3 ก.พ. 2021 เวลา 01:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
โครงสร้างโลก (Earth Structure) Ep.2
จาก Ep.1 ที่ผมได้พาทุกคนไปรู้จักกับคลื่นที่ใช้ศึกษาโครงสร้างของโลกกันมาแล้วนะครับวันนี้ผมจะพาทุกคนมารู้จักกับชั้นต่างๆของโลกกันครับ
โดยทั่วไปแล้วโลกของเราแบ่งออกเป็นชั้นๆ โดยที่เราอาศัยอยู่ชั้นบนสุดซึ่งเรียกว่า"เปลือกโลก"
เปลือกโลกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เปลือกโลกมหาสมุทรและเปลือกโลกทวีป
1) เปลือกโลกทวีป จะมีความหนาประมาณ 40 กิโลเมตร เปลือกโลกทวีปมักถูกเรียกว่า"ภาคพื้นทวีป"
2) เปลือกโลกมหาสมุทร จะมีความหนาประมาณ 10 กิโลเมตร เปลือกโลกมหาสมุทรมักถูกเรียกว่า"ภาคพื้นสมุทร"
รู้หรือไม่ เพราะเหตุใดเปลือกโลกภาคพื้นทวีปถึงมีความหนามากกว่าเปลือกโลกมหาสมุทร?
เพราะหินไซอัลบริเวณเปลือกโลกภาคพื้นทวีปจะหนากว่าชั้นหินไซอัลที่อยู่บริเวณเปลือกโลกใต้มหาสมุทร
นอกจากนี้เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้นคือ
1) เปลือกโลกส่วนบน มีลักษณะเป็นชั้นหินไซอัล (Sial) ประกอบด้วยแร่ซิลิกาและอลูมินา ซึ่งจัดเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง
2) เปลือกโลกส่วนล่าง มีลักษณะเป็นชั้นหินไซมา (Sima) ประกอบด้วยแร่ซิลิกา เหล็กออกไซต์ และแมกนีเซียม ในชั้นนี้ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์
ต่อจากชั้นเปลือกโลกลงไปคือชั้นที่เรียกว่า"เนื้อโลก"หรือเรียกว่า"mantle"
1)ชั้นเนื้อโลกเป็นโครงสร้างที่อยู่ระหว่างเปลือกโลกกับแก่นโลก มีความดันและความหนาแน่นสูงกว่าเปลือกโลกแต่น้อยกว่าแก่นโลก
2)ชั้นเนื้อโลกแบ่งออกเป็น 2 ชั้น เรียกว่า"เนื้อโลกชั้นบน (Upper mantle) และ เนื้อโลกชั้นล่าง (Lower mantle)
เนื้อโลกชั้นบน หนาประมาณ 600 km หินสถาพหลอมเหลว กำเนิดแมกมา พบหินอัลตราเมฟิก เรียกว่า"ฐานธรณีภาค"Asthenosphere ลึกลงกว่านี้ จะเริ่มเป็นสถานะของแข็ง
เนื้อโลกชั้นล่าง หนาประมาณ 2,300 km
( 600 - 2900km ) เนื้อโลกส่วนนี้ ต้องเป็นหินที่มีแร่ที่ทนต่อ แรงดันและอุณหภูมิและมีสถานะเป็น"ของแข็ง"
ถัดจากชั้นเนื้อโลก (mantle) ลงไปเราจะพบกับแก่นโลกซึ่งก็จะแบ่งออกเป็น 2 ชั้น เช่นเดียวกัน คือ
1) แก่นโลกชั้นนอก (Outer core) มีความหนาประมาณ 2,270 km ประกอบด้วย เหล็ก,นิกเกิ้ล
มีความร้อนสูงและมีสถานะเป็น"ของเหลว"
2) แก่นโลกชั้นใน (Inner core) เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี มีความหนาประมาณ 1,216 km
ประกอบด้วยเหล็กนิกเกิ้ลและมีสถานะเป็น"ของแข็ง"
Ep.หน้าผมจะพาไปดูเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของโลกกันนะครับไว้เจอกันครับทุกคน
Reference
โฆษณา