2 ก.พ. 2021 เวลา 07:01 • การเมือง
วิกฤตการเมืองในเมียนมาร์ แท้จริงแล้ว เกิดอะไรขึ้น
กองทัพทหารเมียนมาร์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ 1 ปีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (1 ก.พ.) และได้แต่งตั้งพล.อ. มินต์ ส่วย รองประธานาธิบดี เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว หลังจากที่ได้จับกุมนาง ออง ซาน ซู จี และเจ้าหน้าที่รัฐอาวุโสท่านอื่นๆ โดยกองทัพกล่าวว่า จะให้มีการเลือกตั้ง ที่เป็น “อิสระและยุติธรรม” หลังจากครบการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน 1 ปี
การเคลื่อนไหวดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่กองทัพทหารเมียนมาร์ เกิดความกังวลเกี่ยวกับการทำรัฐประหารเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยกล่าวว่า การจัดการดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นเนื่องจากว่ารัฐบาลไม่ได้ดำเนินการใดๆ จากข้อกล่าวหาของกองทัพ ในเรื่องการโกงการเลือกตั้งเมื่อเดือน พ.ย. ซึ่งพรรค National League for Democracy (NLD) ของนางออง ซาน ซู จี ชนะการเลือกตั้งด้วยเสียงข้างมากในสภาถึง 83% และรัฐบาลชุดนั้น ยังให้มีการเลือกตั้งทั้งๆที่เกิดการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส
แล้วเบื้องหลังที่แท้จริงของวิกฤตครั้งนี้ คืออะไร
1. ผู้ปกครองเมียนมาร์คือใคร?
เจ้าของรางวัลโนเบล นางออง ซาน ซู จี วัย 75 ได้กลับมามีอำนาจหลังจากชนะการเลือกตั้งแบบถล่มทลายในปี 2558 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ถูกจับกุมตัวไว้ในบ้านจากความพยายามต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และทำให้เธอได้กลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ในปี 2560 ชื่อเสียงของเธอในเวทีโลกถูกทำลายเมื่อชาวโรฮินยาหลายแสนคนได้หลบหนีการจัดการทางทหารในรัฐยะไข่ แต่เธอก็ยังคงเป็นที่ชื่นชอบในหมู่ชาวเมียนมาร์
กองทัพเมียนมาร์ ซึ่งเป็นรากฐานของประชาธิปไตยเมียนมาร์ในปี 2551 ในช่วงการเป็นประชาธิปไตยตั้งไข่ มองตนเองเป็นเหมือนผู้พิทักษ์ความเป็นเอกภาพและประชาธิปไตยของชาติ และยังได้มีตำแหน่งบทบาทในสภาในรัฐธรรมนูญด้วย
พรรคกองทัพเมียรมาร์นี้ รู้จักกันอีกชื่อว่า ตะมะดอว์ (Tatmadaw) ได้รับโควต้า 25% ของที่นั่งในสภาโดยที่ไม่ต้องได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งจะเป็นผู้ควบคุมดูแลกระทรวงกลาโหม มหาดไทย และกิจการชายแดน เพื่อให้ความมั่นใจงานสำคัญต่างๆในการเมือง
2. เหตุใดกองทัพจึงแสดงความท้าทายต่อการเลือกตั้งครั้งล่าสุด
กองทัพได้กล่าวหาการเลือกตั้งครั้งล่าสุดในเมียนมาร์หลายประการ เช่น ชื่อผู้ลงคะแนนที่ซ้ำกันในการนับคะแนนของท้องที่ต่างๆ และมีความไม่พอใจต่อการจัดการของคณะกรรมการเลือกตั้งในการร้องเรียนต่างๆ
กองทัพไม่ได้เปิดเผยว่า ความผิดปกติในการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นนั้น เพียงพอที่จะสามารถเปลี่ยนผลการเลือกตั้งหรือไม่
ความไม่พอใจนี้ คล้ายๆกับที่เกิดขึ้นกับพรรค Union Solidarity and Development Party (USDP) ซึ่งเป็นพรรคที่ปกครองเมียนมาร์ก่อนหน้านี้ และก่อตั้งโดยกองทัพ ซึ่งพรรคนี้ถูกโค่นอำนาจในปี 2554
พรรค USDP ถูกมองว่าเป็นตัวแทนกองทัพ ได้รับความอับอายจากการเลือกตั้งเนื่องจากได้เก้าอี้จากการเลือกตั้งไปแค่ 33 ที่ จาก 476 ที่
3. พรรค NLD และพรรคอื่นๆมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
นางซู จี ไม่ได้ให้ความเห็นใดๆเกี่ยวกับการที่พรรคของเธอชนะการเลือกตั้ง และไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับข้อร้องเรียนของกองทัพ แต่ พรรค NLD กล่าวว่า ข้อกล่าวหาของกองทัพนั้น ไม่มีมูล และความผิดพลาดใดๆในการเลือกตั้ง ก็ไม่ได้เปลี่ยนผลการเลือกตั้ง
จากพรรคที่ลงสมัครเลือกตั้งมากกว่า 90 พรรค มีเพียงแค่ 17 พรรคร้องเรียนในเรื่องความผิดปกติเล็กๆน้อยๆทั่วไป และพรรคเหล่านั้นเป็นแค่พรรคเล็กๆ ยกเว้น USDP นอกจากนี้ผู้สังเกตุการณ์การเลือกตั้งได้กล่าวว่า การลงคะแนนเสียงนี้ ไม่มีความผิดปกติร้ายแรงที่จะแสดงให้เห็นถึงการโกงการเลือกตั้ง หรือการทำให้การเลือกตั้งไม่น่าเชื่อถือ
4. กองทัพมีความเห็นว่าอย่างไร
โฆษกทหารได้จัดการแถลงข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อแถลงถึงข้อกล่าวหา แต่ก็ไม่ได้ตอบข้อซักถามใดๆเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย หรือความตั้งใจของกองทัพ
เขากล่าวว่า กองทัพจะ “ดำเนินการจัดการ” และใช้ทางเลือกที่มีทั้งหมด ซึ่งก็รวมถึงการยื่นต่อศาลฎีกา ทั้งนี้ ต่อข้อซักถามว่ากองทัพจะร่วมมือกับรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติหรือไม่ เขาเพียงแค่ตอบว่า “รอและคอยดู” ส่วนคำถามที่ว่าจะตัดเรื่องการรัฐประหารหรือไม่ เขาตอบว่า “ไม่สามารถให้คำตอบได้”
เมื่อวันเสาร์ (30 ม.ค.) กองทัพเมียนมาร์ได้กล่าวว่า จะปกป้องและให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
5. รัฐธรรมนูญเมียนมาร์กำหนดไว้อย่างไร
รัฐธรรมนูญเมียนมาร์ ระบุว่า ผู้บัญชาการทหารสูงสุด สามารถยึดอำนาจได้ในสถานการณ์ที่รุนแรงเท่านั้น ซึ่งสถานการณ์นั้นจะต้องเป็นเหตุให้เกิด “ความแตกแยกของเอกภาพและความสมัครสมานของคนในชาติ และการสูญเสียอำนาจอธิปไตย” แต่เรื่องการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น จะดำเนินการได้โดยประธานาธิบดีที่มาจากประชาชนเท่านั้น
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ ได้วางอุบายเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยบอกแก่เจ้าหน้าที่ทหารว่า รัฐธรรมนูญนั้นเป็น “แม่บทของกฎหมายทั้งหมด” และหากไม่มีการปฏิบัติตาม ก็ควรถูกถอน และเขายังได้พูดถึงตัวอย่างเหตุการณ์ก่อนหน้าที่เคยเกิดขึ้นในเมียนมาร์มาแล้ว
แล้วชาวโลกมีปฏิกิริยาอย่างไร
องค์การสหประชาชาติ หรือUN มหาอำนาจตะวันตก เช่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และ สหภาพยุโรป รวมถึงประเทศเพื่อนบ้านของเมียนมาร์อย่าง อินเดีย ต่างมีความกังวลต่อประชาธิปไตยในเมียนมาร์ และเรียกร้องให้กองทัพยุติการกระทำดังกล่าว และฟื้นฟูประชาธิปไตย ให้รัฐบาลประชาชนนำโดยนางซู จี กลับมามีอำนาจที่ถูกต้องตามกฎหมาย
จากการที่กองทัพกลับมาครองอำนาจอีกครั้ง การอยู่ร่วมกันของผู้นับถือศาสนาพุทธซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ กับชนกลุ่มน้อยอื่นๆ เช่น โรฮินยา ก็จะไม่ราบรื่น ยิ่งไปกว่านั้น หากมหาอำนาจาในโลกตัดสินใจว่าจะมีการคว่ำบาตรขั้นเด็ดขาดกับเมียนมาร์ ก็จะทำให้เศรษฐกิจเมียนมาร์ ซึ่งตอนนี้ก็พยายามจะฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโควิด ก็จะยิ่งถดถอยไปอีก
กองทัพ อาจจะแยกธุรกิจต่างประเทศออก แต่อาจจะยกเว้นธุรกิจของชาวจีน ซึ่งดูเหมือนว่าจะได้รับประโยชน์เชิงกลยุทธ์จากความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับเมียนมาร์ จากโครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative)
ความโกรธเคืองของประชาชนอาจจะระเบิดได้ทุกเมื่อ วิกฤตในปัจจุบัจนอาจจะยกระดับขึ้นกลายเป็นการประท้วงทั่วประเทศในไม่ช้า และอาจทำให้การเปลี่ยนผ่านทางประชาธิปไตยของเมียนมาร์ยากลำบากยิ่งขึ้น
ที่มาและภาพ:
โฆษณา