้นมองได้ขาดจริงๆ 👍
2️⃣ แต่ที่เหตุการณ์ทั้ง 2 คล้ายกันมากก็เพราะว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดนี้ #เกิดจากการใช้เครื่องมืออนุพันธ์ทางการเงินมากเกินไป จึงก่อให้เกิดผลกระทบลูกโซ่แบบคาดไม่ถึง
3️⃣ การใช้เครื่องมืออนุพันธุ์ทางการเงินซึ่งสามารถทำให้เรา Leverage หรือลงทุนได้มากกว่าเงินที่เรามีอยู่แบบไม่ระวังนั้น อาจทำให้คนหลายคนเจ็บตัวได้และเจ็บแบบหนักมากกว่าที่คิดไว้หลายเท่าด้วย
4️⃣ เมื่อปี 2008 นั้น ตลาด Wall Street ได้ทำการ Leverage ตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐ โดยการออกตราสารทางการเงินที่เรียกว่า Mortgage-Backed Security (MBS) , Collateralized Debt Obligation (CDO) และ Synthetic CDO ซึ่งตราสารทั้ง 3 อย่างนี้สามารถทำให้ผู้คนเข้ามาเก็งกำไรในตลาดอสังหาได้กว้างขวางมากขึ้น (ผมได้อธิบายตราสารทั้งหมดไว้ด้านล่าง อย่างนะเอียดแล้วนะครับ)
5️⃣ ผมขอยกตัวอย่างการ Leverage ง่ายๆในครั้งนั้นคือ
สมมุติว่าบ้าน 1 หลังนั้นใช่วงเงินกู้อยู่ประมาณ 10 ล้านบาท แปลว่าหากเกิดอะไรขึ้นหนี้เสียก็ไม่ควรจะมากไปกว่า 10 ล้านบาทที่วางให้กู้ตอนแรก แต่เนื่องจากตราสารอนุพันธ์ที่กล่าวมาด้านบนทำให้คนสามารถเก็งกำไรหรือเดิมพันบนเงินกู้นี้กันได้หลายๆต่อเพิ่มขึ้น เช่นผมอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับบ้านหลังนั้นเลย แต่ผมกลับเดิมพันได้ว่าเจ้าของบ้านจะผิดชำระหนี้หรือไม่ และการเดิมพันของผมก็กำลังทำให้ #มีหนี้ต้องรับจ่ายกันมากขึ้น จากผลของการผิดชำระหนี้ของบ้านหลังนั้น
3
ทำให้หากบ้านหลังนี้เกิดผิดชำระหนี้ขึ้นมา ภาระหนี้ที่นำไปเดิมพันต่อๆกันอาจทำให้เกิดหนี้เสียเกิน 10 ล้านบาทได้หลายเท่า
และนี่ก็คือเหตุผลหลังว่าทำไมวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2008 ถึงมีหนี้เสียเยอะแยะมหาศาลมาก
6️⃣ แต่หลังจากนั้นมาการใช้เครื่องมืออนุพันธุ์ทางการเงินที่ซับซ้อนก็ถูกเริ่มควบคุมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกับกลุ่มประชาชนคนที่อาจไม่เข้าใจในตราสารอนุพันธุ์เหล่านั้นอย่างลึกซึ่ง แต่ปัญหาคือ เหล่ากองทุน Wall Street ยังสามารถใช้ตราสารเหล่านี้ได้อย่างค่อนข้างไม่โดนจำกัดมาก
7️⃣ ทำให้ในเหตุการณ์ GameStop นี้ทางเหล่ากองทุน Wall Street จึงสามารถ Leverge ได้สูงมากจนพวกเขากำลังทำการ Short หุ้นได้มากกว่ามูลค่าของบริษัทถึง 138% !
1
8️⃣ หรือพูดง่ายๆว่าด้วยจำนวนหุ้นของ GameStop ที่มี 70 ล้านหุ้น แต่ด้วยเครื่องมืออนุพันธ์ที่ Wall Street ใช้เช่นการซื้อ Put options หรือการ Short CFD (สัญญาที่สร้างมาให้เสมือนกับยืมหุ้นได้) ทำให้เหล่ากองทุนกำลังมีมูลค่าการ Short เทียบเท่ากับเกือบ 100 ล้านหุ้น !
มันเป็นไปได้ยังไงที่กองทุนสามารถขายหุ้นบริษัทได้มากกว่าจะนวนหุ้นบริษัทที่มีจริงๆเสียอีก ? แต่มันก็เป็นไปได้แล้วด้วยเครื่องมืออนุพันธ์การเงินเหล่านี้
1
9️⃣ สุดท้ายแล้วนี่จึงเป็นช่องให้นักลงทุนรายย่อยใน GameStop เข้ามาโจมตีฝั่งกองทุน Wall Street ได้ โดยการพยายามรวมกันซื้อหุ้นดันให้ทางกองทุน Wall Street ต้องตัดขาดทุนปิด Short Position เหล่านั้นออกไป หรือที่เรียกว่า ShortSqeeze ได้สำเร็จ
4
และจริงๆแล้วฝั่งรายย่อยาก็กำลังใช้สัญญาทางการเงินที่สามารถ Leverage ได้อย่างไม่ซับซ้อนด้วยนั้นเอง ทำให้พลังซื้อของพวกเขาเพิ่มทวีคูณขึ้น
🔟 หรือพูดง่ายๆในศึก GameStop ครั้งนี้ทางกองทุน Wall Street กำลังพ่ายแพ้ด้วยเครื่องมือที่พวกเขาเคยคิดค้นและชำนาญกว่ามาก่อนในอดีตนั้นเอง #หรือเจอยาพิษของตัวเองเข้าไป
1
📌 วันนี้แอดอยากมาสรุปความรู้จากหนังเรื่อง "The Big Short" ที่ทำให้ Michael Burry โด่งดังขึ่นมาให้ทุกท่านอ่านกัน
1
วันนี้หากใครยังไม่เคยดูภาพยนตร์เรื่อง "The Big Short" ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมชอบมากที่สุดเรื่องนึง ผมขอชวนให้ลองเปิดเข้าไปดูใน Netflix ก่อนที่ผมจะ Spoil เรื่องทั้งหมดเลยครับ 😅 เรื่องนี้นำแสดงโดยดาราดังมากมายอย่าง Brad Pitt , Christian Bale, Steve Carell และ Ryan Gosling (แค่ชื่อดาราก็รับประกันแล้วว่าหนังนี้จะต้องสนุกแน่ๆ)
ส่วนคนที่ดูแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจถึงรายละเอียดเพราะเป็นหนังที่มีเครื่องมือตราสารทางการเงินที่ซับซ้อนอาจจะเข้าใจยาก อยากจะมาสรุปเรื่องราวและบทเรียนอีกครั้งกับเรา ก็เชิญอ่านบทความนี้ต่อไปได้เลยครับ
1
📌 #สรุปหนังและความรู้จาก "The Big Short"
หนังเรื่องนี้นั้นทำมาจากเรื่องจริง เพราะฉะนั้นทุกๆตัวละครนั้นเป็นคนจริงๆทั้งสิ้น โดยเริ่มต้นเหตุการณ์ตั้งแต่ในปี 2005 เมื่อมีผู้จัดการกองทุนเก็งกำไร (Hedge Fund) ชื่อ ไมเคิล เบอร์รี่ (Michael Burry) รับบทโดย Christian Bale ได้ค้นพบว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐนั้นกำลังมีปัญหาใหญ่เพราะสถาบันการเงินเริ่มเกิดการปล่อยให้คนผู้มีเครดิทต่ำมาก รายได้ไม่ดี มีความสารถในการจ่ายหนี้คืนน้อยเริ่มเข้ามากู้ยืมเรื่อยๆ ซึ่งการกู้ยืมในช่วงแรกๆนั้นยังไม่เกิดปัญหาขึ้นเพราะคนเหล่านี้นำไปซื้อบ้านเก็งกำไร และด้วยราคาบ้านที่สูงขึ้นจากแรงซื้อเหล่านี้ก็ยังคงทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีกำไรนำกลับมาจ่ายหนี้ และสิ่งที่น่ากลัวคือบ้านเหล่านี้ที่กำลังสร้างขึ้นนั้นไม่ได้มีคนอยู่จริงหรือไม่ได้มาจากความต้องการซื้อจากผู้อยู่อาศัยจริงๆ มันเป็นเพียงฟองสบู่ที่กำลังก่อขึ้นเรื่อยๆและใหญ่ขึ้นมากๆ
1
ทาง ไมเคิล เบอร์รี่ พอได้ค้นพอข้อมูลเหล่านี้แล้วเขาจึงทำการโทรหาสถาบันการเงินต่างๆเพื่อพยายามเข้าซื้อตราสารประกันอนุพันธ์ที่ชื่อว่า Credit Default Swaps (CDS) โดยการซื้อ CDS นี้นั้นหมายความง่ายๆว่าเบอร์รี่กำลังพนันว่าตลาดอสังหาฯกำลังจะราคาตกลง เพราะถ้าราคาลงเขาก็จะได้เงินคืนชดเชยจากประกันเหล่านี้ และก็รับเป็นกำไรจากการเก็งกำไรไป (โดยที่ไม่ได้ถือบ้านอยู่จริงๆนะครับ แค่ทำประกันทางอนุพันธ์)
1
พอสถาบันการเงินต่างๆได้ยินเช่นนั้นก็ต่างหัวเราะดีใจไปกันใหญ่เพราะว่าในช่วงนั้นราคาบ้านในสหรัฐนั้นขึ้นทุกๆปี เป็นเช่นนั้นมาตลอดไม่เคยเปลี่ยน การที่ใครจะเข้ามาทำประกันราคาขาลงแบบนี้ทางสถาบันจึงยิ่งชอบเลย และด้วยอนุพันธ์ CDS เป็นเสมือนการทำการประกันนั้น ทางเบอร์รี่จึงต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันไปเรื่อยๆในแต่ละปี และพอผ่านไปในสองปีแรกนั้นตลาดราคาบ้านก็ยังขึ้นอยู่เรื่อยๆ ! (ตามที่ทุกคนคาด) ทำให้ลูกค้ากองทุนของเบอร์รี่นั้นเขามารุมด่าซะเละเลย ว่าทำแบบนี้ได้ยังไง นักวิเคราะห์ต่างๆยังออกมาบอกว่าตลาดอสังหาฯยังคงแข็งแรงทำไมคุณถึงกล้าเข้าไปแทงสวนอย่างไม่มีข้อมูล ทางลูกค้าก็ได้แห่ถอนเงินออกไปเรื่อยๆ จนทางเบอร์รี่ ต้องทำการระงับการถอนเงินชั่วคราวไปก่อน (อันนี้คล้ายๆกับเหตุการณ์ของกองทุนตราสารหนี้ TMB ที่เกิดขึ้นในบ้านเราเลยในอาทิตย์ก่อนที่ต้องปิดการถอนเงินออก)
3
📌 ต้องขออธิบายคำทางการเงินที่เรียกว่า Short กันซักนิด
คำว่า Long กับ Short คือการเก็งกับไรจากสัญญาอนุพันธ์ต่างๆ ถ้าจำง่ายๆคือ
Long = การเปิดสัญญาซื้อ
Short = การเปิดสัญญาการขาย
แต่ถ้าอยากได้วิธีช่วยจำอย่างเข้าใจให้เห็นภาพ ให้นึกภาพว่าถ้าเรา Long อะไรก็คือเราอยากให้สิ่งนั้นยาวขึ้นหรือมูลค่าเพิ่มขึ้น ก็คือการซื้อ ถ้าเรา Short อะไรก็คือเราอยากให้สิ่งนั้นสั้นลงหรือมูลค่าลดลง ก็คือการขาย
1
ทิศทางที่เบอร์รี่กำลังพนันอยู่นั้นก็คือ การ Short ตลาดอสังหาฯเพราะคาดว่าราคาสินทรัพย์นั้นจะลง ถ้าราคาตลาดอสังหาฯ ลงมาจริงๆ เขาก็จะได้กำไรจากการขายแพงแล้วค่อยกลับเข้ามาปิดสัญญาซื้อถูกๆกลับไป คืนที่ยืมมา นักลงทุนที่ทำแบบนี้คือคนที่เดาว่าราคาสินทรัพย์นั้นจะลง
📌 ต่อมาในหนังทางด้าน จาเร็ด เวนเน็ตต์ (Jared Vennett) รับบทโดยสุดหล่อ Ryan Gosling เป็นหัวหน้าทีมขาย สินเชื่อจาก Deutsche Bank ที่บังเอิญได้ข่าวเรื่องการเข้าซื้อ CDS กว่า 1,300 ล้านเหรียญของไมเคิล เบอร์รี่ ก็เลยเริ่มอยากหาข้อมูลมาทำเป็นสินเชื่อเสนอให้เหล่าผู้จัดการกองทุนอื่นๆเข้าซื้อ CDS อย่างเบอร์รี่ด้วยเพื่อหวังที่จะได้ Comssion
1
และด้วยบังเอิญทางลูกทีมดันโทรศัพท์ผิดไปหากลุ่มของ มาร์ค บาม (Mark Baum) ผู้จัดการกองทุนเก็งกำไร Hedge Fund อีกแห่งหนึ่ง ที่รับบทโดย Steve Carell ทำให้ทางทาง มาร์ค บาม นั้นได้สะดุดตากับข่าวการเข้าซื้อ CDS ของไมเคิล เบอร์รี่ เป็นจำนวนมากด้วยเหมือนกัน จึงได้สั่งให้ลูกทีมของตัวเองออกสำรวจตลาดอสังหาฯในสหรัฐ ซึ่งก็ได้พบความจริงว่ามีแต่บ้านที่ว่างเปล่าและราคาที่สูงลิบเกินจริง ทางมาร์คจึงเชื่อว่านี่กำลังเป็นฟองสบู่อันใหญ่ที่จะนำมาซึ่งวิกฤตการเงินในสหรัฐเร็วๆนี้ จึงได้ทำการ Short ตลาดกับอสังหาฯกับ จาเร็ด เวนเน็ตต์ไปด้วยเช่นกัน
อีกตัวละครหลักของเรื่องก็คือ เบน ริกเคิร์ต (Ben Rickert) อดีตนักการเงินผู้ที่ได้วางมือจากตลาดไปแล้ว ที่รับบทโดย Brad Pitt ทางเบนนั้นได้รับข่าวจาก นักการเงินรุ่นใหม่อย่าง ชาร์ลี เกลเลอร์ (Charlie Geller) กับ เจมี่ ชิปลีย์ (Jamie Shipley) ที่ได้ไปพบเอกสารของ จาเร็ด เวนเน็ตต์ ที่ทำตกไว้ Lobby ของตึกธนาคารแห่งหนึ่งใน Wall Street เอกสารนั้นคือการนำเสนอเรื่องการ Short ตลาดกับอสังหาฯอย่างที่ได้กล่าวไป ซึ่งทั้งสองนั้นให้ความสนใจและเชื่อว่าน่าจะเป็นโอกาสในการเก็งกำไรที่ดี แต่เพราะทั้งสองยังทุนไม่หนาพอที่จะเข้าซื้อ CDS โดยตรงกับสถาบันการเงินใหญ่ๆได้ จึงได้คอยปรึกษากับทาง เบน ริกเคิร์ต อยู่เรื่อยๆ (ปล ผมจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับทางกลุ่มนี้ตอนจบไว้จะไปดูใหม่อีกรอบ 😅)
2
📌 เรื่องราวหลักๆนั้นมีประมาณนี้ ไม่ได้ spoil และเข้ารายละเอียดต่างๆ แต่สิ่งที่อยากจะมาอธิบายให้เข้าใจนั้นคือสิ่งที่ทำให้ปัญหานี้เป็นปัญหาการเงินใหญ่ระดับโลกนั้นเพราะ เครื่องมือทางการเงินใหม่ๆต่างๆที่นักลงทุนอาจยังไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้
2
1️⃣ ตราสารทางการเงินที่ต้องเข้าใจคือ Mortgage-Backed Security (MBS)
1
ตราสารทางการเงินนี้ เป็นหลักทรัพย์ที่ได้ผลตอบแทนจากกระแสเงินสดจากสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐ โดยถ้าผู้กู้สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ต่างๆเหล่านี้ยังมีการชำระหนี้เข้ามาอยู่ ผู้ลงทุนในหลักทรัพย์นี้ก็ย่มจะได้ผลตอบแทนไปเรื่อยๆ แต่เราก็ต่างรู้กันว่าผู้กู้สินเชื่อในสหรัฐนั้นไม่สามารถจ่ายเงินค่ากู้ได้เมื่อฟองสบู่แตกทำให้ นักลงทุนและสถาบันการเงินต่างๆนั้นสูญเสียเงินไปจำนวนมากกับตราสารทางการเงิน MBS นี้ เป็นจุดเริ่มต้นของ Subprime Crisis เลยทีเดียว
2️⃣ อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่ชื่อว่า Collateralized Debt Obligation (CDO) ก็ทำให้เกิดวิกฤตที่รุนแรงขึ้นเช่นกัน
1
ด้วยการที่นักการเงินสหรัฐนั้นหัวแหลม การที่จะขาย MBS ออกไปเดี่ยวๆนั้นอาจไม่มีคนอยากซื้อมากเพราะความเสี่ยงนั้นสูงกว่าพันธบัตรรัฐบาลหรือ หุ้นกู้ นักการเงินสหรัฐจึงได้ทำการรวมพันธบัตร หุ้นกู้ และ MBS ต่างๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกัน แล้วห่อออกมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงินชื่อว่า CDO แล้วออกมาขายนักลงทุน ด้วยความที่ทางพันธบัตรนั้นมีความเสี่ยงต่ำ ทางบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถืออย่าง Fitch, Moody's หรือ S&P จึงให้ความน่าเชื่อถือสูงถึง AAA (ระดับสูงสุด) ซึ่งจริงๆแล้วในใส้ในของ CDO นั้นอาจประกอบไปด้วยสินเชื่อกลุ่ม Subprime กว่า 65% เลยทีเดียว ซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่าความน่าเชื่อถือที่ AAA บริษัทบจัดอันดับความน่าเชื่อถือต่างๆจึงโดนฟ้องไปตามๆกันหลังเหตุการณ์วิกฤตในครั้งนี้
2
3️⃣ อีกเครื่องมือที่เร่งทำให้วิกฤตนี้รุนแรงคือ Synthetic CDO
Synthetic แปลว่าการสังเคราะห์ เพราะฉะนั้น Synthetic CDO จึงหมายถึงการจำลองตราสารทางการเงิน CDO นี้มาให้ผู้เล่นอื่นๆนอกจากสถาบันนั้นสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยทาง CDO จริงๆนั้นยังประกอบไปด้วยสินเชื่อต่างๆอย่าง พันธบัตร หุ้นกู้ และ MBS ที่คุณถืออยู่จริง แต่ Synthetic CDO นั้นเป็นแค่ตราสารที่จำลองขึ้นมาและผู้ซื้อขายจะได้รับเงินส่วนต่างจากราคาขาที่ขึ้นลงของ CDO
หรือพูดง่ายๆว่าเป็นเครื่องมือที่ทำให้สามารถพนันซ้อนพนันบน CDO ไปได้เรื่อยๆนี่เอง โดยฉากนึงในหนังนี้ได้อธิบายไว้แล้วอย่างชัดเจนดีว่า สมมุติว่าถ้าตลาดสินเชื่อบ้านในสหรัฐทั้งหมดนั้นมีขนาด 10 ล้านล้านเหรียญ ต่อให้ขั้นแย่ที่สุดหนี้ที่มากที่สุดของตลาดนี้ก็น่าจะมีมูลค่า 10 ล้านล้านเหรียญ ต่อให้สูญเสียไปจริงๆก็ไม่ควรมีมูลค่ามากกว่านั้น แต่เนื่องจาก Synthetic CDO ปล่อยให้คนมาพนันกันโดยไม่ต้องมีสินเชื่ออยู่จริงๆ ทำให้วงเงินนั้นเพิ่มมากขึ้นเกิดมูลค่า 10 ล้านล้านเหรียญไปหลายเท่า ! แล้วพอตลาดล้มลงมากความเสียหายจากหนี้ที่เสียจึงมากกว่าหลายเท่า !
1
📌 และแล้วในปี 2008 ตลาดบ้านในสหรัฐก็ได้พังลงจริงๆ เกิดความเสียหายจากภาระหนี้ที่ไม่สามารถคืนเงินกันได้ยกใหญ่ เป็นลูกโซ่ที่พัวพันกันไปหมด คนที่กู้เงินมาเก็งกำไรบ้านก็จ่ายเงินคืนธนาคารไม่ได้ คนที่ลงทุนในตราสารการเงินสินเชื่อทั้งหมดก็ขาดทุน สถาบันการเงินเกิดหนี้เสียมากมาย ธนาคารใหญ่ๆที่ลงทุนในตราสารพวกนี้ก็เกิดจะล้มละลาย กลายเป็นวิกฤตที่ใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีในช่วงนั้น
1
สุดท้ายนี้คนที่ทำ Short ครั้งใหญ่ตามไมเคิล เบอร์รี่ ไปนั้นก็จะได้รับผลตอบแทนครั้งใหญ่ ได้รับผลตอบแทนกว่า 500% หลังจากที่ตลาดพังลง แต่คำถามที่หนังเรื่องนี้พยายามแฟงมาให้ดูนั้นคือ ถ้าคุณเป็นคนที่เห็นถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่มีลางกำลังจะพินาศ คุณจะพยายามทำกำไรจากมันเงียบๆ หรือคุณจะพยายามออกมาเตือนคนในตลาดให้ทราบถึงมัน ?
4
📊 ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น แต่เรื่องราวและปรากฏการณ์ของ GameStop นั้นยังมีเบื้องลึกเบื้องหลังอีกมากมายให้มาถกกัน มันเป็น #การประท้วงระบบตลาดทุน ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตั้งแต่เราเคยเห็นมา เป็น Wall Street Hunger Game อย่างแท้จริง
ครับ
1
🙏 ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามเพจของเรานะครับ ฝากกด Like และ Share ให้แอดด้วยหากข้อมูลนี้มีประโยชน์ ขอบคุณมากครับ 😊
#ทันโลกกับTraderKP
โฆษณา