31 ม.ค. 2021 เวลา 12:38 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ยานเทียนเหวิน-1 เตรียมไปสำรวจดาวอังคาร
เรื่องราวของดาวอังคารยังคงเป็นเรื่องคลาสสิคที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะว่าดาวอังคารในตอนนี้ยังคงเป็นดาวอันดับหนึ่งที่นักดาราศาสตร์ของโลกยกให้เป็นสถานที่ที่จะไปสร้างอาณานิคมแห่งใหม่ เพื่อขยายเผ่าพันธุ์ไปยังดาวดวงอื่นนอกจากโลกของเรา ดังนั้นการที่ดาวอังคารกำลังเป็นที่หมายปองของมนุษย์โลกของเราแบบนี้ย่อมมีสถาบันต่างๆด้านอวกาศต่างสร้างยานอวกาศหรือเทคโนโลยีที่จะไปสำรวจถึงความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะไปอาศัยอยู่บนดาวอังคาร
ซึ่งล่าสุด “จีน” ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่กำลังพัฒนายานอวกาศให้ขึ้นไปสำรวจดาวอังคารเช่นเดียวกัน นั่นก็คือยานเทียนเหวิน-1 และในวันนี้พวกเรา eduHUB จะพาเพื่อนๆไปทำความรู้จักกับยานลำนี้กัน แต่ก่อนจะไปรับชมอย่าลืมกด Like กด Share และกดแจ้งเตือนด้วยนะคะ
ในปี 2563 นี้เองมีข่าวว่าประเทศจีนกำลังจะเปิดตัวยานอวกาศที่จะใช้ขึ้นไปทำภารกิจในการสำรวจดาวอังคารนั่นก็คือยาน เทียนเหวิน-1 ซึ่งยานเทียนเหวิน-1 นี้เองจะเตรียมทะยานขึ้นสู่ฟากฟ้าเพื่อเดินทางไปยังดาวอังคารในช่วงครึ่งปีหลังนี้ ซึ่งจะเดินทางโดยจรวด ลองมาร์ช-5 “Y4” ออกจากศูนย์อวกาศเหวินฉาง มณฑลไหหนานทางตอนใต้ของจีน ที่จะนำพายานเทียนเหวิน-1 ขึ้นไปทำภารกิจให้สำเร็จ ซึ่งคาดว่าจะเดินทางถึงดาวอังคารในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2564
ซึ่งในครั้งนี้ ยานเทียนเหวิน-1 จะเดินทางไปดาวอังคารเพื่อทำภารกิจ จำนวน 3 ภารกิจด้วยกัน ดังนี้ ภารกิจเเรกคือการเข้าสู่วงโคจรของดาวอังคาร และลงจอดที่พื้นผิวของดาวอังคาร เมื่อยานเทียนเหวิน-1 ลจอดบนพื้นผิวบนดาวอังคารเป็นที่เรียบร้อย ยานเทียนเหวิน-1จะปล่อยยานสำรวจที่เป็นเหมือนรถโรเวอร์ออกมาเพื่อทำการสำรวจพื้นผิวของดาวอังคารต่อ ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการสำรวจถึง 3 เดือนด้วยกัน แต่เป็น 3 เดือนบนดาวอังคารก็เท่ากับประมาณ 92 วันของโลก เมื่อยานสำรวจเดินทางสำรวจ ซึ่งจะสำรวจโครงสร้างทางภูมิศาสตร์และสภาพอากาศของดาวอังคาร และเมื่อพบข้อมูลที่ต้องการ ยานสำรวจนี้จะส่งสัญญาณข้อมูลมายังโลกเพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์
ตัวยานเทียนเหวิน-1 และยานสำรวจพื้นผิวที่อยู่ในยานเทียนเหวิน-1 ที่มีน้ำหนักรวมกันประมาณ 1.3 ตัน เมื่อมันเดินทางเพื่อที่จะลงจอดบนดาวอังคารแล้ว กลไกในการลงจอดของมันคือการปล่อยยานสำรวจลงไปยังพื้นผิวดาวอังคารด้วยร่มชูชีพ ซึ่งยานสำรวจนี้เองมีความสูงประมาณ 1.85 เมตร น้ำหนักประมาณ 240 กิโลกรัม จะลงจอดและเดินทางเก็บข้อมูลต่างๆที่จะสามารถบ่งบอกได้ถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร
ภายในยานสำรวจลำนี้จะมีการติดตั้งอุปกรณ์เทคโนโลยีที่หลากหลายเพื่อใช้ในการสำรวจ อาทิเช่น กล้องทางธรณีวิทยา กล้องมัลติสเปกตรัมเรดาร์เพื่อใช้ในการตรวจจับใต้ผิวดิน รวมไปถึงอุปกรณ์ที่จะใช้ตรวจจับสภาพอากาศ แต่การเดินทางแต่ละครั้งของยานอวกาศเพื่อที่จะไปลงจอดบนดาวอังคารมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่ยานอวกาศทุกลำจะทำได้อย่างราบรื่น เพราะอุปสรรคในครั้งนี้ของยานเทียนเหวิน-1 คือการที่ยานหลักจะต้องลดระดับความเร็วจาก 20,000 กิโลเมตร ในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อที่จะหาจุดปลอดภัยในการลงจอด และลงจอดพื้นผิว
.
การเดินทางของภารกิจยานเทียนเหวิน-1 ใกล้ความจริงขึ้นมามากๆแล้ว และแผนการสำรวจต่างๆของจีนกำลังจะกลายเป็นความจริง เพราะเมื่อในวันที่ 23 กรกฎาคม 2563 เวลา 11.41 น. ประเทศจีนได้ปล่อยจรวดลองมาร์ช-5 “Y4” ซึ่งเป็นจรวดบรรทุกยานเทียนเหวิน-1 โดยการปล่อยจรวดในครั้งนี้ได้ปล่อยจากฐานปล่อยจรวด ที่ศูนย์อวกาศเหวินชาน ในมณฑลไหหนาน ทางตอนใต้ของจีน ซึ่งนี่ก็เป็นการนำจรวดขึ้นสู่ฟากฟ้าได้ตามกำหนดการที่จีนวางไว้แต่แรก
และเมื่อการเดินทางของยานเทียนเหวิน-1 ได้เริ่มขึ้นในปลายเดือนกรกฎาคมนี้นั่นแสดงว่า กำหนดการที่ยานเทียนเหวิน-1 จะลงจอดบนดาวอังคารในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2564 ก็อาจจะไม่คาดเคลื่อน และโลกของเราก็อาจจะได้ข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้จากการสำรวจดาวอังคารในครั้งนี้ ซึ่งพวกเราเชื่อว่า น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาเทคโนโลยีที่จะให้มนุษย์ไปสร้างอาณานิคมบนดาวอังคารในอนาคตได้สำเร็จ .
เรียบเรียง : รอบโลก
โฆษณา