Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ดาราศาสตร์หลังบ้าน
•
ติดตาม
31 ม.ค. 2021 เวลา 14:42 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
>>> วันนี้ในอดีตเมื่อ 111 ปีก่อน <<<
The Great January Comet of 1910
ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 (พ.ศ.2453)
- ในช่วงเดือนมกราคม เมื่อ 111 ปีก่อน เหล่าคนงานเหมืองในแอฟริกาใต้ (South Africa) ในตอนนั้นได้มองเห็นวัตถุประหลาดที่ส่องสว่างในท้องฟ้ายามเช้า ที่ต่อมามันจะกลายเป็นการค้นพบหนึ่งในดาวหางที่สว่างที่สุดดวงหนึ่งของ ศตวรรษที่ 20 ดาวหางที่เรารู้จักมันในชื่อ ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 (The Great January Comet of 1910) หรือ ชื่อในระบบอย่างเป็นทางการ C/1910 A1 วันที่ค้นพบดาวหางอย่างเป็นทางการนั้นไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่ ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 ก็ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงที่มัน เข้าใกล้จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด (Perihelion) ในวันที่ 17 มกราคม 1910 (พ.ศ.2453) โดยระยะห่างที่มันเฉียดเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ คือ 0.1290 AU หรือ ประมาณ 19,298,151 กม. จากพื้นผิวดวงอาทิตย์ ในวันนั้น ดาวหางมีความสว่างอย่างมากจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแม้จะเป็นช่วงเวลากลางวันที่มีแสงแดดแรง โดยมี โชติมาตร (Magnitude) สูงสุดอยู่ที่ -5 ซึ่งมีความสว่างมากกว่าดาวศุกร์เสียอีก 2 วัน ต่อมาหลังจากดาวหางเข้าใกล้จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในช่วงนี้สามารถสังเกตดาวหางได้ง่ายขึ้นโดยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงดวงอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ในขณะที่มีรายงานว่า ดาวหาง กลายเป็นวัตถุที่มีความสว่างอย่างมากในท้องฟ้ายามเย็นโดยมี โชติมาตร อยู่ที่ -2.5 และ มีหางฝุ่นที่มีลักษณะโค้งสว่างสดใสสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน
ภาพวาด ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 โดย : H.P. Wilkins (1896-1960) ว/ด/ป : ไม่ระบุ
ต่อเนื่องมาในวันที่ 20 มกราคม หางฝุ่นมีความยาวอยู่ที่ 7 องศา และ ไล่มาจนถึงช่วง วันที่ 28 - 30 มกราคม 1910 ความยาวของหางฝุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 50 องศา "คิดเป็นความยาวที่ครอบคลุมพื้นที่ครึ่งนึงของท้องฟ้าทั้งหมด" และ ดาวหางในขณะนี้มีค่าความสว่างอยู่ที่ โชติมาตร 1.5 หลังจากเริ่มเข้าสู่เดือน กุมภาพันธ์ ความสว่างของดาวหางเริ่มลดลงโดยในช่วงกลางเดือน มีค่า โชติมาตร อยู่ที่ 6 ซึ่งความสว่างในขณะนี้เป็นความสว่างที่แทบจะเป็นลิมิตที่ตามนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และ มีรายงานการสังเกตเห็นดาวหางครั้งสุดท้ายได้ในวันที่ 15 กรกฎาคม 1910 จาก นายแมค วูลฟ (Max Wolf) ในขณะนี้ ดาวหางมีค่า โชติมาตร อยู่ที่ 16.5 และ มีระยะห่างจากดวงอาทิตย์อยู่ที่ 3.4 AU หรือ ประมาณ 508,632,617 กม. (ระยะทางเกือบถึงวงโคจรของดาวพฤหัสบดี)
ภาพวาด ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 โดย : W.B. Gibbs, F.R.A.S. ว/ด/ป ที่ดาวหางปรากฏในภาพวาด : 27 มกราคม 1910 (พ.ศ.2453)
>>> เกร็ดเล็กน้อยจาก ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 <<<
- ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 เป็นหนึ่งในดาวหางที่มีความสว่างมากที่สุดดวงหนึ่งในศตวรรษที่ 20
- ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 มีอีกชื่อหนึ่งคือ ดาวหางกลางวันแห่งปี 1910 (Daylight Comet of 1910) ซึ่งมาจากความสว่างของมันที่สามารถเห็นได้แม้แต่ในช่วงเวลากลางวัน
- ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 เป็นดาวหางคาบยาว โดยมีคาบวงโคจรอยู่ที่ประมาณ 4,000,000 ถึง 5,611,400 ปี
อ้างอิงจาก JPL SMALL-BODY DATABASE BROWSER (NASA)
- ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 มักถูกเข้าใจผิด และ จำสับสนกับ ดาวหางฮัลเลย์ (Halley's Comet) ที่กลับเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในช่วงเดือน เมษายน ในปีเดียวกัน จึงมีการตั้งชื่อ ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 โดยใส่เดือนมกราคมลงไปในชื่อด้วยเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
ภาพถ่าย : ดาวหางใหญ่เดือนมกราคมแห่งปี 1910 โดย : C.O. Lampland ว/ด/ป : ระหว่าง 28 - 30 มกราคม 1910 (พ.ศ.2453)
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย