5 ก.พ. 2021 เวลา 12:00 • ประวัติศาสตร์
วันนี้เรามาเชิญชวนคุณ
ร่วมดื่มด่ำกับความเหงา กับ Edward Hopper
Nightawks,1942 : Edward Hopper
Nightawks,1942
ภาพร้านอาหารที่หลายคนคุ้นตา เป็นร้านอาหารแห่งหนึ่งระแวก Greenwich Village,Manhattan กำลังถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกที่โดดเดี่ยว
และเปลี่ยวเหงา โดยศิลปินชาวอเมริกัน
อย่าง “Edward Hopper”
ศิลปินแนวสัจนิยม หรือ Realism
นิยมวาดภาพชีวิตของเมืองนิวยอร์ก
อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ หรือปั้มน้ำมัน
แต่สิ่งที่ Hopper โปรดปราน และเป็นสิ่งเล่าขานว่ามีเสน่ห์ ในภาพของเขามากที่สุด คือการวาดบานหน้าต่าง และเงาสะท้อนบนพื้นผิววัตถุ
สิ่งนี้จึงเปรียบได้กับ ลายเซ็นต์บนภาพวาดของเขานั้นเอง
"Edward Hopper"
ดื่มด่ำความเหงา กับ "Nightawks,1942"
ร้านอาหารย่าน Greenwich village
ในเมืองที่ไม่เคยหลับไหลอย่าง Manhattan
หนึ่งในเขตการปกครองท้องถิ่นของ New York
ภายในร้านนอกจากจะแสดงให้เห็น
พนักงานชายที่กำลังทำงานผ่านหลังเคาท์เตอร์
คุณสามารถเห็นคู่รักชายหญิง ที่นั่งแนบชิดกัน หากสังเกตุมือของทั้งสองนั้น แทบจะสัมผัสกันอยู่แล้ว แม้คุณจะนิยามตัวเองว่าเป็นคนขี้เหงาขนาดไหน คงรู้สึกได้ว่าฉากนี้กำลังแสดงออกถึงความรักโรแมนติกอยู่นั่นเอง
แต่คุณรู้สึกไหมว่าความโรแมนติกนี้ มันช่างขัดกับภาพของชายโดดเดี่ยวใส่สูทที่นั่งถัดไป
ด้วยอารมณ์ที่ขัดแย้งกันของภาพ จึงทำให้ชายผู้นี้ดูเป็นจุดเด่นขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
และด้วยจุดเด่นที่นี้เอง ทำให้ภาพสื่อได้ถึงความรู้สึก เหงา เศร้า และโดดเดี่ยวขึ้น
Hopper ได้กล่าวว่า จริงๆแล้วถนนเส้นนี้ ไม่ใช่ถนนที่เงียบเหงาอย่างที่หลายคนคิด แต่อาจด้วยความเดียวดายในเมืองใหญ่ ทำให้เขาเผลอแสดงความรู้สึกเหล่านั้นออกมาโดยไม่รู้ตัว
Greenwich Village,Manhattan ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ภาพ Nightawks ยังเปรียบได้ดั่งขุมทรัพย์แรงบันดาลใจให้นักสร้างหนังมากมาย เนื่องจากสี และองค์ประกอบที่มีสเน่ห์ และชวนหลงไหล ทำให้ผู้กำกับบางคนเลือกที่จะเอาภาพนี้มาประยุกต์ใช้กับหนังหลายเรื่อง
ตัวอย่าง โปสเตอร์ CSI Season 5
CSI Series
ดื่มด่ำกับความเหงา กันแล้ว
อย่าลืมกดติดตามเป็นกำลังใจ หรือสามารถติชมได้นะคะ
เกร็ดความรู้
สัจนิยม : ศิลปะที่ซึ่งแสดงให้เห็นชีวิต และโลกอย่างสมจริง
(นิยามจาก Oxford Languages)
ผู้เขียน : Sulakkhana Thipmongkol
โฆษณา