Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
1 ก.พ. 2021 เวลา 11:40 • ธุรกิจ
รู้จัก "ทฤษฎีคนโง่กว่า" ในการลงทุน ที่เราควรระวัง
5
สิ่งหนึ่งที่เราเห็นกันในโลกของการลงทุน
คือราคา หรือมูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ
เพิ่มสูงขึ้น จนมากกว่ามูลค่าที่แท้จริงของตัวมันเองไปมาก
1
แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ไม่ว่าราคาสินทรัพย์นั้นจะปรับตัวสูงขึ้นมากแค่ไหน
ก็มักจะมีคนอยากเข้ามาซื้อสินทรัพย์นั้นต่อในราคาที่สูงขึ้นไปอีก
เพราะหวังผลว่า ในอนาคต ราคาสินทรัพย์จะเพิ่มขึ้นอีก แล้วตัวเองก็จะขายทำกำไร
7
ทฤษฎีที่ว่านี้ มีชื่อว่า Greater fool theory
หรือที่แปลตรงๆ ว่า "ทฤษฎีคนโง่กว่า”
5
แล้วทฤษฎีนี้ ถูกอธิบายไว้ว่าอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ถ้าให้ยึดตามหลัก Value Investing การจะทำกำไรจากการลงทุน คือต้องซื้อสินทรัพย์นั้นๆ ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงของมัน
เพราะสุดท้ายแล้วในระยะยาว มูลค่าของสินทรัพย์นั้นจะปรับเข้าสู่มูลค่าที่แท้จริงของมันเอง
แล้วเราก็จะทำกำไรได้ในที่สุด
4
ส่วนคนที่ยอมซื้อในราคาที่สูงกว่ามูลค่าที่แท้จริง
ถ้าว่ากันด้วย Greater fool theory แล้วนั้น จะถูกเรียกว่า Fool หรือ “คนโง่”
และคนที่ยอมซื้อสินทรัพย์นั้นต่อในราคาที่สูงกว่า ราคาที่คนโง่ซื้อมาอีกที ก็จะถูกเรียกว่า Greater fool หรือ “คนโง่กว่า”
5
นั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า Greater fool theory หรือ "ทฤษฎีคนโง่กว่า” นั่นเอง
2
ซึ่งหนึ่งในเหตุการณ์สุดคลาสสิกที่อธิบายปรากฏการณ์ของทฤษฎีนี้ได้ดี
ก็คือ เหตุการณ์ “ฟองสบู่ดอกทิวลิป”
2
ความคลั่งทิวลิป เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในเนเธอร์แลนด์ หลังจากพ่อค้าชาวดัตช์ นำเข้าดอกทิวลิปมาจากจักรวรรดิออตโตมัน
1
Cr. Fine Art America
ด้วยสีสันที่สดใส และสวยงามแปลกตา
ทำให้ดอกทิวลิปสร้างความหลงใหลให้กับใครก็ตามที่ได้พบเห็น
ผู้คนจำนวนมากทั้งคนรวยและคนทั่วไปต้องการดอกทิวลิปมาครอบครอง
จนพูดได้ว่า ไม่ว่าใครจะเอาทิวลิปมาขายต่อราคาแพงแค่ไหน ก็จะมีคนยอมซื้อต่อเสมอ
2
ถึงขนาดที่ มีนักลงทุนบางคนเอาที่ดินเกือบ 49,000 ตารางเมตร มาแลกกับหัวทิวลิป เพียง 1-2 หัว ทั้งๆ ที่มูลค่าที่แท้จริงของทิวลิป อาจจะไม่ได้มากมายอะไรขนาดนั้นเลย..
16
สุดท้ายแล้วฟองสบู่ก้อนโต ก็แตกออก..
และมูลค่าของทิวลิป ก็ลดลงอย่างรวดเร็ว จนกลับสู่มูลค่าที่แท้จริงของมันในที่สุด
4
นอกจากเรื่องของความคลั่งทิวลิปแล้ว
ตัวอย่างพฤติกรรมที่เป็นไปตามทฤษฎีนี้ ก็มีให้เห็นกันบ่อยครั้งในตลาดหุ้นทั่วโลก
3
บ่อยครั้งที่ราคาหุ้นบางตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ทั้งๆ ที่พื้นฐานหรือมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทไม่น่าจะสูงถึงขนาดนั้น
9
แต่เมื่อราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
ก็มักจะมีคนเข้ามาซื้อเพื่อเก็งกำไร แล้วขายต่อในราคาที่สูงขึ้น
แล้วก็มักจะมีคนที่มาซื้อหุ้นต่อในราคาที่แพงกว่า เพื่อเก็งกำไรต่อไปเรื่อยๆ
4
ราคาที่เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างไม่สัมพันธ์กับมูลค่าที่แท้จริงนั้น
ตามทฤษฎีนี้ จะถูกเรียกว่า “Greater fool price”
หรือที่แปลแบบสุภาพว่า “ราคาที่ไม่สมเหตุสมผลมากขึ้น”
7
และมันก็มักจะมีคนที่ยอมจ่ายราคาที่ไม่สมเหตุสมผลแบบนี้เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ
ซึ่งถ้าว่ากันตามทฤษฎีนี้ คนที่ยอมจ่ายราคาสูงขึ้นเหล่านั้น ก็คือ “Greater fool” หรือ คนที่โง่กว่า
8
สุดท้ายแล้ว คนที่มีโอกาสจะต้องเจ็บตัว หรือ ขาดทุนจากเรื่องนี้
ก็คือคนที่ยอมจ่ายในราคาแพงขึ้น
เพื่อหวังเก็งกำไรจากการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของราคาหุ้นตัวนั้น
6
อีกเรื่องที่สะท้อน ทฤษฎีคนโง่กว่า ได้อย่างชัดเจน
ก็คือกรณีของ การฉ้อฉลแบบพอนซี หรือ Ponzi scheme
หรือที่เราเรียกกันว่า “แชร์ลูกโซ่” ในทุกวันนี้..
7
เรื่องนี้ย้อนกลับไปในปี 1920
นายชาร์ลส์ พอนซี ชายชาวอิตาลี ได้ทำการก่อตั้งบริษัทเพื่อทำธุรกิจ Arbitrage
2
ซึ่ง Arbitrage อธิบายง่ายๆ คือ การซื้อของราคาถูกมา
แล้วขายในราคาแพงอีกที่หนึ่ง โดยปราศจากต้นทุนและความเสี่ยง
3
Cr. ebay
ของที่ พอนซี ขาย ก็คือ คูปอง
ที่สามารถนำไปแลกเป็นแสตมป์ไปรษณีย์ได้
1
ซึ่งกลยุทธ์คือ เขาจะรับประกันผลตอบแทนให้คนที่มาซื้อคูปอง ถึง 50% ภายใน 45 วัน และ 100% ภายใน 3 เดือน
4
ผลตอบแทนที่หอมหวานขนาดนี้
จึงทำให้นักลงทุนจำนวนมากพากันมาลงทุนกับนาย พอนซี
1
คนที่เข้ามาลงทุนในช่วงแรกก็ได้ผลตอบแทนตามที่นายพอนซีพูดถึงจริง
ทำให้มีการพูดกันปากต่อปากจนมีสมาชิกใหม่เข้ามาลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ
4
ภายใน 1 เดือนแรก มีเงินมาลงทุนกับเขากว่า 1,800 ดอลลาร์สหรัฐ
ก่อนที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน
7
แต่เมื่อเวลาผ่านไป หลายคนก็เริ่มตั้งข้อสังเกตกันว่า
นายพอนซี สามารถหาเงินมาจ่ายผลตอบแทนสูงๆ ในระยะเวลาสั้นๆ ได้อย่างไร ?
ทำให้บางคนที่เริ่มไม่มั่นใจ และรู้สึกว่าเงินทุนของพวกเขาจะไม่ปลอดภัย ก็เริ่มถอนเงินลงทุนคืน และเริ่มมีการตรวจสอบข้อมูลของ บริษัท ชาร์ลส์ พอนซี กันมากขึ้น
สุดท้ายก็พบว่า เงินที่เขาเอามาจ่ายนั้นไม่ได้เกิดจากการลงทุนที่แท้จริง
แต่กลับเกิดจากการนำเงินของนักลงทุนหน้าใหม่ มาจ่ายให้กับผู้ที่เข้ามาลงทุนก่อนหน้า
6
จุดจบของเรื่องคือ แชร์ลูกโซ่วงนี้ล้มลงในเวลาไม่ถึงปี
ขณะที่นักลงทุนที่ได้ความเสียหาย ได้รับเงินคืนเพียง 30% ของเงินต้น
9
แม้ว่าเรื่องราวการฉ้อโกงของนายชาร์ลส์ พอนซี จะเกิดขึ้นมาแล้วกว่า 100 ปี
แต่ทุกวันนี้ เราก็ยังคงเห็นเรื่องราวแบบนี้อยู่
3
ซึ่งในกรณีของประเทศไทย หลายคนก็น่าจะรู้จักแชร์ลูกโซ่
ที่สร้างความเสียหายให้กับคนที่เข้าไปเล่นมาหลายครั้ง
6
ดังนั้น วันนี้ถ้าเราเลือกที่จะตัดสินใจทำอะไรก็ตาม
ลองตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า เรามีความรู้ ความเข้าใจ ในสิ่งนั้นเพียงพอไหม
6
เพื่อที่จะไม่ทำให้เราได้รับความเสียหายเหมือนกับคนจำนวนมากในเหตุการณ์ ทิวลิป และพอนซี ที่ในบทความนี้ ได้พูดถึง
1
เพราะถ้าเรามัวแต่คิดว่าจะมีคนโง่กว่า มาซื้อสินทรัพย์ต่อจากเรา
เราอาจจะเป็นคนโง่คนสุดท้ายในวงจรนั้น ก็เป็นได้..
8
References
-
https://www.investopedia.com/terms/p/ponzischeme.asp#:~:text=A%20Ponzi%20scheme%20is%20a%20fraudulent%20investing%20scam%20which%20generates,to%20pay%20the%20earlier%20backers
.
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Tulip_mania#:~:text=Tulip%20mania%20(Dutch%3A%20tulpenmanie),dramatically%20collapsed%20in%20February%201637
.
-
https://www.forexinthai.com/50965/
-
https://en.wikipedia.org/wiki/Greater_fool_theory
-
https://www.thebalance.com/what-is-a-ponzi-scheme-history-examples-vs-pyramid-scheme-3305877
2
207 บันทึก
311
14
243
207
311
14
243
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย