Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อ่านแหลก
•
ติดตาม
31 ม.ค. 2021 เวลา 18:16 • หนังสือ
รีวิวหนังสือ : คดีโคลลินี่
“ยี่สิบนาทีต่อมาชายคนนั้นสิ้นชีวิตลง กระสุนสี่นัดเข้าทางด้านหลังหมุนเข้าไปในสมองแล้วพุ่งออกไปอีกด้านพร้อมกับฉีกใบหน้าซีกหนึ่งขาดกระจุย พรมสีนวลดูดซับเลือดไว้ วงกลมสีคล้ำขยายออกช้าๆ โคลลินีวางปืนลงบนโต๊ะ ... เขาใช้ส้นรองเท้าเหยียบลงใบหน้าคนตาย จ้องดูแล้วเหยียบซ้ำ...” (หน้า10-11)
1
หนังสือเปิดเรื่องขึ้นมาโดยไม่ให้ผู้อ่านสงสัยได้เลยว่าใครเป็นฆาตกร ใครเป็นผู้ที่มีความผิด ที่มันเป็นเช่นนั้น ก็เพราะ ในส่วนนี้ไม่ใช่สาระสำคัญของเรื่อง
โคลลินี่ ถูกดำเนินคดีและนำตัวขึ้นศาล
เมื่อคดีดังกล่าว จำเลยไม่มีทนาย ศาลจึงต้องตั้งทนายความให้ ซึ่งเรียกกันว่าทนายขอแรง ปรากฏว่าศาลตั้ง คัสปาร์ ไลเน่น เป็นทนายให้กับโคลลินี่
ไลเน่น เขาเป็นคนที่เก่งมาก สามารถสอบเนติบัณฑิตด้วยคะแนนดีทั้งสองครั้ง ทั้งได้คะแนนสูงสุดประจำปีในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (การสอบที่เยอรมันมีสองระดับ แตกต่างกันกับของไทย) ถ้ากล่าวอย่างง่ายๆ ระดับเขาแล้ว สามารถทำอาชีพอะไรก็ได้ในสายงานกฎหมาย เขาเคยได้รับการเสนอให้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และ ผู้พิพากษา แต่เขาเลือกที่จะมาเป็นทนายขอแรง
1
อย่างไรก็ตาม คนเก่งอย่างเขาที่ต้องมาเป็นทนายในคดีแรกของชีวิต นอกจากจะต้องสู้กับพนักงานอัยการ ฝ่ายโจทก์ยังตั้งทนายความที่มีประสบการณ์มากและเชี่ยวชาญในด้านกฎหมายอาญา อย่างศาสตราจารย์ ริชาร์ด มัททิงเงอร์ ซ้ำ ฮันส์ เมเยอร์ ผู้ตายในคดีนี้ ยังเป็นปู่ ของโยฮันนาผู้ซึ่งเป็นแฟนกับ ไลเน่นอีกด้วย ไม่พอ ในคดีนี้จำเลยรับสารภาพ พร้อมไม่ปริปากเรื่องมูลเหตุจูงใจที่ได้ฆ่าผู้ตาย จึงไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับไลเน่นเลย
ใช่ว่า ไลเน่น จะไม่มีความคิดจะถอนตัว เขาเกือบยื่นคำร้องต่อศาล แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ทำ เดินหน้าสู้คดีนี้ต่อไป
1
ไลเน่นจึงพยายามสืบเรื่องราวที่เป็นมูลเหตุจูงใจในคดีนี้ ด้วยตัวเอง...
ความปรากฏต่อเขาว่า ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ฮันส์ เมเยอร์ เป็นผู้นำหน่วยจู่โจมในนาซี เป็นคนฆ่าพ่อของโคลลินี่ เหตุที่กระทำนั้น เกิดจากการที่ชาวอิตาลีบางส่วนทหารวางระเบิดโจมตีทหารเยอรมันในร้านกาแฟ ฮันส์ เมเยอร์จึงสั่งทหารให้นำพลเมืองมายิงแม้ไม่ใช่กลุ่มคนที่วางระเบิดก็ตาม
1
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองนั้น การกระทำของ ฮันส์ เมเยอร์ เป็นเรื่องที่ทำกันปกติไม่ว่าจะเป็นฝ่ายอักษะ หรือ สัมพันธมิตร
คำสั่งของฮิตเลอร์ให้มีอัตราการแก้แค้น ในอัตราส่วนการตายของทหารหนึ่งคน ต้องชดเชยด้วยการตายของพลเรือนได้สิบคน ซึ่งทำได้โดยไม่ผิดหลักสากลในขณะนั้น
1
ภายหลังจบสงครามโลกแล้ว ในปี ค.ศ.1969 โคลลินี่ แจ้งความให้ดำเนินคดีแก่ ฮันส์ เมเยอร์ แต่อัยการสั่งยุติคดี เหตุเพราะคดีนั้นขาดอายุความ
ที่คดีขาดอายุความ เกิดจากการกระทำของ เดเฮอร์ผู้ซึ่งในสมัยนาซีเขาเป็นอัยการที่ศาลพิเศษอินน์สบรุค ภายหลังได้มาทำงานในกระทรวงยุติธรรมและ ในปี ค.ศ.1968 ออกกฎหมายตัวหนึ่งมา ทำให้ระยะเวลาในการนับอายุความคดีที่ ฮันส์ เมเยอร์ สั่งยิงพ่อของโคลลินี่ สั้นลง และขาดอายุความไป
1
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว โคลลินี่ จึงไม่เชื่อในกระบวนการยุติธรรม และตั้งตนเป็นผู้พิพากษาเอง หลังจากป้าของโคลลินี่เสียชีวิต เขาก็ปลิดชีพ ฮันส์ เมเยอร์ ตามที่เปิดเรื่องมาข้างต้น
งานของ ferdinand von schirach ผู้เขียน มักจะให้เราตั้งคำถามเสมอ ว่ากฎหมาย กับความยุติธรรม มันใช่เรื่องเดียวกันหรือไม่ แล้วเป็นประเด็นที่เราต้องถกเถียงกันในทางนิติปรัชญาต่อไปว่า กฎหมายที่ไม่ยุติธรรมถือเป็นกฎหมายอันต้องปฏิบัติตามหรือไม่
1
แล้วในคดีนี้ หากเราได้เป็นคณะลูกขุน เราจะพิพากษาโคลลินี่ว่าผิด หรือไม่ หรือต้องลดโทษอย่างไร
เรื่องเช่นนี้ ในบ้านเราก็ยังมีอยู่ให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง แต่หวังซักวันว่ามันจะหมดไป...
มัททิงเงอร์กล่าวกับไลเน่นว่า “ผมเชื่อในกฎหมาย ส่วนคุณเชื่อในสังคม เราจะได้เห็นกันว่าท้ายที่สุดแล้วใครเป็นฝ่ายถูก” (หน้า 194)
คดีจะเป็นอย่างไรต่อไป ต้องไปอ่านเองนะครับ
@Nwolf
คดีโคลลินี่
Ferdinand Von Schirach : เขียน
เฉิดฉวี แสงจันทร์ : แปล
สำนักพิมพ์ : รหัสคดี
เข้ามาพูดคุยทำความรู้จัก ติดตามข่าวสารหรือเยี่ยมชมหน้าร้านหนังสือเราได้ที่
https://bit.ly/3j86Mlp
2 บันทึก
4
3
1
2
4
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย