2 ก.พ. 2021 เวลา 20:12 • หนังสือ
เมื่อลังเลให้ตอบ Yes!
ข้อแตกต่างระหว่างคนที่สามารถคว้าโอกาสในการมีความสุข และคนที่ไม่สามารถคว้าโอกาสนั้นได้ อยู่ที่วิธีดำเนินการเมื่อเกิดความลังเล
ตัวอย่างเช่น เมื่อถูกขอร้องให้ช่วยงาน คุณซาโตโกะที่เป็นคนเนี๊ยบและทำงานเก่งที่สุดนั้น ตอบปฏิเสธว่า "ดิฉันยังไม่เก่งถึงขั้นนั้นหรอกค่ะ" แต่ในทางตรงกันข้าม คุณริสะโกะซึ่งเป็นคนที่ทำงานเก่งเป็นอันดับสอง ตอบรับที่จะทำงานนั้นอย่างสบายๆว่า "ยังไงจะลองพยายามทำดูนะคะ" ต่อมาในครั้งถัดไปคุณซาโตะโกะก็ปฏิเสธอีกและคุณริสะโกะก็รับงานไปทำ
เมื่อเป็นอย่างนี้ซ้ำกันหลายๆ ครั้ง ฝ่ายที่ต้องการให้ช่วยงานก็จะเริ่มรู้สึกว่า "ถามไปคุณซาโตโกะก็ปฏิเสธอยู่ดี ถามคุณริสะโกะไปเลยตั้งแต่ต้นดีกว่า"
แม้ว่างานที่ต้องการให้ช่วยจะเป็นงานที่คุณซาโตโกะมีความสนใจอยากทำอยู่ก็ตาม ในโอกาสที่แวะเวียนมาในตอนนั้น จะไม่แวะกลับมาอีกเป็นครั้งที่สอง ดังนั้น ควรที่จะเป็นโอกาสนั้นเอาไว้ก่อน !
จากตัวอย่างข้างต้น หากตอบไปว่า "อยากจะลองทำดูนะคะ แต้ขอเอาไปคิดดูสักสามวัน ได้ไหมคะ?" ถึงแม้จะลังเลและในที่สุดก็ปฏิเสธงานไปก็ตาม ฝ่ายตรงข้ามก็ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจอะไร และยังมีความเป็นไปได้สูงที่จะรู้สึกว่า "ไว้คราวหน้าลองถามดูใหม่แล้วกัน" อีกด้วย
หากมีนิสัยกักเก็บความโชคดีและพรหมลิขิตในการพบเจอกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญได้แล้ว ความเป็นไปได้ของคุณก็จะขยายกว้างขึ้นอีกไป
ปล.ขอบคุณสาระดีๆ จากหนังสือ เปิดสวิตซ์ความสุข เขียนโดย: โมโรโทมิ โยชิฮิโกะ
แปลและเรียบเรียง : วิลาสิณี รัตนเรืองไร
โฆษณา