5 ก.พ. 2021 เวลา 02:46 • การศึกษา
“การศึกษาศักยภาพทางการตลาดของวิสาหกิจเพื่อสังคมในการให้บริการระบบตรวจวินิจฉัยอาการพาร์กินสันเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ”
​​ “ The Study of Competency in Marketing of Social Enterprise for Parkinson Disease Diagnosis System to Improvement of Human Life Quality “
ส่วน ก : องค์ประกอบของข้อเสนอโครงการวิจัย (ข้อมูลทั่วไป)
 
1. ผู้รับผิดชอบโครงการ ประกอบด้วย
1.1 หัวหน้าโครงการ
ชื่อ (ระบุตำแหน่งทางวิชาการ)
 
ชื่อ : คุณจีราวัฒน์
มหาวิทยาลัย :
M.A. Economics Development ,
University of Hawaii , USA
B.E. Economics , Thammasat University
1.2 ผู้ร่วมวิจัย
ชื่อ (ระบุตำแหน่งทางวิชาการ)
 
ชื่อ : คุณศุภชัย
มหาวิทยาลัย :
M.A. Engineering Management ,
University of Warwick , UK
ร.บ. รัฐศาสตร์ , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
1.3 ผู้ช่วยนักวิจัย
ชื่อ (ระบุตำแหน่งทางวิชาการ)
ชื่อ : คุณชวพัฒน์
มหาวิทยาลัย :
บธ.บ. สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา
2. ข้อมูลความเป็นมาของกิจการ/บริษัท/ผู้ประกอบการ (ในเบื้องต้น) และความสำคัญ ที่มาของปัญหา โอกาสทางธุรกิจ และสภาวการณ์ตลาดในปัจจุบัน
​(ควรเขียนให้เห็นถึงข้อมูลในเบื้องต้นของกิจการ/บริษัท/ผู้ประกอบการ เกี่ยวกับประวัติความเป็นมา รวมถึงการระบุถึงความสำคัญของโครงการ แนวคิดเกี่ยวกับธุรกิจ โอกาสทางธุรกิจและสภาวการณ์ตลาดในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นอย่างไร หรือโอกาสและศักยภาพของเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ในตลาดที่กำลังจะวิเคราะห์การตลาด และจัดทำแผนการตลาดเป็นอย่างไร บทวิเคราะห์การแข่งขันและโอกาสทางการตลาด หรือการทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น)
 
ที่มาของปัญหาและสภาวการณ์ตลาดปัจจุบัน
ความก้าวหน้าทางการสร้างนวัตกรรมการผลิตเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่ได้ดำเนินการผลิต และสามารถนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้ตรวจวินิจฉัยกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคดังกล่าว นับเป็น ประโยขน์ต่อผู้ป่วยในการได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างแม่นยำ อีกทั้งส่งผลไปถึงประโยชน์ต่อวงการแพทย์ และการบริหารสาธารณสุขของประเทศโดยรวม ทั้งในแง่การเสริมสร้างระบบสาธารณสุขสำหรับผู้ป่วยด้านอายุรกรรมที่มีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้เกิดการนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการวางแผนการจัดการระบบบริหารงบประมาณการให้บริการสาธารณสุขโดยรวม
ทั้งนี้ แม้ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์จะมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้นจากอดีต แต่ในทางปฏิบัติ พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนมากยังไม่สามารถเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยสูงวัยซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรคอายุรกรรมสูง โดย ตลอดหลายปีที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในประเทศไทยมีอัตรา 1 ใน 100 ของประชากรที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากจำนวนของผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งประเทศ ที่สำคัญยังพบอีกว่าผู้ป่วยร้อยละ 8 ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 40 ปีอีกด้วย ( ที่มา : Nitayaporn M./Thongpet S , พบผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในไทยมีอายุน้อยกว่า 40 ปี , หนังสือพิมพ์บ้านเมืองออนไลน์ ฉบับวันที 1 พฤษภาคม 2559 )
 
 
ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพย่อมส่งผลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ยืนยาวของผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขาดการสนับสนุนการวินิจฉัยโรคที่แม่นยำในระยะเวลาที่สามารถป้องกันความรุนแรงของโรคภัยที่จะเกิดขึ้นได้ทันเวลา
​สถานการณ์ดังกล่าวจึงนำไปสู่การแสวงหาความสมดุลของการนำนวัตกรรมทางการแพทย์ที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงดังเช่นการนำเครื่องมือวินิจฉัยโรคพาร์กินสันมาศึกษาการสร้างการสร้างรูปแบบการดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์ที่ไม่มุ่งเน้นการแสวงหาผลกำไรสูงสุด โดยตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อสนับสนุนให้การผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการวินิจฉัยโรคดังกล่าวได้ด้วยรูปแบบการจัดการธุรกิจเชิงพาณิชย์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในสังคม
​องค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคมจึงเป็นแนวคิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะการประกอบการที่มุ่งเน้นการสร้างความสมดุลของการอยู่รอด และเติบโตของการประกอบกิจการ ควบคู่กับการมีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมในด้านต่างๆ เช่น สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ศิลปะ วัฒนธรรม เป็นต้น โดยการตระหนักถึงการสร้างความยั่งยืนในการอยู่ร่วมกัน
​การศึกษาวิสาหกิจเพื่อสังคมในบริบทของสังคมไทย พบว่ายังมีองค์ความรู้และกรณีศึกษาที่นำมาปฏิบัติในวงจำกัด โดยการศึกษาโครงการวิจัยที่จัดทำขึ้นนี้ จึงเป็นการวางกรอบแนวทางการศึกษาที่เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจที่สามารถทำได้จริง ให้สามารถนำไปใช้ปฏิบัติจนเกิดผลเป็นรูปธรรมจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสร้างระบบการเข้าถึงการวินิจฉัยโรคพาร์กินสันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง ภายใต้บริบทการประกอบการธุรกิจเพื่อสังคม
3. วัตถุประสงค์ของโครงการศึกษาศักยภาพด้านการตลาด
​(ควรระบุวัตถุประสงค์ของโครงการการศึกษาศักยภาพด้านการตลาดสำหรับงานวิจัยเชิงพาณิชย์ให้สอดคล้องกับชื่อของข้อเสนอโครงการ และมีความเหมาะสมกับกิจกรรมที่จะดำเนินการ โดยควรระบุวัตถุประสงค์ของโครงการให้มีความชัดเจน )
1. เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการประกอบกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม เพื่อกำหนดแผนการตลาด และช่องทางการ ขาย รวมถึงการมีส่วนร่วมของประชาสังคมในการสนับสนุนองค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคม ให้สามารถประกอบกิจการอย่างยั่งยืน
2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการประกอบกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคม ภายใต้องค์ความรู้และบริบททางสังคมที่หลากหลาย และวิเคราะห์ตัวแปรสนับสนุนการสร้างกลไกการบริหารจัดการธุรกิจที่สามารถสร้างรายรับที่เกิดขึ้นได้จริงควบคู่กับการให้บริการสังคมที่สามารถวัดผลความสำเร็จจากการดำเนินการได้ด้วยวิธีการวัดผลเชิงคุณภาพ
3. เพื่อศึกษาตัวแปรที่อาจสร้างความเสี่ยงต่อการดำเนินกิจการ รวมทั้งการกำหนดแผนรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นนั้น
4. เทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์
​(ควรอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ผลงานวิจัย มีคุณลักษณะ ขนาด แบบ รูปร่าง สี หีบห่อ มีประโยชน์ในสอยอย่างไร และมีความได้เปรียบของเทคโนโลยีหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ของโครงการนี้เหนือกว่าเทคโนโลยีที่มีปัจจุบันอย่างไร เป็นต้น)
โครงการวิจัยนี้ได้ต่อยอดจากการศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันของ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ สังกัด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการวิจัยนี้จะนำรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการทดลองและวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคการแพทย์แล้วมาใช้เป็นเครื่องมือในการขยายผลทางการตลาดในรูปแบบการจัดการธุรกิจและการตลาดแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งจะเป็นการจัดการที่เอี้อประโยชน์ให้
ประชาชนได้เข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันด้วนเทคโนโลยีที่ทันสมัยเทียบเท่าต่างประเทศในอัตราค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม ทำให้การเข้าถึงผลิตภัณฑ์สามารถเข้าถึงได้ในวงกว้าง
5. ข้อมูลการตลาดเบื้องต้น
​(ควรอธิบายถึงสภาพตลาดปัจจุบัน ตลาดเป้าหมาย ขนาดและแนวโน้มของตลาด มูลค่าตลาดโดยรวมคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่วนแบ่งทางการตลาดในเบื้องต้นเป็นอย่างไร รวมถึงมีการวิเคราะห์ SWOT ในเบื้องต้นและการคาดการณ์ที่เหมาะสมซึ่งท่านสามารถหาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งต่างๆ เป็นต้น)
​จากแนวโน้มอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมที่มีมากขึ้นตามสภาพการเกิดขึ้นของแนวโน้มการขยายตัวของอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยย่อมแสดงให้เห็นถึงอัตราการเพิ่มขึ้นของกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ดังนั้นโครงการวิจัยนี้ได้เล็งเห็นถึงโอกาสทางธุรกิจและการสร้างความสมดุลของต้นทุนการผลิตเพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมายสามารถรับบริการในอัตราค่าบริการที่สามารถเข้าถึงได้ โดยการใช้รูปแบบการจัดการธุรกิจในรูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม
 
​ก่อนการศึกษารูปแบบการจัดการทางการตลาดของกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมควรเข้าใจความหมายและรูปแบบการดำเนินกิจการของวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักการและรูปแบบการดำเนินกิจการ ตลอดจนการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องในการศึกษาการดำเนินกิจการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทการบริหารจัดการทางการตลาดเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์
 
​ในประเทศไทย มีการนิยามความหมายของคำว่า Social Enterprise เป็นคำไทยอยู่ 2 คำ คือ “กิจการเพื่อสังคม” โดยสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ โดยให้ความหมายว่า หมายถึง ธุรกิจหรือกิจการที่มีจุดมุ่งหมายในการแก้ไขปัญหาสังคมเหมือนเอ็นจีโอ มูลนิธิ องค์การการกุศลต่างๆ แต่มีวิธีหากำไร วางระบบการตลาดได้เหมือนบริษัททั่วไป กับอีกคำหนึ่ง คือ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย การยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 621) พ.ศ. 2559 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2559 ซึ่งหมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบกิจการขายสินค้าหรือการให้บริการ โดยมุ่งส่งเสริมการจ้างงานในท้องถิ่นที่วิสาหกิจเพื่อสังคมตั้งอยู่ หรือมีเป้าหมายในการจัดตั้งตั้งแต่แรกเริ่มในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน สังคม หรือสิ่งแวดล้อม โดยมิได้มุ่งสร้างกำไรสูงสุดต่อผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วน และนำผลกำไรไม่
 
น้อยกว่าร้อยละ 70 ไปลงทุนในกิจการของตนเอง หรือใช้เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้ยากจน คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส หรือเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนรวมอื่นๆ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด ( Soontorn K , คำ แนวคิด ความหมายของกิจการเพื่อสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ก่อเกิดจากสังคมฐานล่าง , 31 May 2018 , http://www.roypalang.org/blogs/Soontorn%20K/1527753830 )
 
​ ในสหรัฐอเมริกามีการนิยามวิสาหกิจเพื่อสังคมโดยหน่วยงานที่เรียกว่า Social Enterprise Alliance ซึ่งเป็นองค์กรเครือข่ายที่ทำหน้าที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของระบบนิเวศ (ecosystem) ของวิสาหกิจเพื่อสังคมในประเทศสหรัฐอเมริกาไว้ว่า
“วิสาหกิจเพื่อสังคม คือองค์กรหรือการริเริ่มที่มีวัตถุประสงค์ในการทำงานเพื่อสังคมแบบองค์กรไม่แสวงหากำไรหรือหน่วยงานของรัฐ แต่ใช้กลไกตลาดเป็นแนวทางการดำเนินงานเช่นเดียวกับธุรกิจ”
​ส่วนในสหราชอาณาจักร Social Enterprise UK ซึ่งก็เป็นองค์กรเครือข่ายที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยวิสาหกิจเพื่อสังคมในสหราชอาณาจักร ได้นิยามวิสาหกิจเพื่อสังคมไว้ว่า
​“วิสาหกิจเพื่อสังคมประกอบธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาสังคม การพัฒนาชุมชน คน หรือสิ่งแวดล้อม วิสาหกิจเพื่อสังคม เหล่านั้นได้เงินจากการขายสินค้าและการให้บริการในตลาดเปิด เมื่อได้กำไร วิสาหกิจเพื่อสังคมจะนำกำไรกลับมาลงทุนหรือส่งต่อให้กับชุมชน เพราะฉะนั้นเมื่อวิสาหกิจเพื่อสังคมได้กำไร สังคมย่อมได้กำไรด้วย” ชัญญา ปัญญากำพล , ถอดรหัสนิยามและนโยบายธุรกิจเพื่อสังคมในไทย , ฝ่ายพัฒนาเพื่อสังคม ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
 
​จากคำจำกัดความดังกล่าว มีข้อสังเกตเห็นได้ว่าคำจำกัดความของวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้น หมายถึง นิติบุคคลหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อนำรูปแบบการบริหารจัดการทางธุรกิจมาใช้ในการบริหารกิจการ โดยไม่ได้มุ่งเน้นการสร้างกำไรให้เกิดขึ้นสูงสุดแก่ผู้ถือหุ้นในองค์กร ทั้งนี้การบริหารจัดการดังกล่าวดำเนินการเพื่อมุ่งเน้นประโยชน์สาธารณะในการแก้ไขปัญหาในสังคม
 
​ด้วยแนวคิดการมองภาพรวมของการจัดการตลาดที่ต้องการมุ่งเน้นให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในสังคมในการสนับสนุนกิจการของบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมนั้น การสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในการนำเสนอผู้บริโภคอาจไม่เพียงพอต่อสร้างการตระหนักรู้ได้ถึงการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในสังคม ดังจะเห็นได้ว่าการให้ข้อมูลแก่สังคมเรื่องความรุนแรงของโรคพาร์กินสันและโอกาสการเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป หรือกลุ่มผู้มีความเสี่ยงเช่น จากพันธุกรรม , สภาพแวดล้อม หรือการมีประวัติโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบสมองนั้น ข้อมูลดังกล่าวสามารถนำมาต่อยอดให้คนในสังคมตระหนักและต้องการมีส่วนร่วมในการลดการเกิดปัญหาหรือความรุนแรงของโรคดังกล่าวกับคนในสังคม
จากแนวคิด Changing The Marketing Mix ของ Philip Kotler (Philip Kotler , “The Relationship between Marketing and Capitalism” August 25, 2016 ) แสดงทัศนะถึงการตลาดยุคใหม่ซึ่งไม่พียงแต่การสร้าง
ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสม และให้บริการในสถานที่ที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย ตามแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 4Ps , การวิเคราะห์องค์กร, กลุ่มเป้าหมาย ,ช่องทางการตลาดและคู่แข่งทางการตลาด 4Cs ตามที่มีการศึกษาตามรายงานวิจัยการศึกษาพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันของ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ สังกัด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแล้วนั้น
 
​การวิจัยเชิงพาณิชย์ที่จะนำมาต่อยอดการวิจัยดังกล่าวนั้น มุ่งหวังที่จะสร้างการตระหนักรู้ของภาคส่วนต่างๆในสังคมเพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความเหลี่อมล้ำในการตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันร่วมกัน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการสร้างรายรับให้เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจการ เพื่อใช้เป็นทุนของบริษัทในการดำเนินกิจการเพื่อสังคมอื่นๆ พร้อมกับการสร้างประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับการดำเนินกิจการแก่สังคม ตามแนวคิด 4Ws
 
​กระบวนการและวิธีการทางการตลาดในการนำเครื่องตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันเชิงพาณิชย์นั้น จะใช้รูปแบบการทำการตลาดแบบการสื่อสารทางการตลาดอย่างรอบด้าน โดยจะวิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายเพื่อวางแผนทางการตลาดอย่างเป็นระบบทั้งการสื่อสารในระดับองค์กรทั้งภาครัฐ ( B2G ) เพื่อเสริมสร้างการประกันสุขภาพสำหรับผู้ป่วยอายุรกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคพาร์กินสัน ตามงบประมาณของหลักประกันสุขภาพ
โดยประเทศไทยจัดให้มีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ประชาชนตั้งแต่ พ.ศ. 2544 ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญในการอำนวยการเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นแก่ประชาชน และลดภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการใช้บริการ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการใช้บริการ โดยในเบื้องต้นสามารถพิจารณาความเป็นธรรมนี้ได้ในสามมิติคือ การอุดหนุนงบประมาณของภาพรัฐ , การคุ้มครองครัวเรือน จากความยากจนอันเนื่องจากการจ่ายค่ารักษาพยาบาลและการเข้าถึงบริการ (สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล , ความเป็นธรรมและการเข้าถึงบริการสุขภาพ , http://www.thaihealthreport.com/index2554-010 )
 
 
 
​นอกจากนี้จะมีการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดในภาคองค์กรธุรกิจ ( B2B ) เช่นการสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนกิจการของบริษัท โดยการเข้านำเสนอโครงการแก่หน่วยงานผู้มีส่วนเกี่ยวข้องตลอดจนการจัดทำข้อเสนอทางธุรกิจเพื่อจัดกิจกรรมทางการตลาดร่วมกัน
 
​โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำองค์ความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคส่วนต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนมาใช้วิเคราะห์การทำการตลาดเชิงบูรณาการในมิติการจัดการและรูปแบบวิธีการ รวมถึงการวิเคราะห์ตัวแปรทางการตลาดที่อาจมีความเสี่ยงต่อการบรรลุผลตามเป้าหมาย
 
​ ส่วนการสื่อสารระดับผู้บริโภคโดยตรง ( B2C ) จะมีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและวางแผนการให้ข้อมูลแก่กลุ่มเป้าหมาย รวมถึงการจัดสัมมนาให้ความรู้ให้ตระหนักถึงการตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันแก่ผู้มีความเสี่ยงด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในอัตราค่าบริการที่เข้าถึงได้
 
​การสื่อสารทางการตลาดดังกล่าวนั้นจะดำเนินการตามแนวคิด Marketing Communication Mix ( Katryna Johnson , Integrated Marketing Communication Tools , Minneapolis, MN ) ซึ่งจะวิเคราะห์และกำหนดแผนการตลาด , การกำหนดเป้าหมายประมาณการรายรับจากการดำเนินการ และต้นทุนการดำเนินการเพื่อวางแผนการตลาดในรายละเอียดในส่วนต่างๆ ดังนี้
 
1. Advertising
2. Personal Selling
3. Sale Promotion
4. Interactive Marketing
5. Direct Marketing
6. PR and Public
7. Events and Experiences
7. จุดเด่นหรือความแตกต่างของเทคโนโลยี/ผลิตภัณฑ์
​(ควรมีการอธิบายถึงข้อดี ข้อเสีย จุดเด่น หรือจุดด้อย ระหว่างผลิตภัณฑ์หรือเทคโนโลยีที่กำลังจะศึกษาศักยภาพด้านการตลาดและด้านอื่นๆ สำหรับงานวิจัยเชิงพาณิชย์เปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์/เทคโนโลยีที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน ตามที่ท่านได้ทำการศึกษามาเบื้องต้น)
​จุดเด่นของเทคโนโลยีการตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันด้วยผลิตภัณฑ์ตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันของ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ สังกัด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการเปรียบเทียบข้อมูลผลิตภัณฑ์จุดเด่นและจุดด้อยของคู่แข่งทางการตลาดแล้วนั้น โครงการวิจัยนี้จะศึกษาถึงรูปแบบการจัดการธุรกิจแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อเปรียบเทียบหารูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทและข้อจำกัดของสังคมไทย เพื่อพัฒนาการจัดการระบบวิสาหกิจเพื่อสังคมที่มีประสิทธิภาพและนำไปใช้ได้จริงในทางปฏิบัติ
​นอกจากนี้จะกำหนดแผนการตลาดเพื่อนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการสร้างรายรับจากการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดให้เห็นผลเป็นรูปธรรม ทั้งการดำเนินการผ่านช่องทาง B2B , B2G และ B2C ซึ่งในเบื้องต้นพบว่าจุดแข็งของการดำเนินการของกิจการเพื่อสังคมสามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งซึ่งมีวิธีการตลาดในเชิงกิจการธุรกิจเอกชน
 
​ข้อแตกต่างในแง่รูปแบบการดำเนินกิจการ และกิจกรรมทางการตลาด ตลอดจนความมีประสิทธิภาพของเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันที่แม่นยำในราคาที่เข้าถึงได้นั้น มีความเป็นไปได้สูงในการสร้างความสำเร็จจากการทำตลาดเชิงพาณิชย์ได้
8. ข้อมูลด้านเทคโนโลยีการผลิต
​(ควรอธิบายเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิต เครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์การผลิตที่เน้นการผลิตเชิงพาณิชย์ และอธิบายถึงทางเลือกของเทคโนโลยีการผลิตที่มีความเป็นไปได้ในโครงการตามที่ท่านได้ทำการศึกษามาเบื้องต้น )
​โครงการวิจัยนี้จะเป็นการนำเทคโนโลยีเครื่องตรวจวินิจฉัยโรคพาร์กินสันของ นายแพทย์รุ่งโรจน์ พิทยศิริ สังกัด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาใช้ศึกษาแผนการตลาดเพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ในรูปแบบการตลาดที่เกิดขึ้นจากการจัดรูปแบบองค์กรวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยการศึกษา
 
 
ข้อมูลข้อคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญในหลายสาขาอาชีพเพื่อนำมาสรุปเป็นการจัดการตลาดรูปแบบวิสาหกิจเพื่อสังคมแบบบูรณาการข้อมูล
9.ขอบเขตการวิจัย
​(ควรระบุขอบเขตการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยอาจกำหนดเป็นลักษณะประชากรและจำนวนประชากร การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และวิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา (ถ้ามี) โดยระบุตัวแปรตาม และตัวแปรอิสระ เป็นต้น)
 
​1. ศึกษาแนวทางการจัดการวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยลำดับข้อมูลทางวิชาการ โดยวิธีการศึกษา Ground Theory , In-depth Interview และ Content analysis จากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ได้แก่
- ด้านการแพทย์ และระบบบริการ
- ด้านการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ
- ด้านการผลิต และทดสอบ
- ด้านการนวัตกรรม
- ด้านบริหารสัญญาสาธารณสุขภาครัฐ
- ด้านอุตสาหกรรม และส่งเสริมการลงทุน
- ด้านท้องถิ่น
- ด้านมหาวิทยาลัยแพทย์
- ด้านแหล่งทุนเงินกู้
 
- ด้านเบิกจ่ายหลักประกันสุขภาพแห่งขาติ
- ด้านสวัสดิการแรงงาน
- ด้านระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์
- ด้านเครือข่ายท้องถิ่น
- ด้านนโยบายนวัตกรรม
- ด้านเมืองสีเขียวและการบริหารนคร
​ภายใต้บริบททางสังคม และประสบการณ์ที่หลากหลาย เพื่อนำข้อคิดเห็นมาใช้ในการวางแผนการตลาดกรณีศึกษาตลาดสำหรับเครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยพาร์กินสัน
​2. การลงพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ที่มีอัตราการขยายตัวของกลุ่มผู้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคพาร์กินสัน โดยศึกษาจากฐานข้อมูลความหนาแน่นของประชากรที่มีประวัติการเข้ารักษาในแผนกอายุรกรรมของโรงพยาบาลทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อนำมาใช้ในการ
วางแผนการตลาด
11.ทฤษฎี สมมติฐาน และ/หรือ กรอบแนวคิดของการวิจัย
​(ควรแสดงข้อมูลเกี่ยวกับ ทฤษฎี สมมติฐาน และ/หรือ กรอบแนวคิด โดยแสดงเหตุที่น่าจะเป็นไปได้จากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัย แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นสมมติฐาน (ถ้ามี) และกรอบแนวคิดของโครงการวิจัยนี้)
​โครงการวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องในภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการจัดการที่เหมาะสมในการกำหนดแผนการตลาด และการจัดการองค์กรที่สอดคล้องกับการจัดการวิสาหกิจเพื่อสังคม ( Four Components of Social Business Model : Social Profit Equation , Value Proposition , Value Constellation , Economic Profit Equation , Building Social Business Models: Lessons from the Grameen Experience )
กรณีศึกษาการตลาดเครื่องมือวินิจฉัยพาร์กินสัน ทั้งในแง่การกำหนดกลไกราคาที่เหมาะสม การสนับสนุนองค์กรจากภาครัฐ และเอกชน ตลอดจนองค์กรท้องถิ่น เป็นการเข้าถึงระบบการวินิจฉัยโรคที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางกฎหมายต่างๆ โดยข้อมูลทั้งหมดจะนำไปสู่ข้อสรุปในการสร้างแผนการตลาดที่สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในทางปฏิบัติอันจะนำไปสู่การสร้างประโยชน์ที่สมดุลทั้งผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม ผู้ผลิตนวัตกรรม ผู้รับบริการทางการแพทย์ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆอย่างยั่งยืน ตามแนวคิด
Business Model Spectrum : Social Value , Impact Investment , Financial Value
นอกจากนี้การวิจัยยังได้กำหนดกรอบในการประเมินผลการศึกษาในกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่การเริ่มต้นสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ซึ่งได้มีการออกแบบคำถามเพื่อสัมภาษณ์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้องตามความชำนาญของผู้ให้ข้อมูลในด้านนั้นๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลในการนำไปสังเคราะห์และประมวลผลทั้งในแง่ข้อมูลตัวเลขเชิงสถิติและข้อมูลทางเทคนิค ​
​ข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้การกำหนดแผนการใช้ทรัพยากรในการลงทุนในการดำเนินกิจกรรมการตลาด ( Inputs ) จากนั้นจึงนำแผนดังกล่าวไปปฏิบัติการตามกระบวนการที่กำหนด ( Output ) ซึ่งระหว่างการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดนั้น อาจมีตัวแปรภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการทางการตลาด โดยการวิจัยสามารถประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวได้ ( Outcomes ) โดยในกระบวนการต่างๆ จะใช้ระบบ KPI เป็นเครื่องมือชี้วัดและควบคุมในการดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามแผนในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการวางแผนการตลาดที่ตรงเป้าหมาย ตามแผนผัง Logic Model ( green growth consulting blog , Logic Model , https://greengrowthconsulting.wordpress.com/tag/logic-model/ )
12.เอกสารอ้างอิง
​(ควรมีการระบุเอกสารที่ใช้อ้างอิง (Reference) ของการวิจัยตามระบบมาตรฐานสากล)
​จีรพร ศรีวัฒนานุกูลกิจ และคณะ ( 2550 ) . ศักยภาพของการดูแลรักษาสุขภาพพื้นบ้านล้านนา เพื่อการพัฒนาไปสู่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม . สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , เชียงใหม่
​สายฝน ธรรมวิชิต ( 2561 ) . ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการดำเนินงานวิสาหกิจเพื่อสังคมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ . กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาชุมชน สถาบันการพัฒนาชุมชน , กรุงเทพฯ
​ฟาติมานา อากุสติ ( 2566 ) . วิสาหกิจเพื่อสังคมและการส่งเสริมการย้ายถิ่นที่ปลอดภัย : กรณีศึกษากลุ่มออมทรัพย์ในเขตโบเน จังหวัดสุลาเวสีใต้ อินโดนีเซีย
​นันทิยา ตั้งวิสุทธิจิต และคณะ . ตลาดที่มีจิตสำนึก : ความร่วมมือของผู้ผลิตและผู้บริโภคเพื่อเศรษฐกิจใหม่ . สวนเงินมีมา , กรุงเทพฯ
​ธนะจุกร เย็นบำรุง ( 2552 ) . คลังความรู้แห่งทศวรรษใหม่ วิจัยเพื่อสังคม . สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัย , ขอนแก่น
​ประพิน นุชเปี่ยม และคณะ ( 2561 ) , วิสากิจเพื่อสังคมในประเทศไทย : ข้อสังเกตบางประการต่อร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม , วารสารผู้ตรวจการแผ่นดิน ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561 , กรุงเทพฯ
​Nitayaporn M./Thongpet S , พบผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในไทยมีอายุน้อยกว่า 40 ปี , หนังสือพิมพ์บ้านเมืองออนไลน์ ฉบับวันที 1 พฤษภาคม 2559 )
​Elizabeth Chell . Social Enterprise and Entrepreneurship : Toward a Convergent Theory of the Entrepreneurial Process . International Small Business Journal , University Of Southampton , United Kingdom
 
​Green growth consulting blog , Logic Model, https://greengrowthconsulting.wordpress.com/tag/logic-model/
​Four Components of Social Business Model : Social Profit Equation , Value Proposition , Value Constellation , Economic Profit Equation , Building Social Business Models: Lessons from the Grameen Experience )
​Katryna Johnson , Integrated Marketing Communication Tools , Minneapolis, MN
​Rachael Smith ( October 2014 ) . Personality Trait Differences Between Traditional and Social Entrepreneurs . Social Enterprise Journal
 
​10 Best Social Enterprise Images . Harvard Business School
 
 
13. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
​(ควรระบุถึงประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการจัดทำโครงการการศึกษาศักยภาพด้านการตลาด สำหรับงานวิจัยเชิงพาณิชย์นี้ พร้อมทั้งระบุกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะได้รับประโยชน์ได้แก่ ผู้ประกอบการ สกว. สถาบันการเงิน เป็นต้น ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างไร)
​ประโยชน์จากการศึกษาโครงการวิจัยนี้เพื่อหาแนวทางการตลาดที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงภายใต้การบริหารจัดการองค์กรธุรกิจในรูปแบบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคม กรณีศึกษาการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ของนวัตกรรมเครื่องวินิจฉัยโรคพาร์กินสัน โดยผู้วิจัยคาดหวังให้เกิดการนำองค์ความรู้ของผู้ทรงคุณวุฒิในภาคส่วนต่างๆ ตลอดจนการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ มาใช้ในการวางแผนการจัดการตลาดในการดำเนินธุรกิจแบบวิสาหกิจเพื่อสังคม ซึ่งผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อมในแง่ผลตอบแทนทางธุรกิจและการมีส่วนร่วมในการให้บริการสาธารณะแก่สังคม
 
14.วิธีการดำเนินการวิจัยและสถานที่ทำการเก็บข้อมูล
​(ควรระบุถึงขั้นตอนวิธีการดำเนินการวิจัยและเก็บข้อมูล การกำหนดพื้นที่ ประชากรตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง อธิบายขั้นตอนและวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการระบุสถานที่เก็บข้อมูลให้ครบถ้วนและชัดเจน)
​การวิจัยใช้รูปแบบการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์ในพื้นที่ที่มีอัตราความหนาแน่นของประชากรผู้สูงอายุในภูมิภาคต่างๆทั่วประเทศไทย จากนั้นจะนำข้อมูลดังกล่าวมาประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อสรุปในการวางแผนการตลาด โดยรายนามผู้ทรงคุณวุฒิที่ร่วมให้สัมภาษณ์มีรายนาม ดังนี้
1. เศรษฐกรเชี่ยวชาญ
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค , สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง
2. อายุรแพทย์ประสาทและสมอง
ผู้อำนวยการกองการตรวจราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
3. ( ด้านระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ )
กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอที เอ็นจิเนียริ่ง เทคโนโลยี จำกัด
4. (ด้านเครือข่ายท้องถิ่น )
ผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายท้องถิ่น
5. ( ด้านนโยบายนวัตกรรม )
ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ
6. (ด้านมหาวิทยาลัยแพทย์ )
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
7. ( ด้านแหล่งเงินทุน )
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคาร SMEs
8. ( ด้านเบิกจ่ายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ )
ผู้ช่วยเลขาธิการ สปสช.
9. ( ด้านสวัสดิการแรงงาน )
สวัสดิการคุ้มครองแรงงานจังหวัดราชบุรี
10. (ด้านการนวัตกรรม )
ปฏิบัติงานอธิการสถาบันวิทยาการอวกาศและภูมิสารสนเทศ สทอภ. GISTDA
11. ( ด้านบริหารสัญญาสาธารณสุขภาครัฐ )
สมาชิกมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
12. ( ด้านอุตสาหกรรมและส่งเสริมการลงทุน )
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายอุตสาหกรรมมหภาค ( สศอ. ) กระทรวงอุตสาหกรรม
13. ( ด้านท้องถิ่น )
รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ทา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
 
15.ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนดำเนินงานตลอดโครงการจัดทำวิจัย
​(ควรระบุระยะเวลาที่ทำการวิจัยตามกรอบระยะเวลา 6 เดือน ที่ชุดโครงการผลักดันงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้กำหนดไว้ และควรระบุขั้นตอนและระยะเวลาของแผนการดำเนินงาน (Grant chart)โดยละเอียดและชัดเจน)
 
แผนกิจกรรม
เดือนที่
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
 
1
2
3
4
5
6
 
1.ศึกษารูปแบบและเตรียมข้อมูล
X
 
 
 
 
 
สามารถกำหนดคำถามและแนวทางเก็บข้อมูล
2.ลงพื้นที่และสัมภาษณ์
 
X
 
 
 
 
รวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาใช้วิเคราะห์
3.วิเคราะห์และประมวลผล
 
 
X
 
 
 
สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปได้
 
16. งบประมาณโครงการการศึกษาศักยภาพด้านการตลาดและด้านอื่นๆ สำหรับงานวิจัยเชิงพาณิชย์
(แสดงรายละเอียดงบประมาณโดยแสดงรายละเอียดประมาณการค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ให้ชัดเจน ในหมวดต่างๆ ได้แก่ หมวดค่าตอบแทน หมวดค่าวัสดุ และหมวดค่าใช้สอย ทั้งนี้งบประมาณต้องเหมาะสมกับเนื้อหา/ขอบเขตการศึกษา และกิจกรรมที่จะดำเนินงานและผลผลิต(Output) และผลลัพธ์ (Outcome)ที่โครงการนี้จะได้รับจากโครงการนี้)
 
รายการ
งบประมาณ
1. หมวดค่าตอบแทน
1.1 ค่าตอบแทนหัวหน้าโครงการ
1.2 ค่าตอบแทนทีมวิจัย
1.3 ค่าตอบแทนเจ้าของนวัตกรรม (ไม่เกินวงเงิน 10,000 บาท)
 
100,000
40,000
10,000
2. หมวดค่าจ้าง (ไม่เกินวงเงิน 30,000บาท)
ค่าจ้างผู้ช่วยนักวิจัย
 
 
30,000
3. หมวดค่าใช้สอย
3.1ค่าตั๋วเครื่องบิน ไป-กลับทุกภาคเฉลี่ยเที่ยวละ
5,000x10 เที่ยว x 2 คน
3.2 ค่าเช่าพาหนะจำนวน 1 คัน คันละ 1,500x15 วัน
3.3 ค่าน้ำมันระยะทางไป-กลับ 200 กม.x4 บาท/กม. X15 เที่ยว
3.4 ค่าที่พัก จำนวน 1 ห้องx10 คืน x 1,500 บาท
3.5 ค่าเบี้ยเลี้ยงจำนวน 2 คนx30 วัน x280 บาท
3.6 ค่าของที่ระลึก 1,000x25 ชุด
3.7 ค่าไปรษณีย์
3.8 ค่าถ่ายเอกสาร
3.9 ค่าโทรศัพท์ 1,500/ เดือน x 3 เดือน
3.10 ค่าอาหารว่างรับรองผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ให้สัมภาษณ์
3.11 ค่าจัดทำเล่มรายงานความก้าวหน้าและ
รายงานฉบับสมบูรณ์
- ค่าจัดทำรายงานความก้าวหน้า จำนวน 10 เล่ม x300 บาท/เล่ม = 3,000 บาท
- ค่าจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ จำนวน 10 เล่ม x500 บาท/เล่ม = 5,000 บาท
 
 
100,000
 
27,000
12,000
15,000
16,800
25,000
1,000
1,000
4,500
5,000
 
 
3,000
 
 
5,000
4. หมวดค่าวัสดุ
4.1ค่าอุปกรณ์ เครื่องเขียนสำนักงาน
4.2ค่าถ่ายเอกสาร
4.3ค่าวัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และหมึกพิมพ์
4.4ค่าอินเตอร์เน็ต 500x3 เดือน
 
1,000
1,000
1,000
1,500
งบประมาณรวมทั้งสิ้น
399,800

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา