2 ก.พ. 2021 เวลา 03:33 • ประวัติศาสตร์
🌿ชนเผ่าพเนจรทิเบต ผู้ลี้ภัยสงคราม🌿
(ชาวชังปา ณ ที่ราบสูงชังตัง)
❄️ .....บ้านหลังใหม่......❄️
ย้อนกลับไปราวครึ่งทศวรรษก่อน
ชนเผ่าพเนจรชาวทิเบตหลายครอบครัวได้ตัดสินใจลี้ภัยสงครามออกจากทิเบตตามองค์ดาไลลามะองค์ที่ 14 ไปยังประเทศอินเดีย🕌
ด้วยวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพาบรรดาสัตว์ที่ชอบอยู่ตามที่สูงและอากาศหนาว พวกเขาจึงเลือกที่ราบสูงชังตัง (Changtang)
บริเวณทะเลสาบโมริริ แคว้นลาดักห์ ประเทศอินเดีย ซึ่งอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 4,500 – 5,000 เมตร เป็นบ้านหลังที่สอง และนี่ก็เป็นที่มาของชื่อเรียกชนเผ่ากลุ่มนี้ว่า ‘ชังปา’ (Changpa)
วิถีชีวิตในแต่ละวันของชาวชังปาจะทุ่มเทไปกับการทำปศุสัตว์เป็นหลัก🐏🐑 โดยสัตว์คู่ชีวิตของพวกเขาคือ... แกะ แพะพัชมีนา และจามรี (จามรีก็คือควายนะ) กิจกรรมหลักๆ ของพวกเขาคือ ต้อนสัตว์ไปกินหญ้าบนภูเขา รีดนมแกะ นมแพะ และนมจามรี
อาหารการกินของชาวชังปาส่วนใหญ่คือ...ผลิตภัณฑ์จำพวกนม เช่น โยเกิร์ต ชีส🧀 เนย และชาทิเบต หรือ ชาเนยแทนน้ำเปล่า นอกจากนี้ยังมีพวกข้าวสาลี แป้ง และไข่ไก่ ที่ซื้อได้จากพ่อค้า ทั้งขาจรและจากหมู่บ้านคอร์ซอค (Korzok) ใกล้ๆ กับทะเลสาบโมริริ
1
พวกเขาอาศัยอยู่ในบ้านหลังใหม่นี้มานานกว่า 50 ปี แม้จะดูเหมือนว่าพวกเขาสามารถนำรูปแบบชีวิตจากบ้านหลังเก่ามาใช้ในบ้านหลังใหม่ได้อย่างลงตัวแล้ว แต่เมื่อถามใครหลายๆ คนในชุมชน เสียงส่วนใหญ่ก็ยังคงสะท้อนความต้องการลึกๆ ภายในใจว่า พวกเขาอยากกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิดพร้อมกับองค์ดาไลลามะ ผู้นำทางจิตใจของพวกเขา
ความรู้เพิ่มเติม: 💡พัชมีนา คือ...ขนแพะเพียวๆ ไม่มีไหม หรือ เส้นใยอย่างอื่นมาปน
Cr.เรื่องและภาพ ธีรชาติ ชัยประเสริฐ
โฆษณา