4 ก.พ. 2021 เวลา 06:02 • กีฬา
ความห่างไกลของไทยกับเกาหลี
1
โดย มิสมาต้า
ใครที่เป็นคอซีรีส์เกาหลี​น่าจะคุ้นเคยกับคำว่า "ฮันยัง" ซึ่งเป็นชื่อเมืองหลวงเก่าของเกาหลี สมัยอาณาจักรโซซอน โดยชื่อของฮันยังในปัจจุ​บันก็คือ "โซล" นี่เองค่ะ
อันที่จริงกว่าจะมาเป็น ฮันยัง หรือ โซล เมืองนี้เคยถูกเรียกด้วยคำที่ต่างกันไปตามยุคสมัย และ ต่างการปกครองของแต่ละอาณาจักร​ อย่างในช่วงที่เป็นอาณานิคม​ของญี่ปุ่น เมืองนี้ก็ถูกเรียกตามรากศัพท์​ของญี่ปุ่น​ว่า เคโจ
4
แล้วเมื่อถึงยุคสมัยที่เกาหลีมีความเป็นชาตินิยมอันสูงปรี๊ดๆ "โซล" ในภาษาเกาหลี จึงมีตัวสะกดที่ไม่มีตัวอักษรฮันจาที่พัฒนา​มาจากอักษรจีนเลย ซึ่งนับว่าเป็นชื่อเมืองเพียงเมืองเดียวของเกาหลีที่เป็นแบบนี้ด้วยค่ะ
กลับเข้ามาที่เรื่องของฟุตบอล​กันดีกว่านะคะ
แฟนบอลไทยรุ่นกลางค่อนไปทางเก่าน่าจะคุ้นเคยกับฟุตบอลถ้วยที่เคยดังที่สุดของเมืองไทย ที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานควีนส์คัพ
1
ซึ่งเป็นฟุตบอลถ้วยรายการระดับสโมสร​ อันมีถ้วยที่ได้รับพระราชทานนามย่อ ส.ก. มาประทับที่ถ้วยรางวัล โดยเป็นฟุตบอลถ้วยที่จัดขึ้นมาเคียงคู่กับ ฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทาน​คิงส์คัพ​ ที่เป็นฟุตบอลรายการใหญ่ที่มีชาติต่างๆ ส่งทีมชาติเข้ามาแข่งกัน
3
แล้วสโมสรที่ประสบความสำเร็จ​มากที่สุดก็คือ สโมสรมหาวิทยาลันฮันยัง หรือที่เรียกกันแบบไทยๆ ว่า มหาวิทยาลัยฮานยาง ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัย​เอกชนที่ดีที่สุดของเกาหลีใต้ และ ติดท็อปเท็น​ทุกครั้งที่มีการจัดอันดับ
2
นอกจากมหาวิทยาลันฮานยางจะได้รับการยอมรับว่า มีคณะวิศวกรรมศาสตร์​ ที่ดีที่สุดของประเทศ มีบุคลากร​สำคัญของประเทศหลายคนที่จบจากสถาบันนี้
4
ทีมฟุตบอลของมหาวิทยาลั​ยยังจัดว่ามีชื่อเสียงในระดับต้นๆ ของประเทศอีกด้วยนะคะ
ทีมของพวกเขาเป็นทั้งแชมป์มหาวิทยาลัยของประเทศในการแข่งแบบระบบเดิม และ เคยได้เป็นรองแชมป์ปี 2008 เมื่อสมาคมฟุตบอลแห่งมหาวิทยาลัย​เกาหลีใต้เปลี่ยนมาเป็นการแข่งแบบ University League
2
แล้วยังเคยเป็นทีมรับเชิญให้เข้ามาร่วมแข่งในฟุตบอลชิงถ้วย​พระราชทาน​ควีนส์คัพ​อยู่หลายสมัย
1
ฟุตบอล​รายการนี้มีทั้งตัวแทนจากต่างชาติ และ มีตัวแทนจากต่างชาติตามที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศ​ไทยเป็นผู้เชิญ
มหาวิทยาลัย​ฮานยางจึงเป็นแขกประจำที่มาแข่งเป็นประจำ และ ได้แชมป์​เป็นประจำจนเป็นสถิติสูงสุด 7 ครั้ง ของรายการนี้ไปเลย
เราต้องไม่ลืมนะคะว่า ฮานยาง เป็นแค่ทีมระดับมหาวิทยาลัย​เท่านั้น แต่กลับเป็นแชมป์มากที่สุดถึง 7 สมัย ทั้งที่มีสโมสร​ชั้นนำของประเทศเราเข้ามาเป็นคู่แข่งในทุกๆ ปี
1
ลองนึกตามนะคะ ในยุคที่สโมสรธนาคาร​กรุงเทพ​ , ธนาคารกรุงไทย , ทหารอากาศ​ , ทหารบก , ตำรวจ , การท่าเรือ และ ราชประชา คือทีมเบอร์ต้นของประเทศ และ มีนักเตะระดับทีมชาติเป็นผู้เล่น
1
แต่กลับถูกสโมสรระดับมหาวิทยาลัย​ของเกาหลีใต้เอาชนะได้แบบแทบจะผูกขาด โดยเฉพาะการที่ฮานยางเป็นแชมป์ 4 สมัยรวดๆๆๆ เป็นทีมแรก เทียบเท่ากับทีมแชมป์เอเชียอย่าง ธนาคารกสิกรไทย​ นี่คือการบ่งบอกระดับฟุตบอลของทั้งสองประเทศ​ได้เป็นอย่างดีเลยนะคะ
เพราะเมื่อนักเตะกึ่งอาชีพจนถึงระดับทีมชาติของเรา กลับทำได้แค่เล่นได้สูสีกับนักเตะระดับมหาวิทยาลัย จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมในช่วงยุค 60s เกาหลีใต้จึงเคยได้อันดับสามของฟุตบอลโอลิมปิก หรือ การที่ทีมชาติของพวกเขาได้ไปเล่นฟุตบอล​โลกรอบสุดท้ายตั้งแต่ปี 1986 เป็นต้นมา
2
ในขณะที่วงการฟุตบอลบ้านเราที่ตอนนี้กลายเป็นลีกอาชีพแล้ว ยังก้าวไม่เคยพ้นคำว่าอาเซียนเลยเจ้าค่ะ
ปิยะพงษ์​ ผิวอ่อน นักเตะดาราเอเชีย เคยมาเล่าว่าตอนที่เคยไปเล่นที่ ลัคกี โกลสตาร์ ในสมัยที่ลีกเกาหลีใต้ยังเป็นระบบเซมิโปรลีก รูปแบบการฝึกซ้อม และ รูปแบบการเล่น มีความล้ำหน้ากว่าบ้านเราจนคุณน้าตุ๊กถึงกับอ๊วกแตกอ๊วกแตนกันไป
3
มหาวิทยาลัยฮานยางที่มีระบบการฝึกสอนที่เข้าขั้นโหดกว่าลีกไทยในยุคนั้น นักเตะของพวกเขาจึงมีสภาพความฟิตที่มากกว่า แล้วยังมีฟอร์มการเล่นที่มีแบบแผนมากกว่าเรา จึงเป็นทีมที่กว่าเมื่อมีความพร้อมด้านอื่นที่สูงกว่าเรามากมาย
2
แต่นั่นคือในช่วงยุคปี 2520-2534 เท่านั้นนะคะ จนกระทั่งวงการฟุตบอลของไทยเริ่มปรับตัวไปสู่ความเป็นฟุตบอล​อาชีพมากขึ้น สโมสรของไทยมีความพัฒนามากขึ้นทุกด้าน ไม่ว่าจะสภาพร่างกาย​ หรือ รูปแบบการเล่น
1
มหาวิทยาลัยฮานยางจึงเป็นได้เพียงแขกรับเชิญเข้าร่วมแข่งเท่านั้น ความพัฒนาของทุกสโมสรในไทยเริ่มเห็นได้ชัดขึ้นแบบจางๆ เมื่อ กัมบะ โอซากา ของโค้ชเฮง วิทยา เลาหกุล ได้เข้ามาร่วมแข่งด้วยเมื่อปี 2535
1
ซึ่งโค้ชเฮงเคยให้สัมภาษ​ณ์ว่า​ ทีมของเขาไม่ได้มองฟุตบอลรายการนี้เป็นแค่การมาพักผ่อน แต่ทุกคนต้องจริงจังตามสไตล์​ฟุตบอลอาชีพ รวมทั้งยังต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ว่าดีพอที่จะเป็นตัวจริงของทีม
มิสสอบถามไปยังเพื่อนรุ่นอาที่สนิทกัน ที่ได้เข้าไปชมเกมการแข่งของปีนั้นถึงขอบสนามศุภชลาศัย​อย่างใกล้ชิดทุกเกม ก็ได้ใจความว่ากัมบะดีกว่าทุกทีมของเราในเรื่องของ ความฟิตของร่างกาย ความหลากหลายในการเล่น และ คลาสบอล
สโมสรตำรวจ กับ สโมสรทหารอากาศ จึงแพ้ต่อกัมบะแบบไม่ได้แพ้ขาด แต่เป็นเพราะปัจจัยที่มิสกล่าวเอาไว้นั่นเอง เราจึงเห็น กัมบะ โอซากา ทีมกลางตารางของเจลีกได้แชมป์ไปในปีนั้น
2
เรื่องเล่าสนุกๆ ที่มิสได้ทราบเพิ่มเติมมาก็คือ ตอนที่ฮานยางคือทีมระดับเจ้าแม่ของถ้วยนี้ มีแฟนบอลเลือดรักชาติบอกว่า ฮานยางมีนักเตะระดับทีมชาติเกาหลีมาเล่นให้ ทีมบ้านเราจะเอาอะไรไปสู้
1
ความจริงก็คือ คนพูดอาจจะพูดเพราะเป็นคนนิยมชาติ และ อาจจะด้วยที่ยุคนั้นมักจะมีการเล่าแบบปากต่อปาก ข้อมูลหลายอย่างจึงเป็นการนำเอาความคิดเห็นที่มีมูลความจริงประกอบน้อยมากมาเล่าสู่กันฟัง
2
รวมทั้งอาจจะเข้าใจผิดคิดว่ามหาวิทยาลัย​ฮานยาง จะดึงนักเตะระดับทีมชาติเข้ามาร่วมทีมเหมือนฟุตบอลประเพณีของสองมหาวิทยาลัยชั้นนำของบ้านเราด็เป็นไปได้
หรือเมื่อปี 2552 ที่สโมสรฮาเลลูยา ทีมในระดับดิวิชั่นสามของเกาหลีใต้มาเป็นแชมป์รายการนี้ ก็มีแฟนบอลสายเหยียดชาติบางคนทำการหยามว่า ขนาดทีมเกรดรองของเกาหลียังมาเป็นแชมป์ได้เลย
แสดงว่าสโมสรของไทยไม่เคยมีวิวัฒนาการ​ใดๆ เลยแม่แต่นิดนึง ซึ่งก็คงจะไม่เคยได้ทราบว่า ปี 1983 พวกเขาเป็นแชมป์ลีกสูงสุด รวมทั้งฟุตบอลถ้วยภายในประเทศอีกหลายสมัยในยุค 80-90s
1
รวมทั้งปีที่มาแข่งควีนส์คัพ​ พวกเขาเพิ่งได้รองแชมป์ดิวิชั่นสามเมื่อสามปีก่อนหน้า และ การเป็นแชมป์ก็ไม่ได้เป็นแบบง่ายๆ ด้วย แต่เป็นเพราะจังหวะของเกมเป็นใจให้ในหลายเกมเลย
1
สโมสรใหญ่ของเราจึงอาจจะยังสูสีกับทีมลีกรองของเขา แต่กับฮานยาง สโมสรของเราก้าวผ่านมาได้แล้วด้วยการมีระบบลีกที่ดีขึ้น
1
แต่ก็ต้องยอมรับนะคะว่า ไม่ว่าจะยุคนั้น หรือ ยุคปัจจุบันนี้ มาตรฐาน​ฟุตบอลของเกาหลี​ใตัยังห่างจากของเราเหมือนเดิม
เราอาจจะมองว่าในฟุตบอล เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์​ ลีก สโมสรของไทยจะเคยเอาชนะทีมตัวแทนจากเกาหลีใต้ได้บ้างในบางเกม รวมทั้งมีรูปเกมที่ไม่ได้ห่างกันมากนัก
ซึ่งถ้าใครที่ติดตาม​ฟุตบอล​รายการนี้มาตลอด ก็จะเห็นว่าทีมจากเกาหลีใต้​ และ ญี่ปุ่น จะส่งทีมชุดสองมาแข่งแทบจะทุกเกม เราจึงได้เห็นรูปเกม กับผลการแข่งขันที่ดูใกล้เคียงกัน
แม้สุดท้ายนั้น มาตรฐานฟุตบอลของเกาหลีใต้กับไทยเมื่อปี 2520 กับ 2564 จะยังคงห่างกันเหมือนเดิม หรืออาจจะมากกว่าเดิม
แต่อย่างน้อยก็เรียกได้ว่าพัฒนาแหล่ะค่ะ เพราะคำว่าพัฒนายังไงก็ดูเป็นบวกอยู่เสมอ
แม้ในท้ายที่สุดนั้น ประเทศไทยอาจจะต้องรอให้ชาติเอเชียอื่นๆ อย่างน้อย 8 ชาติเลิกเล่นฟุตบอล หรือ อาจรอให้มีการแข่งขันฟุตบอลจักรวาลกันซะก่อน เราจึงจะมีโอกาสได้ไปฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้บ้าง
แต่เชื่อเถอะค่ะว่าแคมเปญจ์​ฟุตบอลไทยจะไปบอลโลก จะเป็นในอีกหนึ่งแคปชั่นที่คนไทยทั้งชาตินี้ และ ชาติหน้า ภาวนาให้เกิดขึ้นจริง
#มิสมาต้า #ฮันยัง #ฮานยาง #กัมบะโอซากา #ผลฟุตบอล #ผลบอล #ฟุตบอล #Football #Soccer #ทีมชาติไทย #Thaileague #ไทยลีก #ฟุตบอลไทย #บอลไทย #เล่นเป็นเรื่อง #PlayNowThailand
อัพเดตข่าวสารกีฬาก่อนใคร
พร้อมมีของรางวัลพิเศษให้ร่วมสนุกกันเป็นประจำ
ร่วมไลค์ ร่วมแชร์ Play Now Thailand 🇹🇭
ฝากติดตาม https://www.youtube.com/c/KhelNowThailand
1
โฆษณา