3 ก.พ. 2021 เวลา 04:33 • ปรัชญา
คุณ​มองโลก​ในแง่​ไหน​
คุณมองโลกในแง่ไหน
ทุกคน​มีความอิสระ​ในการคิด​ บางคนคิดในแง่​ดีแต่อีกบางคนคิดในแง่​ไม่ดี​ มุมมองจากความนึกคิดของแต่ละคนไม่​เหมือนกัน​ ดังมีคำกวี อยู่บทหนึ่งทำให้ความหมายชัดเจนขึ้นคือ
"สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมอง เห็นโคลนตม คนหนึ่งตา แหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย"
คำกลอนข้างต้น ได้บรรยายให้เห็นถึงสภาพของนักโทษสองคน ที่ติดคุกอยู่ มีโอกาสมองลอดออกไปจากชี่ลูกกรงที่จะได้เห็นโลกภายนอก นักโทษคนหนึ่งมองไปที่ต่ำก็เห็นแต่โคลนตม แล้วก็นึกว่าโลกนี้มีแต่ความเลวร้าย ไม่มีอะไรดีกับชีวิตของตนเลย ทำให้เกิดความเหนื่อยหน่ายและ ท้อถอยหมดกำลังใจ
ส่วนอีกคนหนึ่งมีกำลังใจอยู่เสมอ เมื่อมองออกไปข้างนอก ก็ พยายามมองสูงสู่ท้องฟ้า ทำให้เห็นดวงดาวพราวพรายระยิบระยับ อัน เป็นเหตุทำให้มองโลกด้วยความหวัง
ดังนั้นคนที่มองโลกในแง่ดีไม่สิ้นหวังต่อความเมตตาของอัลลอฮฺ ก็ย่อมทำให้เขาเป็นผู้มีจิตใจเบิกบานแจ่มใสได้ง่าย เมื่อมีอะไรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะร้ายแรงเพียงใดก็ตาม ก็จะเห็นเป็นสิ่งดี เป็นประโยชน์แก่ตัวเอง เสมอเหมือนคำพูดที่ว่า "ทำวิกฤติให้เป็นโอกาส"
คนที่มาเกี่ยวข้องย่อมมีความรู้สึกอยากร่วมพูดคุยด้วย เพราะ จิตใจที่ร่าเริงเบิกบานอยู่เสมอ ย่อมเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่จะจูงใจให้คน อยากเข้าใกล้ ตรงกันข้ามกับคนที่ทำตัวเป็นทุกข์ จับเจ่า โศกเศร้า และ วิตกกังวลจะไม่มีใครอยากเข้าใกล้ เพราะไม่มีมนุษย์คนใดอยากรับรู้ หรือแบกรับความทุกข์ของคนอื่น ดังที่มีภาษิตฝรั่งที่บอกว่า "เมื่อท่าน หัวเราะ โลกก็จะร่วมหัวเราะกับท่าน แต่เมื่อท่านร้องไห้ ท่านจะต้อง ร้องไห้เพียงคนเดียว"
เรามีอัลลอฮฺเท่านั้นที่จะรับรู้ในความสุข หรือความทุกข์ของเรา เมื่อเรามีความประสงค์ก็ต้องบอกพระองค์ และขอต่อพระองค์ ไม่ว่าจะเป็น การขอให้ได้สิ่งที่งาม หรือขอให้ผ่านพ้นไปจากปัญหาทุกข์ยากทั้งหลาย​
อาจารย์วิทยา วิเศษรัตน์ใด้อธิบาย​เกี่ยวกับ​เรื่อง​นี้​ในคุตบะฮฺของท่าน​ ในการฝึกจิตใจ​ให้​เบิกบาน​ว่าได้นั้นมีแนวทางด้านจิตวิทยาดังนี้
ฝึกมองเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในแง่ดีไว้ก่อน เพราะจะ ทำให้ใจไม่กังวลเป็นทุกข์ สับสน จนไม่สามารถแก้ปัญหาได้
* มุสลิมต้องนึกอยู่เสมอว่า ในคำสอนของอิสลามไม่มีคำว่า เคราะห์กรรม แต่เกิดขึ้นด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺ ซึ่งถือว่าเป็น การทดสอบความศรัทธาและความอดทน
* ควรคบกับคนที่มีอัธยาศัยรื่นเริงเบิกบานแต่ไม่ไร้สาระ และ พยายามออกห่างคนที่ชอบความเบื่อหน่ายในชีวิต และมอง โลกในแง่ร้ายอยู่ตลอดเวลาอันเป็นเหตุทำให้เรารู้สึกเครียดไปด้วย
* การฝึกใจให้เป็นสันโดษ ผู้ที่ไม่คิดเบียดเบียนหรืออิจฉาริษยา คนอื่น และรู้จักหาความสุขจากสิ่งที่ตัวเองมีอยู่ คนแบบนี้ที่ท่านนบี​ صلى الله عليه وسلم สั่งให้เราได้เข้าใกล้
* ต้องระวังตัวอย่าทำลายความรื่นเริงเบิกบาน อันได้แก่ ความวิตก กังวล อันเนื่องจากไม่รู้จักการมอบหมายต่ออัลลอฮฺ หรือที่ เรียกว่า "ตะวักกุล"
* ต้องฝึกใจให้กล้าสลัดความทุกข์ออกไป และเอารอยยิ้มแทน ความหน้าบึ้ง
นี่แหละที่ท่านนบี​ صلى الله عليه وسلم ให้เราหัดทำทาน ด้วยรอยยิ้มเพราะการยิ้ม คือทานอันประเสริฐ
โฆษณา