31 ม.ค. 2021 เวลา 16:06 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
จันทรุปราคาเต็มดวง 31 มกราคม 2561
ย้อนไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ปรากฏเป็น ซูเปอร์มูน นอกจากนี้ยังเป็นอุปราคาบลูมูนครั้งแรกในปี 2561 จึงถูกเรียกว่า ซูเปอร์บลูบลัดมูน ซึ่งมองเห็นได้ในประเทศไทย 🌔🌕
เกิดปรากฏการณ์สำคัญกับดวงจันทร์ 3 อย่าง นั่นคือ
1.ดวงจันทร์เข้าสู่จุดใกล้โลก หรือที่เรียกว่า ซุปเปอร์มูน เป็นครั้งที่ 3 นับจากครั้งแรกคือ 3 ธันวาคม 2560 และครั้งที่ 2 เมื่อ 2 มกราคม 2561
2. ดวงจันทร์เป็นทวิเพ็ญ หรือ พระจันทร์สีน้ำเงิน (Blue moon) นั่นคือเป็นจันทร์เพ็ญครั้งที่ 2 หรือขึ้น 15 ค่ำ 2 ครั้งในเดือนเดียวกัน โดยจันทร์เพ็ญครั้งแรกเกิดไปเมื่อ
1 มกราคม หรือวันปีใหม่ที่ผ่านมา
3. ดวงจันทร์เข้าสู่เงาโลก เกิด “จันทรุปราคาเต็มดวง” ครั้งแรกในรอบ 3 ปี หลังเกิดครั้งสุดท้ายเมื่อ 4 เมษายน 2558 ซึ่งเกิดเพียงช่วงเวลาสั้นๆเพียงแค่ 5 นาที แต่จันทรุปราคาเต็มดวงที่จะเกิดในปี 2561 นี้ จะเกิดนานนับชั่วโมง ยาวสะใจ และยังสามารถมองเห็นได้ทุกจังหวัดในไทย ทุกประเทศในเอเชียตะวันออก เช่น เกาหลี จีน ญี่ปุ่น อาเชียน ออสเตรเลีย ฯลฯ
จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ เกิดยาวนานถึง 1 ชั่วโมง 16 นาที นานพอที่ชวนกันดูปรากฏการณ์ที่น่าทึ่ง โดยดวงจันทร์จะเข้าสู่เงามืดเวลา 19:51 เข้าสู่ตำแหน่งกึ่งกลางคราส (บังมากที่สุด) เวลา 20:29 และสิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง หรือออกจากเงามืดของโลก เวลา 21:07
อ้างอิง
โฆษณา