Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Tony Trin Story
•
ติดตาม
4 ก.พ. 2021 เวลา 08:19 • หนังสือ
The World has changed โลกได้เปลี่ยนไปแล้วจริงหรือ
ภายหลังจาก The Third wave(คลื่นลูกที่สาม) ของ อัลวิน ทอฟฟเลอร์ (Alvin Toffler) ซึ่งเป็นหนังสือที่เขียนถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกในปลายศตวรรษที่ ๒๐ ก้าวสู่ต้นศตวรรษที่ ๒๑ ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ผมได้หยิบหนังสือเล่มนี้มาอ่านครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๓๘ ด้วยความรู้สึกตื่นเต้น ในการที่ตนเองเป็นหนึ่งในจำนวนคนทั้งหมดบนโลกนี้ที่ได้ยืนอยู่ในยุคการเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง
แต่ผมก็ต้องหวาดหวั่นใจในภายหลังเมื่อเวลาผ่านมา ๒๕ ปี เมื่อโลกได้แสดงผลความเปลี่ยนแปลงให้เห็นอย่างน่าตกในในปี พุทธศักราช ๒๕๖๓
เพราะมันไม่ใช่คลื่นลูกที่สามอีกแล้ว หากมันเป็นคลื่นลูกที่สี่ ที่มีพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงรุนแรง ถาโถมเข้ามาอย่างน่าสะพรึงกลัว
ทำไมต้องเป็นคลื่นลูกที่สี่ ทำไมคลื่นลูกนี้ถึงมีพลังความรุนแรงกว่ายุคคลื่นลูกที่สามของ อัลวิน ทอฟฟเลอร์ (Alvin Toffler)
ก่อนอื่นมาดูก่อนว่า อัลวิน ทอฟฟเลอร์ พูดถึงเรื่องคลื่นลูกที่สามไว้ว่าอย่างไร
อัลวิน ทอฟฟเลอร์(Alvin Toffler) จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เมื่อปีคริสตศักราช ๑๙๔๙ เขาเป็นนักทํานายอนาคต (Futurist) ที่มี ชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่ง ซึ่งนิตยสารไทม์ให้เกียรติยกย่องเขาว่า วิเคราะห์คาดการณ์อนาคต ถึงเหตุการณ์สําคัญต่างๆที่น่าจะเกิดในอนาคตได้อย่างแม่นยําเกือบทั้งหมด
อัลวิน ทอฟฟเลอร์(Alvin Toffler) ได้เขียนถึง ยุคที่ผ่านมาแล้วสองยุค เรียกว่า คลื่นลูกที่หนึ่ง และ คลื่นลูกที่สอง และกำลังจะก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หนึ่งยุค(ปลายศตวรรษที่ ๒๐ ก้าวสู่ต้นศตวรรษที่ ๒๑) เรียกว่า คลื่นลูกที่สาม
คลื่นลูกที่หนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงมนุษย์ชาติ ที่เคยอาศัยแบบชนเผ่าเร่ร่อน เก็บของป่าล่าสัตว์ เป็นมนุษย์ยุคแรกเริ่มที่อาศัยอยู่ตามป่าเขา ทุ่งถ้ำ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ถือเป็นการปฏิวัติโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการเพาะปลูก ลงหลักปักแหล่งทำการเกษตร สร้างบ้านสร้างเมือง เป็นยุคแห่งการเกษตรกรรม การเปลี่ยนโลกครั้งนี้ ทำให้มนุษย์ ทำการเกษตรเลี้ยงชุมชน เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าอาหารเครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งเรียกว่า สังคมเกษตรกรรม(Agricultural Society) ยุคนี้ ทรัพยากรสำคัญคือ ผืนแผ่นดิน ความอุดมสมบูรณ์ น้ำท่า เป็นรากฐานทางเศรษฐกิจ เป็นทุนในการดําเนินชีวิต เกิดการสร้างวัฒนธรรม สังคม การเมือง และ ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงนี้ จากบรรพกาลที่มนุษย์ เริ่มพัฒนาเข้าสู่ระบบการทำเกษตรกรรม จนถึง ค.ศ.๑๖๕๐-๑๗๕๐
คลื่นลูกที่สอง ในราวค.ศ. ๑๖๕๐-๑๗๕๐ เป็นรอยต่อของคลื่นลูกที่หนึ่ง และ คลื่นลูกที่สอง หากแต่มีความรุนแรงสะเทือนไปทั้งโลก รุนแรงกว่าคลื่นลูกที่หนึ่ง ที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ คลื่นลูกนี้เกิดจากการปฏิวัติ อุตสาหกรรม ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำ เกิดขึ้นจากนักคิดนักประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรไอน้ำ เริ่มใช้เครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานคน การผลิตเครื่องอุปโภคบริโภค สามารถผลิตได้จำนวนมาก มีการถลุงใช้พลังงานอย่างมหาศาล โลกถูกเบียดเบียนทำลายอย่างรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นบนโลกใบนี้ กระแสความรุนแรงของคลื่นลูกนี้ ยังสะเทือนมาถึงปัจจุบัน เป็นยุคอุตสาหกรรมที่มีกระแสทุนนิยมเชี่ยวกราก
คลื่นลูกที่สาม การพัฒนาทางอุตสากรรมและกระแสทุนนิยม ต่อยอดพัฒนาสู่ มันสมองอัจฉริยะ ก่อให้เกิดอุตสาหกรรมแห่งเทคโนโลยี การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเข้าด้วยกันทั่วโลก ด้วยเครือข่ายข้อมูล ที่เราเรียกมันว่า อินเตอร์เนต
เป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งกระเทือนต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์ทั่วโลก เกิดอาการสำลักข้อมูล อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน นี่คือ การปฏิวัติครั้งที่สามที่ทำให้โลกหมุนเร็วขึ้นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โลกแคบลงอย่างน่าตกใจ และ เกิดการท่วมท้นของแหล่งข้อมูลอย่างมหาศาล โลกเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบห้าพันปีนับแต่มนุษย์รู้จักการบันทึกข้อมูลด้วยตัวอักษร
ยังครับ ยังไม่จบเพียงเท่านี้ นี่คือจุดเริ่มต้นเท่านั้น
ตฤณ 4/2/2564 14.48
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย