Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กระเตงลูกเที่ยว
•
ติดตาม
4 ก.พ. 2021 เวลา 23:55 • ท่องเที่ยว
ปรากฏการณ์ แพลงก์ตอนเรืองแสง กลางแม่น้ำบางปะกง
ปรากฎการณ์แพลงก์ตอนเรืองแสง หรือบางท่านอาจจะรู้จักในชื่ออื่น เช่น ปรากฎการณ์ทะเลเรืองแสง หรือ ปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ เกิดจากการรวมตัวกันของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่เรียกว่า แพลงก์ตอน (Plankton) โดยแพลงก์ตอนในเขตทะเลของไทยส่วนมากจะเป็น แพลงก์ตอนพืช กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต ชนิด Noctiluca scintillans หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า แพลงก์ตอน นอคติลูกา นั่นเองครับ
ซึ่งเจ้านอคติลูกาเนี่ย ในตัวของเค้าจะมีสาหร่ายสีเขียวอาศัยอยู่ครับ ทำให้เราเห็นว่า น้ำทะเลเป็นสีเขียว ยิ่งช่วงกลางวัน หากเราเดินอยู่ริมชายฝั่ง จะเหมือนมีคลื่นชาเขียวซัดเข้าฝั่งเลยครับ ส่วนถ้าเป็นตอนกลางคืน เราจะพบว่า จุดที่สามารถมองเห็นแพลงก์ตอนเรืองแสงได้ จะต้อง.. 1. น้ำค่อนข้างนิ่ง 2. มีแสงสว่างน้อย คือจริง ๆ แพลงก์ตอนพวกนี้เค้ากระจายกันไปทั่วครับ แต่เราอาจไม่ทันสังเกตเห็นเอง เนื่องจากมีแสงอื่นที่สว่างกว่า
และข้อสุดท้าย สำคัญมาก ถ้าไม่มีข้อนี้ ให้เดินหายังไงก็ไม่เจอครับ นั่นก็คือ แรงกระทบ หรือสิ่งรบกวน สังเกตภาพถ่ายแพลงก์ตอนเรืองแสงให้ดีครับ เกือบทั้งหมดเป็นภาพที่ถ่ายโดยทำให้เกิดการรบกวนผิวน้ำ หรือส่งแรงกระทบลงไปที่ผิวน้ำทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรือ โยนหินลงทะเล คลื่นซัดเข้าฝั่ง หรือเอากิ่งไม้ มือ ขา มาแกว่งในน้ำก็ตาม
ทั้งนี้เนื่องจากแพลงก์ตอนเหล่านี้ จะทำปฏิกิริยาที่เรียกว่า Bioluminescence คือทำให้ผนังเซลล์เกิดการเรืองแสง อาจจะเป็นสีเขียว หรือสีฟ้า เพื่อตอบรับกับสิ่งรบกวนนั่นเอง
มาถึงจุดนี้ ทุกคนคงงงว่า อ้าว แล้วปกติ แพลงก์ตอนพวกนี้ก็มีอยู่แล้ว แล้วทำไมถึงเพิ่งจะมาเรืองแสงช่วงนี้ ทำไมไม่เรืองแสงทั้งปี
ตามปกติ ปรากฎการณ์แพลงตอนเรืองแสง จะมีช่วงที่เป็นหน้าฝนครับ ยิ่งวันไหนฝนตกฟ้าร้องฟ้าผ่าหนักๆ อีกวันสองวันต่อมาจะมีคนพบเห็นปรากฎการณ์นี้กันประจำ ซึ่งที่ไทยเอง สถานที่ที่สามารถไปชมปรากฎการณ์นี้ได้ ก็จะอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลครับ ที่ฮิต ๆ ไปกันทุกปีก็คือ หาดวอนนภา บางแสน และ สะพานแดง สมุทรสาคร
ในช่วงเวลาปกติ ไนโตรเจนที่ลอยอยู่ในอากาศมากมายนั้น พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้ แต่เมื่อไหร่ที่ฝนตก และมีฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ประจุไฟฟ้าจะช่วยแยกไนโตรเจน ให้ร่วงหล่นลงมาพร้อมกับน้ำฝน ทำให้พืชได้รับไนโตรเจนที่มาในรูปแบบของเหลว โดยจะสังเกตได้ว่า หลังฝนตกต้นไม้ที่บ้านจะดูงอกงามผิดปกติ
เช่นกันครับ เจ้านอคติลูกาเนี่ย ก็เป็นแพลงก์ตอนพืชชนิดหนึ่ง เมื่อได้รับไนโตรเจนเข้าไป ก็แบ่งตัวขยายพันธุ์เจริญงอกงามแตกลูกออกหลานขึ้นมามากมาย ด้วยจำนวนที่มีมากขึ้น ทำให้เราเห็นเค้าชัดมากขึ้น
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เมื่อจำนวนแพลงก์ตอนมีมากขึ้น ค่าออกซิเจนในน้ำก็จะถูกใช้มากขึ้นเช่นกัน เราจึงพบว่า เมื่อใดที่มีปรากฎการณ์แพลงก์ตอนเรืองแสง น้ำทะเลก็จะมีกลิ่นเหม็น และมีซากสัตว์ทะเลตาย อยู่ที่ริมชายหาดควบคู่กันไปด้วย โดยปรากฎการณ์นี้จะกินเวลาประมาณ 7 วัน เท่าอายุของแพลงก์ตอน หลังจากนั้นก็จะกลับมาสู่สภาวะปกติครับ
ที่เล่ามายืดยาว จะบอกว่า ตามปกติ เราจะพบปรากฎการณ์แพลงก์ตอนเรืองแสงนี้ ในบริเวณที่เป็นทะเลครับ แต่คราวนี้มาเกิดที่กลางแม่น้ำบางปะกง ซึ่งก็ถือว่าแปลกแหละครับ ใครจะนึกว่าวันนึงจะได้ชมแพลงก์ตอนเรืองแสง พร้อมกับดูหิ่งห้อย และดาว ไปพร้อมๆกันแบบนี้
ปรากฎการณ์นี้เริ่มต้นวันไหนผมไม่ทราบแน่นะครับ แต่คนท้องถิ่นแถวนั้นบอกว่า มีมาเกือบอาทิตย์แล้ว ถ้ายังไงใครสนใจรีบไปชมกันนะครับ ติดต่อขึ้นเรือได้ที่ตลาดน้ำบางคล้า จอดรถที่สวนสาธารณะสถานีตำรวจบางคล้า หรือที่สวนอาหาร กาลครั้งหนึ่ง#บางคล้า ได้เลยครับ ค่าเรือท่านละ 60 บาทเท่านั้น
หรืออยากชมเป็นคลิป ประมาณ 2-3 วันหลังจากนี้ ตามชมทางช่อง Youtube : Craft Dad Channel ได้เลยครับ
#CraftDad #CraftDadStudio #DAZZiT
#แพลงก์ตอน #แพลงก์ตอนเรืองแสง #ทะเลเรืองแสง #ขี้ปลาวาฬ #บางคล้า #บางปะกง #แม่น้ำบางปะกง
แพลงก์ตอนเรืองแสง กลางแม่น้ำบางปะกง 04/02/2021
Credit ภาพ : Kittitouch Wuthipand
Kritkanin Thanaratpitinan
2 บันทึก
1
7
2
1
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย