3 ก.พ. 2021 เวลา 12:50 • ไลฟ์สไตล์
“กระเป๋าสตางค์ช่วยเก็บเงิน”
5
ประโยคที่ว่า “วันนี้กระเป๋าสตางค์หนักจัง” แสดงว่าในกระเป๋านั้นต้องมีตังค์เยอะแน่ๆ
ผมก็เคยใช้ครับเพราะตอนนั้นผมเองก็มีเหรียญในกระเป๋าเยอะอยู่ (ไม่ใช่เเล้ว!)
3
รู้หรือไม่ว่า “กระเป๋าสตางค์ของคนที่มีเงินเก็บเยอะๆ นั้นเบามาก”
เริ่มต้นด้วยความเชื่อต่างๆ นาๆ เกี่ยวกับกระเป๋าสตางค์
• ใช้กระเป๋าตังค์แพงๆ หรือกระเป๋านำโชคทำให้มีเงินเก็บ
1
• ใช้กระเป๋าตังแบบยาว ทำให้เก็บเงินได้
4
• เรียงแบงค์ให้หันไปทางเดียวกัน เรียงสี ทำให้เก็บเงินได้
1
• ถ้าใช้กระเป๋าตังค์ราคาถูกจะเก็บเงินไม่อยู่
3
...
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็น “ความเชื่อครับ ไม่มีความหมาย” การที่จะมีเงินเก็บขึ้นมาได้นั้น คือ พฤติกรรมการใช้เงิน ดังนั้นเราลองเปลี่ยนพฤติกรรมและสร้างกลไกในการใช้จ่ายไม่ให้ฟุ่มเฟือยดูครับ
4
เเล้วเราสามารถทำอะไรกับ กระเป๋าสตางค์ ของเราได้บ้างล่ะ
•••
1. ลองใช้กระเป๋าสตางค์ราคากลางๆ ไม่ต้องแพงมาก
2
เพราะการที่เราใช้กระเป๋าราคาแพงๆ อาจส่งอิทธิพลให้เราต้องใช้จ่ายแพงๆ ไปด้วยอย่างไม่รู้ตัว เช่น คุณซื้อกระเป๋าแบรนด์เนมหลักแสน คุณก็คงจะอยากได้ชุดสวยๆ อยากไปกินร้านอาหารหรูๆ อยากที่จะควักเงินออกมาซื้อของ
3
ดังนั้นเพื่อเลี่ยงต่อการใช้เงิน ลองใช้กระเป๋ามาตรฐานพอดีกับตัวเองดูครับ
2
แต่ถ้าอยากมีกระเป๋าดีๆ สักใบไว้ออกงานสังคม นานๆครั้ง อันนี้ไม่ว่ากันครับ
4
2. มีบัตร ATM บัตรเครดิต เท่าที่จำเป็น
3
บางคนกระเป๋าตุงมากเต็มไปด้วยบัตร เราควรมีบัตร ATM สัก 2 ใบ บัตรเครดิต 2 ใบก็พอเเล้วล่ะครับ ที่เหลือเอาที่ไว้ใส่บัตรประชาชน ใบขับขี่ ก็จะพอดีกระเป๋า
4
ยิ่งมีบัตร ATM เยอะก็เสียค่าธรรมเนียมบัตรรายปีเยอะ เลือกธนาคารที่มีสาขาเยอะๆ มีบัตรเอาไว้ครับ นอกนั้นก็ไปยกเลิกบัตร เดี๋ยวนี้กดเงินโดยไม่ใช้บัตรได้แทบทุกธนาคารก็สะดวกนะครับ การมีบัตรเครดิตหลายใบเเน่นอนมันช่างน่ารูดจ่ายยิ่งนัก! ดังนั้นมีเท่าที่จำเป็นเเละเอาไว้สะสมเเต้มก็พอครับ
5
1
3. ลองใส่เงินในกระเป๋าสตางค์ให้น้อยกว่า 1,000 บาท
4
ใช่เเล้วครับวิธีนี้จะเป็นการ “จำกัดวงเงินการใช้จ่าย” ไปในตัว ควรคำนวณค่าใช้จ่ายเเต่ละวันและกดมาสำรองไว้รายสัปดาห์เท่าที่จำเป็น ช่วยเลี่ยงการใช้เงินได้
2
เเล้วถ้ามีเรื่องต้องใช้เงินเเล้วเงินสดไม่พอล่ะ! ก็ใช้ ATM หรือ บัตรเครดิตจ่ายก่อนครับเดี๋ยวนี้ก็สะดวกดีนะครับ ยิ่งใช้บัตรก็ยิ่งสะสมเเต้มเเลกส่วนลดได้ บางบัตรใช้จ่ายถึงวงเงินที่กำหนดก็จะไม่เสียค่าธรรมเนียม หรือได้เงินคืนก็มี *ปล.ใช้เเล้วต้องจ่ายคืนเต็มนะครับ อิอิ
3
4. พยายามกดเงินให้เป็นตัวเลข 400 หรือ 900 แทน 500 หรือ 1,000
8
การที่เรากดแบงค์ 1,000 มา มีโอกาศที่เราต้องใช้จ่ายเพื่อเเลกเป็นแบงก์ย่อย และการที่เราพกเงินสดน้อยๆ ก็มีผลให้เราประหยัดขึ้น และการกด ATM บ่อยๆ เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้เสียค่าธรรมเนียม
2
ลองมาดูว่าใน 1 เดือน : เรากดเงินมาใช้สัปดาห์ละ 2,000 แสดงว่ากด 4 ครั้ง ก็เป็น 8,000 บาท
แต่ถ้าเราลดมากดสัปดาห์ละ 1,800 กด 4 ครั้งก็จะเป็น 7,200 บาท
4
เห็นไหมคำเรามีโอกาสใช้เงินได้น้อยลงตั้ง 800 บาท
2
ซึ่ง 800 บาท นั้นสุดท้ายก็จะกลายเป็นเก็บนั่นเเหละครับ
5. จดบันทึกรายรับ-รายจ่าย
สมัยนี้ใช้แอปพลิเคชั่นในการจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายได้สะดวกมากๆ เพียงเเค่เราถ่ายรูประหว่างการใช้จ่ายเก็บไว้ พอถึงช่วงว่างๆ เช่น พักเที่ยง ระหว่างรอ BTS นั่งรถเมล์กลับบ้าน ในย้อนดูภาพถ่าย เราจะจำค่าใช้จ่ายได้เอง (จริงๆนะ บางทีผ่านมา 2 วันยังจำตัวเลขได้เลยขอแค่รู้ว่าใช้จ่ายค่าอะไร 555) ทำแบบนี้เป็นประจำจะช่วยควบคุมการใช้เงินและช่วยวางแผนการใช้เงินได้ครับ
3
แต่ถึงอย่างไร เราก็ควรประหยัดอดออม หารายได้ให้มากที่สุด ใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพให้มีเงินเหลือ ลงทุนให้เงินงอกเงย จะเป็นการดีที่สุดครับ
3
นี่ก็เป็นบทความแชร์ Trick เล็กๆ น้อยๆ ในการจัดกระเป๋าสตางค์ที่ผมนำมาฝากครับ
#Money tricks FundFun 90’s kids

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา