3 ก.พ. 2021 เวลา 11:35 • สัตว์เลี้ยง
EP3:การเพาะเลี้ยงปลากัด (โดยสังเขป)
ท่านสามารถเปิดการอ่านอัตโนมัติ ตามสัญญาลักษณ์นี้
อย่าลืมกด "ติดตาม" เพื่อเป็นกำลังใจให้ ลุงบุญ ด้วยนะจ๊ะ
ปลากัด ( Betta )
ปลากัดเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง
ที่ได้รับความนิยม ทั้งในและต่างประเทศ
คนไทยรู้จักปลากัดมาแต่โบราณ
ปลากัด อยู่ในวิถีชีวิตชุมชน
แต่ก่อนในชนบทมีการละเล่นกัดปลามาช้านาน
เรียกว่าปลากัดหม้อ
ปลากัดป่า
ซึ่งถูกแบ่งออกไปตามถิ่นที่อยู่ ตามภูมิภาค เช่น
ปลากัดป่าอิสาน
ปลากัดป่ามหาชัย เป็นต้น
ในปัจจุบันปลากัดถูกปรับปรุงพันธุ์
ให้มีลักษณะโดดเด่นสวยงาม
จนได้รับการรับรองให้ปลากัด
เป็นสัตว์น้ำประจำชาติไทย
การเพาะเลี้ยงปลากัด
ในขณะที่ผู้เขียนได้เริ่มเขียนบทความนี้
เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ผู้เขียน
ได้ทำการศึกษา
ทดลอง
หาวิธีการเพาะเลี้ยงปลากัด
และนำวิธีที่ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดให้ผู้สนใจ ลงในบทความนี้
ในบทความนี้
เราจะเริ่มจากการเพาะเลี้ยงอาหารสำหรับลูกปลาแรกเกิด
1-15 วัน
ไปจนถึงการอนุบาลลูกปลา
และการเลี้ยงปลากัด จนสามารถจำหน่ายได้
อาหารสำหรับลูกปลาแรกเกิด
อาหารสำหรับลูกปลาแรกเกิดมีหลายชนิด
แล้วแต่ผู้เพาะเลี้ยงจะมีความชำนาญในการใช้อาหารชนิดใด
ในบทความนี้ผู้เขียน
ได้ยกการใช้พารามีเซียมมานำเสนอ
เพราะ ทุกท่านสามารถเพาะเลี้ยงได้ง่ายและสะดวกต่อการนำมาใช้
การเพาะเลี้ยงพารามีเซียม
พารามีเซียม
เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจำพวกโปรโตซัว เป็นแพลงตอนสัตว์
ปัจจุบันพบว่าลูกปลาวัยอ่อนสามารถกินพารามีเซียมเป็นอาหารได้
และเกษตรกรสามารถดำเนินการเพาะเลี้ยงพารามีเซียม ให้เพิ่มจำนวนได้ง่าย
ทำให้พารามีเซียม กลายเป็นอาหารธรรมชาติ
ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน 
โดยเฉพาะในธุรกิจการเลี้ยงปลาสวยงาม 
 เพราะทำให้ลูกปลาวัยอ่อน
ที่มีขนาดเล็ก
เจริญเติบโตรวดเร็ว  
และมีอัตราการรอดสูง   
มีความสำคัญสำหรับผู้เพาะเลี้ยงปลากัด   
ปลาปอมปาดัวร์   
ปลาเทวดา  
ปลาม้าลาย 
และปลาซิวชนิดต่างๆ  
ที่สำคัญคือผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงามทั่วไป
สามารถเตรียมพารามีเซียม และดำเนินการเพาะเลี้ยงได้เอง
พารามีเซียมมักเกิดในบริเวณ
ที่มีการเน่าของอินทรีย์วัตถุ
ไม่ว่าจะเป็น ซากพืช เช่น ใบไม้ ใบหญ้า
ซากสัตว์ หรือเศษอาหาร
(การเพาะเลี้ยงพารามีเซียม
เริ่มจากการนำ
น้ำขี้ปลาก้นบ่อประมาณ 1 ลิตร
ใส่ในภาชนะ
หลังจากนั้นนำใบผักบุ้ง 4-5 ใบ
ขยี้ให้เป็นเมือกแล้วละลายลงไปในน้ำขี้ปลา
หลังจากนั้นนำนมสดรสจืด
ใส่ลงไปประมาณครึ่งซีซี
คนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง
ก็สามารถนำพารามีเซียมไปอนุบาลลูกปลาได้
เมื่อนำพารามีเซียมไปใช้แล้ว
สามารถเติมน้ำ และ นมสดรสจืด
เพื่อขยายพารามีเซียม
ไว้ใช้ในวันถัดไปได้
อย่างไรก็ดีควรเพาะพารามีเซียม สำรองไว้ 2 ชุด
การเลือกพ่อแม่พันธุ์
พ่อพันธุ์ปลากัด
การเลือกพ่อพันธุ์
พ่อพันธุ์ปลากัดที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะทำการผสมพันธุ์
จะสร้างฟองอากาศ(หวอด)ไว้บนผิวน้ำ แสดงถึงความพร้อมที่จะผสมพันธุ์
ลักษณะนิสัยของพ่อพันธุ์
พ่อพันธุ์แต่ละตัวมีลักษณะนิสัยการผสมพันธุ์การเลี้ยงลูกแตกต่างกันไป รวมถึงลักษณะที่ตรงตามมาตรฐานการประกวด
ดังนั้นจึงต้องทำการคัดเลือกพ่อพันธุ์ประจำฟาร์มซึ่งเรื่องนี้จะขอพูดใน EP ถัดไป
หวอดของปลากัด
การเลือกแม่พันธุ์
ลักษณะแม่พันธุ์ที่พร้อมสำหรับการผสมพันธุ์นั้น
จะมีลักษณะท้องอูมใหญ่
สามารถสังเกตุเห็นฝักไข่
และมีท่อนำไข่เป็นตุ่มสีขาวยื่นออกมาจากบริเวณใต้ท้อง
การเตรียมบ่อเพาะ
ให้นำอุปกรณ์ทุกชิ้น ล้าง ทำความสะอาด และ นำไปตากแดดจัด 1 แดดเสมอ
การเตรียมบ่อเพาะในแต่ละ ฤดูนั้นมีการใช้บ่อเพาะที่แตกต่างกันไปในแต่ละฤดู
ซึ่งขึ้นอยู่กับความถนัดของเจ้าของฟาร์มนั้นๆ
ในที่นี้ผู้เขียนจะขอยกเอาบ่อเพาะ
ที่สามารถใช้ได้ในทุฤดูกาล
และผู้เขียนได้ทดลองเพาะเลี้ยงแล้ว
ได้ผลจริงมานำเสนอ
บ่อเพาะแบบ ลังโฟม
ผู้เขียนใช้ลังโฟมขนาด
กว้าง 15 นิ้ว
ยาว 20 นิ้ว
สูง 12 นิ้ว
มีฝาปิด
การเตรียมน้ำ
ผู้เขียนใช้น้ำดื่มถังขาว
ขนาด 18 ลิตร
ที่เราซื้อมาบริโภคกันตามครัวเรือน
เหตุที่ต้องใช้น้ำถังขาวนี้
เพราะน้ำประปานั้นมีคลอรีน
ถึงแม้นำมาพักแล้ว
บางครั้งก็ยังมีอันตรายกับปลาอยู่ดี
ส่วนน้ำบาดาลนั้นมีหินปูนสูง
ทำให้ไข่ไม่ฟักตัว
ฮีตเตอร์
ผู้เขียนใช้ ฮีตเตอร์
ขนาด 50 วัตต์
ปรับอุณหภูมิ ให้อยู่ที่
28 องศาเซลเซียส
โดยใช้เทอร์โมมิเตอร์อีกอัน
วัดอุณหภูมิน้ำ
ปั๊มอ๊อกซิเจน
วางหัวทรายให้อยู่ใต้ ฮีตเตอร์
เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำ
ช่วยให้อุณหภูมิน้ำคงที่
เหตุผลที่ผู้เขียนใช้ ฮีตเตอร์
ด้วยเหตุที่ว่า
ผู้เขียนได้วัด อุณหภูมิของน้ำในเวลา 15:00 น.
เปรียบเทียบกับเวลา 03.00 น. มีความต่างกันเกิน 5 องศาเซลเซียส
ซึ่งเป็นสาเหตุให้
ไข่ไม่ฟัก
ลูกปลาร่วงตาย
ปั๊มอ๊อกซิเจน (ปั๊มลม)
การใช้ ปั๊มอ๊อกซิเจน เพราะปัญหาน้ำเน่า
อ๊อกซิเจนในน้ำถูกใช้ตั้งแต่นำพ่อแม่ปลาลงรัด
หลังจากลูกปลาฟัก
และเราให้อาหารลูกปลา
อ๊อกซิเจนจะถูกใช้หมดไป
ทำให้เกิดการเน่าเสียของน้ำ
จึงต้องเติมอ๊อกซิเจนตั้งแต่แรก
เพื่อประคอง ไม่ให้น้ำเน่า
ซึ่งเป็นสาเหตุการร่วงของลูกปลา
ไม้น้ำ
การใส่ไม้น้ำ
เราวางบ่อเพาะในที่ร่ม
ฉะนั้นการใส่ไม้น้ำแต่แรกนั้น
แทนที่ไม้น้ำจะช่วยเพิ่มอ๊อกซิเจน ในน้ำ
กลับเป็นตัวดึงอ๊อกซิเจนออกจากน้ำมาใช้
และ คายคาบอนไดออกไซด์ กลับสู่น้ำ
ยิ่งทำให้อ๊อกซิเจนในน้ำลดลง
รวมถึงการใส่วัสดุอื่น
เช่น ใบหูกวาง เศษหญ้า ฯลฯ
จะเกิดการหมัก
ก็เป็นการดึงอ๊อกซิเจนจากน้ำ
มาใช้ และ เพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์
ให้กับน้ำ
ดังนั้น การใส่ไม้น้ำ
จึงจำเป็นต้องเลือกไม้น้ำ
ที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ในที่มีแสงน้อย
เรามาเริ่มกันเลย
ขั้นตอนแรกเลือกสถานที่ตั้งลังโฟม
ไม่ให้มีอะไรรบกวนได้
ให้มีความสว่าง
แต่แดดส่องไม่ถึง
เรียกว่าร่มแต่ไม่มืด
มองเห็นได้ดี
นำน้ำเทใส่ลังโฟม
ให้มีความสูงประมาณ 4 นิ้ว
หาใบไม้แห้ง ขนาด 1 ถึง 2 นิ้ว
ลอยน้ำไว้ 3 ถึง 4 ใบ ให้ใบไม้เกาะกลุ่มกันไว้
ติดตั้ง ฮีตเตอร์ และ ระบบอ๊อกซิเจน
เปิดระบบ ทิ้งไว้ 1 คืน
ตอนเช้า วัดอุณหภูมิน้ำ
ปรับฮีตเตอร์ให้ทำความร้อน อยู่ระหว่าง
27 ถึง 31 องศาเซลเซียส
ในฤดูร้อนอาจสูงกว่า 31 องศาเซลเซียส
ให้คุมที่อุณหภูมิต่ำไว้
อย่าต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส
การนำพ่อแม่พันธุ์ลงบ่อเพาะ
เมื่อปรับสภาพบ่อเพาะ
และ อุณหภูมิน้ำได้แล้ว
ให้นำพ่อพันธุ์ลงบ่อเพาะ
พ่อพันธุ์จะเริ่มว่ายน้ำ
สำรวจไปรอบๆบ่อเพาะ
ในขณะเดียวกัน
ให้เรานำแม่พันธุ์ ใส่โหล กลม หรือ เหลี่ยม ก็ได้
ปรับระดับน้ำในโหลให้เท่ากันกับในบ่อเพาะ
วางไว้กลางบ่อเพาะ
ทิ้งไว้ 1-2 วัน สังเกตุว่า พ่อปลาก่อหวอดมากพอ
จึงเทแม่ปลา ลงบ่อเพาะ แล้วปิดฝา ลังโฟมไว้
พร้อมเขียนวันที่ลงรัดไว้ที่ฝาบ่อเพาะ
ทิ้งพ่อแม่พันธุ์ไว้ในบ่อเพาะ
เปิดดู ตอนเย็นของวันถัดไป
หากแม่ปลายังไม่วางไข่ให้ปิดฝาไว้อย่างเดิม
แล้วกลับมาเปิดดูในวันถัดไป
ครบ 3 วัน หากแม่ปลายังไม่วางไข่ ให้นำแม่ปลา และ พ่อปลา กลับไปขุนใหม่
หากแม่ปลาวางไข่แล้ว
ให้ใช้สวิงตักแม่ปลาออกในตอนมืด อย่างเบามือ
ระวังอย่าให้น้ำกระเทือน
แล้วบันทึก วันที่ไว้ที่ฝาบ่อเพาะ เป็นวันออกไข่
เมื่อแม่ปลาวางไข่แล้ว
ให้ปิดฝาไว้ นับไปอีก 4 วัน จึงเปิดดู
อย่างระวังและเบามือ
ในวันนี้ ลูกปลา จะเริ่มว่ายน้ำวนรอบตัวเอง บางตัวตกลงก้นบ่อ พ่อปลาจะอมลูกปลากลับมาพ่นใส่ในหวอด ในวันนี้ ให้นับอายุลูกปลาเป็นวันที่ 1
จดบันทึกไว้ที่ฝาบ่อ เป็นวันไข่ฟัก
ลักษณะ พ่อปลาอมลูก และ การใช้เทอโมมิเตอร์)
เมื่อลูกปลามีอายุ 5 วันจะเริ่มว่ายออกจาก หวอด ลักษณะการว่ายจะขนานกับพื้นโลก เริ่มว่ายพุ่งตัวไปข้างหน้า เราเริ่มให้
พารามีเซียม ในวันนี้
ในระยะนี้ สามารถนำสาหราย ใส่ให้ลูกปลาเกาะได้
ใส่แบบบางๆ
ในระยะนี้ ให้สังเกตุ การว่ายน้ำของลูกปลา หากลูกปลาว่ายน้ำกระจายตัวไปทั่วบ่อ ให้เรานำพ่อปลาออก ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงที่ลูกปลาอายุได้ประมาณ 8-10 วัน นับรวมจากวันที่แม่ปลาออกไข่ จะอยู่ในช่วง 10-15 วัน
ตลอดระยะเวลาการเพาะเลี้ยง เราจะไม่ปิดฝาจนสนิท จะเปิดแง้มไว้ตรงช่องที่สายอ๊อกซิเจนเข้า เพราะ ปลากัดมีพฤติกรรม ตอบสนองต่อกลางวันและกลางคืนแตกต่างกัน
หลังจากนำพ่อปลาออกแล้วต้องหมั่นดูอย่าให้มียุงหรือแมงปอมาวางไข่ หรือ มีสัตว์อื่นเข้าไปใน บ่อเพาะ
การอนุบาล ลูกปลา
หลังจากลูกปลาสามารถว่ายน้ำได้เองแล้ว และ เรานำพ่อปลาออก
เราเริ่มให้ พารามีเซียม
โดยใช้ภาชนะ ขนาดเล็ก ตัก พารามีเซียม ที่เพาะไว้ผสมกับน้ำดี ในอัตราส่วนเท่ากัน แล้ว ค่อยๆริน ลงไปในบ่อเพาะ ทำเช่นนี้
เช้า เย็น เปิดฝาไว้ในตอนกลางวัน
ให้แสงส่องถึง อนุบาลลูกปลาเช่นนี้ต่อไปอีก 5 วัน
ซึ่งตอนนี้ ลูกปลามีอายุ 10 วันหลังฟักออกจากไข่
ในวันที่ 11 ผู้เขียนเริ่มให้ไข่อาทีเมีย ฟอกเปลือก
โดยโรยให้ลอยบนผิวน้ำเล็กน้อย
และ ยังคงให้ พารามีเซียม เช่นเดิม
ปริมาณออกซิเจนในน้ำ
ในวันที่ 16 ผู้เขียนเริ่มเพิ่มปริมาณน้ำดี
ให้กับบ่อเพาะ โดย การใช้ภาชนะขนาดเล็ก
ตักน้ำดีค่อยๆรินลงไปในบ่อเพาะ
2-3 ครั้ง ทำเช่นนีทุกวัน
จนปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 30% ซึ่งอาจใช้เวลา ถึง 10 วัน
อุณหภูมิน้ำ
อุณหภูมิน้ำ ที่ผู้เขียนใช้แล้วได้ผลมากที่สุด อยู่ที่ 29-31 องศาเซลเซียส
พ่อ - แม่ ปลารัดเร็ว ลูกปลาฟักภายใน 3 วัน
ลูกปลาไม่ร่วงตายตอนกลางคืนเพราะ อุณหภูมิลดต่ำ
Under Construction
โฆษณา