1 ก.พ. 2021 เวลา 06:00 • ปรัชญา
สังคมที่เพศชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) อาจไม่ได้ดีต่อผู้ชายเสมอไป
ทำไมถึงเป็นแบบนั้น แล้วมันเกิดขึ้นได้ยังไง???
ในปัจจุบันอาจมีกระแสมากมายเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศ รวมทั้งกระแส feminism ที่กล่าวไว้ว่าเพศหญิงนั้นเท่าเทียมกับเพศชาย ทั้งที่ในปัจจุบันยังมีอีกหลายคนเชื่อใน gender roles ของตัวเอง ตัวอย่างเช่น พ่อเป็นหัวหน้าหรือคนตัดสินใจหลักของบ้าน ส่วนแม่ก็ทำหน้าที่ล้างจานและดูแลลูก
แม้ว่าประเด็นเหล่านี้จะลดลงอย่างมากในสังคมไทย มันก็ยังคงเกิดขึ้นและสร้างความแตกแยกระหว่างเพศชายและเพศหญิง
แต่จริงๆแล้ว การที่เพศชาย(ถูกเชื่อว่า)อยู่สูงกว่านั้นไม่ได้มอบผลประโยชน์อย่างแท้จริงแก่เพศชายเลย
นักวิจัย Cynthia Enloe ใน Clark University, Worchester ได้กล่าวไว้ว่า “Patriarchy isn‘t good for anybody. It fools those who are privileged into imagining that they have a good life.” ซึ่งสรุปได้สั้นๆว่าระบบสังคมชายเป็นใหญ่นั้นไม่ได้ให้ประโยชน์แก่ผู้ใด แถมยังหลอกให้หลายคนเชื่อว่าเพศชายมีชีวิตที่ดีอีกต่างหาก
นอกจากนี้ องค์กร World Health Organization ก็ได้เปิดเผยข้อมูลว่าในประเทศฝั่งตะวันตก ผู้ชายมีโอกาสฆ่าตัวตายสูงถึง 4 เท่าตัวเมื่อเทียบกับของผู้หญิง หนึ่งในตัวแปรหลักคือความกดดันที่ผู้ชายได้รับจากระบบสังคมแบบนี้
คำถามที่น่าสนใจคือ ในเมื่อระบบสังคมนี้มุ่งแต่จะสร้างข้อเสียให้ทุกฝ่าย แล้วมันเกิดขึ้นมาได้ยังไง และใครเป็นคนสร้างมัน
คำตอบที่ได้มีความน่าสนใจทีเดียว เพราะคนในสังคมไม่ได้สร้างมันขึ้นมา แต่มันค่อยๆเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
เมื่อประมาณ 12,000 ปีก่อน ผู้คนได้ยกเลิกระบบสังคมแบบ Hunter-Gatherer Culture ซึ่งเป็นสังคมที่ทั้งสองเพศนั้นมีความเท่าเทียมกัน และหันมาสร้างปักหลักฐาน ทำให้อำนาจเหนือครอบครัวค่อยๆย้ายมาฝั่งพ่อหรือเพศชาย เพราะพวกเขามีพละกำลังมากกว่า ระบบความคิดเช่นนี้ค่อยๆแทรกซึม และกลายมาเป็นสังคมชายเป็นใหญ่อย่างที่เห็นในทุกวันนี้
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันพละกำลังไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกต่อไปแล้ว เราจึงควรร่วมด้วยช่วยกันสนับสนุนเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ หรือ feminist ซึ่งว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศ
โฆษณา