5 ก.พ. 2021 เวลา 01:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เหตุใดรูปแบบชานเมืองจึงเป็นอุปสรรคต่อการสร้างเมืองที่เดินได้ในสหรัฐอเมริกา?
(Why suburban layout is a barrier to a walkable city in the United States)
ภาพจาก https://www.thecitytopic.com
เมื่อเราพูดถึงการพัฒนาเมืองในสหรัฐอเมริกามีคำ ๆ หนึ่งที่มักจะปรากฏในการสนทนาใด ๆ นั่นคือการ "แผ่กิ่งก้านสาขา" หรือ "Urban sprawl"
ชานเมืองที่แผ่ขยายไม่มีที่สิ้นสุดของเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นผลมาจากการวางผังเมืองหลายทศวรรษตาม "วิถีชีวิตแบบอเมริกัน" การสร้างย่านที่มีความหนาแน่นน้อยล้อมรอบด้วยธรรมชาติ (หรืออย่างน้อยก็ทุ่งหญ้า) และเชื่อมต่อกับศูนย์กลางทางการเงินด้วยทางหลวง การพัฒนา "ที่มุ่งเน้นรถยนต์" ซึ่งมีงานวิจัยที่ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางยืนยันแน่ชัดถึงผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาดังกล่าว และมีส่วนทำให้เกิดสภาวะวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่โลกกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน
ในทางตรงกันข้ามกับการแผ่กิ่งก้านสาขาชานเมือง มีแนวคิดที่แตกต่างกันได้เกิดขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาซึ่งสนับสนุนรูปแบบเมืองที่มีขนาดกะทัดรัด กระชับ และมีประสิทธิภาพ รวมถึงลดการพึ่งพารถยนต์ให้น้อยลง คือกรณีของเมืองแห่งการเดิน ซึ่งเรียกกันว่า “เมือง 15 นาที” ซึ่งอ้างอิงจาก Patrick Sisson จาก The City Monitor
“เมือง 15 นาทีเป็นแนวทางในการออกแบบเมืองที่มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตโดยการสร้างเมืองที่ทุกสิ่งที่ผู้อยู่อาศัยต้องการ สามารถเข้าถึงได้ภายใน 15 นาที โดยการเดิน การปั่นจักรยานหรือการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ” ซึ่งหมายความว่า บริการชุมชน เช่น โรงเรียน ศูนย์การแพทย์ และสวนสาธารณะ รวมทั้ง สถานที่ทำงานของเรา ควรอยู่ในระยะทางที่ไม่จำเป็นต้องใช้รถยนต์หรืออนุญาตให้ใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้โดยสะดวก
ภาพจาก https://www.facebook.com/thailandfuturefoundation
ทั้งนี้ ในเมืองต่าง ๆ เช่น ปารีส และอัมสเตอร์ดัม ซึ่งมีความหนาแน่นของเมืองค่อนข้างสูง โครงสร้างพื้นฐานทางจักรยานที่แข็งแกร่ง และเครือข่ายการขนส่งที่ดี การประยุกต์ใช้ "เมือง 15 นาที" ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ในโมเดลชานเมืองของอเมริกาการรับประกันว่าการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพและใกล้ชิดนี้ มีความซับซ้อนกว่ามากไม่เพียงเพราะการพัฒนาเหล่านี้ มีความหนาแน่นต่ำเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะการกำหนดค่าเชิงพื้นที่ด้วย
เมืองในอเมริกาส่วนใหญ่ เติบโตมาจากรูปแบบทางเรขาคณิตที่เรียบง่าย เพื่อให้ใช้งานได้ง่าย นั่นคือ รูปแบบตาตาราง การกำหนดค่านี้อนุญาตให้วางแนวปฏิบัติได้จริง รวมทั้งมีระเบียบที่ค่อนข้างง่าย สำหรับการขยายเมืองในภายหลัง อย่างไรก็ตามด้วยความสะดวกในการซื้อรถยนต์และความต้องการที่อยู่อาศัยใหม่สำหรับชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่เป็นธรรมชาติ มากขึ้นและการจัดวางแบบกริดน้อยลงจึงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ
แน่นอนว่านี่ไม่ใช่สิ่งประดิษฐ์ของชาวอเมริกัน แนวคิดของที่อยู่อาศัยในย่านชานเมืองได้รับการพัฒนาแล้วในแบบจำลองตามทฤษฎีของ Garden City ตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 19 โดยมีตัวอย่างมากมาย เช่น Welwyn Garden City ในอังกฤษหรือ Canberra ในออสเตรเลีย อย่างไรก็ตาม หากจะนำมาประยุกต์ใช้ในสหรัฐอเมริกาที่ย่านชานเมืองจะได้รับความนิยมมากที่สุด ซึ่งจะมีความเบี่ยงเบนไปจากแนวคิดเริ่มต้นค่อนข้างมาก เนื่องจากทฤษฎี Garden City เป็นมากกว่าการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างเดียว แต่เป็นเมืองที่สำคัญที่สามารถสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้อยู่อาศัยได้
ทั้งนี้ รูปแบบที่พบมากที่สุดของเมืองชาวอเมริกัน ประกอบด้วย โค้ง หรือ Cul-de-Sac ถนนซึ่งจะใช้เฉพาะชาวบ้านที่จะเดินทางไปและกลับจากบ้าน ในสภาพแวดล้อมที่มีการจราจรของยานพาหนะต่ำ ซึ่งได้สร้างถนนที่เงียบสงบและสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม การออกแบบลักษณะนี้ได้นำไปสู่การก่อตัวของย่านที่อยู่อาศัยที่เชื่อมต่อกับบริการชุมชนในท้องถิ่นที่ไม่ก่อให้เกิดการเดินทางด้วยรูปแบบอื่น ๆ ได้ นอกจากรถยนต์ เพราะทำให้มีระยะทางไกลแม้การเดินทางไประหว่างบ้านเองก็ตาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากลำบากในการที่จะเดิน
กรณีต่อไปนี้แสดงให้เห็นว่ารูปแบบชานเมืองในสหรัฐอเมริกาก่อให้เกิดข้อเสียที่สำคัญสำหรับการเข้าถึงของคนเดินเท้าอย่างไร:
1. การเข้าถึงบริการชุมชน แผนที่นี้แสดงให้เห็นว่าชานเมืองที่ตั้งอยู่ใน San Antonio, TX ในตัวอย่างนี้การออกแบบถนนบังคับให้บุคคลที่อาศัยอยู่ในสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางหรือพื้นที่สำคัญต้องเดินมากกว่าครึ่งไมล์ไปยังโรงเรียนประถมศึกษาในท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ติดกับบ้านของเขาหรือเธอ
ภาพจาก https://www.thecitytopic.com
ภาพจาก https://www.thecitytopic.com
2. การเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ ในสถานการณ์นี้ผู้อยู่อาศัยในบ้านที่มีเครื่องหมายบนแผนที่ อาศัยอยู่ใกล้กับป้ายรถเมล์ท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ในชานเมืองฟลอริดา อย่างไรก็ตามเนื่องจากการจัดวางพื้นที่ใกล้เคียงบุคคลนี้ต้องเดินนานกว่า 15 นาทีเพื่อใช้บริการขนส่งสาธารณะ
ภาพจาก https://www.thecitytopic.com
ภาพจาก https://www.thecitytopic.com
3. การเชื่อมต่อระหว่างเพื่อนบ้าน แผนที่นี้แสดงให้เห็นถึงชานเมือง Pittsburgh, PA เนื่องจากรูปแบบถนนของผู้อยู่อาศัยที่อาศัยอยู่ในจุดแบ่งเขตจะต้องเดินนานกว่าครึ่งชั่วโมง เพื่อเยี่ยมเพื่อนบ้านที่อาศัยอยู่ห่างออกไปเพียง 320 ฟุต (97.5 ม.)
ตัวอย่างข้างต้นแสดงให้เห็นถึงข้อเสียบางประการ ที่รูปแบบชานเมืองในสหรัฐอเมริกาสร้างขึ้นนั้นยังไม่เหมาะสำหรับเมืองที่มีขนาดกะทัดรัด และพึ่งพารถยนต์น้อยกว่า เช่นเดียวกับ กรณีของ "เมือง 15 นาที" อย่างไรก็ตาม บางเมือง เช่น ดีทรอยต์และพอร์ตแลนด์ กำลังวางแผนข้อเสนอเพื่อสร้างย่านละแวกใกล้เคียงที่สมบูรณ์ และครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งส่งเสริมการขี่จักรยานและลดการพึ่งพาการใช้รถยนต์ส่วนตัว
สุดท้ายเครื่องมือทางเทคโนโลยี ยังช่วยค้นหาข้อบกพร่อง ดังเช่นที่แสดงไว้ในภาพตัวอย่าง จาการดูแผนที่เช่นนี้ช่วยให้เรารู้ว่าเราอยู่ใกล้การบริการขั้นพื้นฐานในท้องถิ่นในย่านชุมชนของคุณได้อย่างไร?
และคุณคิดว่าเมืองในประเทศไทย ต้องเผชิญกับความท้าทายอะไรบ้าง ในการบรรลุการสร้าง “เมือง 15 นาที” ให้เป็นเมืองที่ครอบคลุมการเข้าถึงบริการความกะทัดรัด กระชับ ของเมือง จากกรณีศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยมีผังเมืองที่คล้ายกับสหรัฐอเมริการในขณะนี้หรือไม่ และภาครัฐจะแก้ปัญหาได้อย่างไร?
แหล่งที่มา : https://www.thecitytopic.com
เขียนแปล ผศ. ศิวพงศ์ ทองเจือ สามัญสถาปนิกผังเมือง (ส-สผ 26 สถาปัตยกรรมผังเมือง)
โฆษณา