1 ก.พ. 2021 เวลา 09:29 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เทคนิคการจดบันทึกหุ้นในแบบ Stock JourNoey
มีคนถามเข้ามาเยอะมาก ว่าเนยจดบันทึกแบบไหน อยากจะให้ยกตัวอย่างให้ดู
เนยเลยคิดว่าทำออกมาเป็น Content น่าจะดีกว่าค่ะ ขอบคุณทุกๆ คนที่รอคอยนะคะ
 
วันนี้เนยเลือกหยิบ Stock Planner ขึ้นมาเขียน Content
เพราะมันเป็นสมุดโน้ตที่เนยทำไว้ใช้เองค่ะ
Template ข้างในมาจากการใช้งานจริงในแต่ละวัน
1
ทริคที่แชร์ในนี้ เป็นสิ่งที่เนยใช้ตั้งแต่เรียนจนมาถึงทำงานเลยค่ะ
ขอตั้งชื่อตามสถานการณ์ที่ใช้จดนะคะ 😀
 
- จัดตารางปฏิทินล่วงหน้า
- การจดบันทึกในงานสัมมนา
- การจดบันทึกทั่วไปในทุกๆ วัน
- การจดบันทึกความรู้ที่สำคัญ
- การจดบันทึกประสบการณ์
- การจดบันทึกแบบไม่ทันตั้งตัว
2
#จัดตารางปฏิทินล่วงหน้า
ก่อนเริ่มต้นเดือนใหม่ เนยจะจดตารางหรือข้อมูลสำคัญที่เรารู้ล่วงหน้าไว้ก่อนค่ะ
หลักๆ จะแบ่งเป็น 3 หัวข้อคือ
1. วางแผนนัดหมาย/เหตุการณ์สำคัญ ของเนยก็คือ
- หุ้นใน SET100 ขึ้นเครื่องหมาย X วันไหน
- หุ้น IPO เข้าตลาดวันไหน
- หุ้นที่เราสนใจเข้าและออก Cash Balance วันไหน
- นัดหมายคุยงานหรืองานสัมมนาต่างๆ ที่อยากไปฟังความรู้
- วันเกิดของคนสำคัญที่ต้องวางแผนเซอร์ไพรส์ล่วงหน้า
2. บันทึกเหตุการณ์สำคัญ
เนยจะบันทึกว่ามีเหตุการณ์อะไรที่กระทบต่อตลาดหุ้นบ้าง
แล้วเอาไปทำการบ้านต่อ อย่างเช่น
- ประกาศตัวเลขสำคัญจากหน่วยงานต่างๆ
- เหตุการณ์แปลกๆ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ทั้งในและนอกประเทศ การเลือกตั้ง ราคาน้ำมัน วัคซีนโควิด
3. บันทึกทั่วไป
อันนี้ไม่ค่อยมีอะไรค่ะ แต่มันทำให้เรามีความสุขและมีกำลังใจ
เพราะได้ทำตามเป้าหมายที่อยากทำเรียบร้อยแล้ว
ไม่ว่าจะเป็น การตั้งเป้าว่าจะให้รางวัลตัวเองจากการทำงานด้วยการนั่งดูซีรีย์ยาวๆ
หรือการลองทำอะไรใหม่ๆ แปลกๆ ให้มีความคิดสร้างสรรค์และผ่อนคลาย
2
#การจดบันทึกในงานสัมมนา
1
อันนี้เป็นสรุปของเนยตอนไปฟังสัมมนาค่ะ
ซึ่งก่อนไปร่วมงาน เราจะรู้หัวข้อคร่าวๆ แล้วว่าวิทยากรจะพูดเรื่องอะไร
เนยจะหาข้อมูลก่อนไปฟัง เพื่อที่จะได้รับความรู้ให้เต็มที่ เหมือนตอนเรียนที่มหาลัย ก็จะอ่านล่วงหน้าก่อนไปเรียน
3
ก่อนจะเริ่มต้นจดลงในกระดาษเปล่า หูเราต้องฟังแล้วพยายามจับใจความ
1
ในตัวอย่างคือ เนยจดฝั่งซ้ายก่อน ถ้าฟังรู้เรื่องก็จดเป็นภาษาของเราในรูปแบบประโยคยาวๆ ไปเลย
1
แต่ถ้าฟังไม่ทันก็จดแค่ Keywords แล้วค่อยเอาไปหาต่อ ซึ่งถ้าเราทำการบ้านเรื่องที่จะฟังมาล่วงหน้าแล้ว เนยเชื่อว่าเราจะอินไปกับความรู้ที่ได้ฟังแน่นอนค่ะ
1
พอกลับมาถึงบ้าน สิ่งที่เนยทำต่อคือ
เอาข้อความที่จดมาสรุปให้เป็นกราฟ เป็นตาราง เป็นภาพให้เราเข้าใจง่ายๆ เหมือนฝั่งขวา
1
บางทีเวลาที่เนยจดตอนฟัง เนยจะจดคำถามให้ตัวเองลงไป แล้วค่อยมาหาคำตอบหลังจากที่ฟังจบค่ะ
1
#การจดบันทึกทั่วไปในทุกๆ วัน
อันนี้เป็นสิ่งที่ใช้สมัยเรียนด้วยค่ะ บางทีใน 1 วันก็มีเรื่องเข้ามาเต็มไปหมด อันนู้นก็สำคัญ อันนี้ก็สำคัญ ไม่รู้จะจดอะไรดี จะแบ่งกระดาษก็กลัวไม่ได้อยู่ในหน้าเดียวกันอีก
สิ่งที่จะมาช่วยจัดระเบียบเนยคือการใช้เครื่องหมายแยกหัวข้อและการเรียงลำดับความสำคัญของแต่ละเรื่องค่ะ
- Bullet Code
วิธีนี้ถูกคิดค้นโดย คุณ Ryder Carroll มี 2 เทคนิคก็คือ Rapid Logging และ Module
โดยที่ Rapid Logging คือวิธีการจดบันทึกให้กระชับ สั้น และเข้าใจง่ายๆ ประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือ
2
1. Topics ชื่อหัวข้อ พยายามคิดให้กว้างๆ แล้วค่อยมาใส่หัวข้อย่อยลงไปอีกที
เนยพยายามมองว่ามันเป็นเหมือนห้องๆ นึง ที่เราจะจัดระเบียบในบ้านแล้วรู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน
อย่างเช่น ถ้าพูดถึงเตียงนอน เราก็นึกได้ว่ามันต้องอยู่ในห้องนอนแบบนี้ค่ะ
4
2. Page Number เขียนตัวเลขที่บอกว่าหน้าแต่ละหน้าคือหน้าที่เท่าไหร่ลงไปจะได้หาง่ายๆ เหมือนเปิดหนังสือ
3. Short Sentences เขียนข้อความสั้น ๆ ให้กระชับ จะช่วยลดระยะเวลาในการจดและทำให้เราเป็นคนที่จับใจความสำคัญได้ดีขึ้น
4. Bullets อันนี้สำคัญมากๆ เพราะเป็นเครื่องหมายที่อยู่หน้าข้อความที่เราเขียน พอเรามองปุ๊ปก็จะรู้ว่าข้อความนี้อยู่ในสถานะไหน
ต่อมาคือ Module ซึ่งเป็นแนวทางในการแบ่งกระดาษใน 1 เล่มออกมาให้เป็นระเบียบมากขึ้น
1. Index หรือสารบัญ อยากให้เขียนไว้ที่สองหน้าแรกของเล่มเลย จะได้หาง่ายๆ
ส่วนข้อ 2-4 อันนี้ไม่มีตายตัวค่ะ เราจะออกแบบยังไงก็ได้ ทำเป็นตารางหรือแบ่งครึ่งกระดาษก็แล้วแต่เลยค่ะ
2) Future Log การวางแผนล่วงหน้าในระยะยาว
3) Monthly Log บันทึกแบบรายเดือน
4) Weekly Log /Daily Log บันทึกแบบรายสัปดาห์/รายวัน
และยังสามารถจดอื่นๆ ลงไปได้ เช่น เป้าหมายในการเก็บเงิน หรือบันทึกเรื่องความประทับใจ
เนยเพิ่มบันทึกการบ้านหุ้นลงไปด้วยว่าตัวไหนลงแนวรับ ตัวไหนงบดี ตัวไหนทรงกราฟสวย
- Eisenhower Box
หลังจากที่เราแยกหัวข้อออกมาแล้ว พอจบวันมันจะมีเยอะมากๆ เราก็ต้องมาจัดลำดับความสำคัญ แบ่งเป็น 4 แบบ
1. สำคัญและเร่งด่วน : ทำตอนนี้เลย
เป็นงานที่ต้องรีบทำให้เสร็จทันที แถมใช้พลังงานในการทำด้วย เราต้องถามตัวเองว่างานชิ้นนี้ ถ้าไม่ทำให้เสร็จภายในกำหนด จะมีผลเสียเยอะรึเปล่า แล้วก็อย่าให้มีงานแบบนี้เยอะเกินไปในแต่ละวันด้วย หัดจัดลำดับความสำคัญไป จะได้รู้ว่าอะไรควรทำก่อนทำหลังค่ะ
2. สำคัญแต่ไม่รีบ : ค่อยๆ วางแผนก่อน
มันเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ไม่ด่วน แต่ถ้าเราไม่ทำมันก็จะกลายเป็นปัญหาให้เราเพราะมันสำคัญ งานนี้ต้องใช้เวลาในการทำค่อนข้างเยอะ เลยต้องวางแผนให้ดี
3. ไม่สำคัญแต่เร่งด่วน : ไม่ต้องสนใจมาก
เป็นงานที่ให้คนอื่นทำแทนได้ เพราะงานพวกนี้ไม่ได้สำคัญอะไรมาก มันเป็นเรื่องจุกจิกหรือเป็นสิ่งรบกวนที่เราต้องรีบเคลียร์ให้เสร็จอย่าง Email หรือประชุมย่อย
หรือไม่ก็มอบหมายให้คนอื่นทำเพื่อแบ่งเบาภาระที่ไม่จำเป็นของเรา
4. ไม่สำคัญและไม่รีบด้วย : ไม่ต้องทำ
เป็นงานที่ไม่ได้ทำให้ชีวิตเราดีขึ้น ไม่ได้ช่วยให้เราไปถึงเป้าหมายได้ไวขึ้น
แล้วยังทำให้เราเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แต่ถ้าจำเป็นต้องทำ เราก็ทำในเวลาที่เราพักผ่อนก็ได้ค่ะ
#การจดบันทึกความรู้ที่สำคัญ
สิ่งที่ทำให้เนยเข้าใจเรื่องยากๆ ก็คือ การมองภาพกว้างก่อนค่ะ
เราต้องมองภาพรวมแล้วค่อยลงรายละเอียดลึกๆ ว่ามันมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
1
ในตัวอย่างทางซ้ายจะเห็นว่ามันเป็นภาพกว้างที่ไม่ละเอียด แต่ก็ไม่ได้สะเปะสะปะจนจับใจความสำคัญไม่ได้
1
พอเรามองภาพกว้าง
เราต้องมองให้ออกต่อว่าภาพย่อยที่รวมกันเป็นภาพกว้างคืออะไร
เนยบันทึกเรื่อง Indicators ลงไป แล้วแบ่งต่อไปว่าแต่ละอันมันมีไว้เพื่ออะไร
ส่วนหน้าทางขวาจะเห็นว่าเป็นหนึ่งใน Indicator ทางซ้ายที่หยิบขึ้นมาบันทึกอย่างละเอียด มีทั้งที่มา ความหมาย และวิธีใช้งานพร้อมรูปภาพประกอบค่ะ
#การจดบันทึกประสบการณ์
มันเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตายตัว ยิ่งเราโตขึ้น ค้นคว้ามากขึ้น เราก็ยิ่งรู้อะไรๆ มากขึ้น
เนยจะตั้งคำถามเพื่อให้ตัวเองไม่หยุดเรียนรู้
แล้วเวลาที่จดบันทึกแบบนี้ เนยจะไม่จดเต็มๆ เหมือนเวลาที่ฟังสัมมนา
จะเว้นที่ว่างเอาไว้ เผื่อเรามีไอเดียใหม่ๆ หรือเจออะไรใหม่ๆ จะได้มาอัพเดตให้มันอยู่ในที่เดียวกันค่ะ
ในตัวอย่างอันนี้คือ Template ของสมุดโน้ต Stock Planner ที่เนยทำมาใช้เอง
ก็เลยมีคำถามให้ตัวเองว่าหุ้นแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมีอะไรบ้าง แล้วอะไรจะเป็นปัจจัยที่ทำให้กลุ่มนี้ได้รับผลกระทบ
คำตอบของคำถามจะอยู่ในพวกข่าวที่จดไว้ในปฏิทิน และบทวิเคราะห์ของหลายๆ โบรกที่รวบรวมในนี้ค่ะ : https://bit.ly/2x4af0U
2
#การจดบันทึกแบบไม่ทันตั้งตัว
1
เวลาที่เรียนหรือเวลาไปฟังสัมมนาในเรื่องที่เราเบลอๆ ไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน เนยจะใช้วิธีจดแบบ Cornell Note ค่ะ
1
ซึ่งวิธีนี้จะง่ายต่อการกลับมาทบทวนซ้ำอีกรอบ แต่มันมีข้อเสียคือ เปลืองกระดาษเวลาที่เรากะพื้นที่ให้เหลือเยอะเกิน
วิธีจดก็ง่ายมากค่ะ ให้จินตนาการหน้ากระดาษเหมือนฝั่งซ้ายได้เลย หรือจะขีดเป็นตารางลงไปก็ได้
แล้วจดตามหัวข้อที่แบ่งลงไป มันช่วยได้จริงๆ ลองดูนะคะ
2
โฆษณา