5 ก.พ. 2021 เวลา 04:44 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ด้วยศรัทธาเท่านั้น ที่ทำให้เรายังถือทองคำได้
วันนี้ราคาทองหลุด 1800 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งแสดงว่าทองคำลงมาเทรดในขอบล่าง
ราคาทองคำย้อนหลัง 1 ปี ภาพจาก kitco
ราคาทองคำช่วง 6 เดือนหลังวิ่งอยู่แถว 1,800-2,000 เหรียญสหรัฐ
การบิดเบือนราคาทองคำยังคงดำเนินต่อไป ทั้งๆ ที่การทำ QE จากธนาคารกลางทั่วโลกยังดำเนินต่อไปในอัตราเร่ง จากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจโควิด หนี้สินยังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขณะนี้อยู่ที่ 280T
ถ้าคำนวณราคาทองคำจากปริมาณหนี้สินจะได้ ราคาทองคำประมาณ 40,000 เหรียญ จากราคาปัจจุบัน 1,800 เหรียญ นับว่าต่างกันเกิน 20 เท่า
ลองคิดเล่นๆ ดูว่าถ้าอีก 10 ปีข้างหน้า หนี้สินเพิ่มเป็น 500T ราคาทองคำจะยังยืนอยู่ที่ราคาเท่าไหร่ จะยัง 1,800-2,000 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์หรือไม่
วันนี้ผู้เขียนจะยกตัวอย่างให้เห็นว่าหากทางธนาคารกลางยังควบคุมราคาทองคำไปเรื่อย ๆ โดยอาศัยตลาดฟิวเจอร์ ทั้งที่เพิ่มปริมาณหนี้สินไปด้วย อะไรจะเกิดขึ้น
ภาพจาก Google ค่าเงินของประเทศเลบานอน ถูกควบคุมให้อยู่ระหว่าง 1450-1550 ต่อ 1 ดอลลาร์มาราว ๆ 20+ปี ตั้งแต่ปี 1997
จากตัวอย่างจะเห็นว่า ทางธนาคารกลางของเลบานอนพยายามจะควบคุมค่าเงินให้คงที่ มาเป็นระยะเวลายาวนาน ทั้งๆที่เพิ่มปริมาณหนี้สินในปริมาณที่สูงมาก เหตุการณ์มันเหมือนเหตุการณ์ในปัจจุบัน
ผลที่เกิดขึ้นก็คือ ทุกวันนี้หากทางประชาชนชาวเลบานอนอยากจะแลกเงินดอลลาร์ในเรทนี้ จะถูกจำกัดการแลกที่ 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ต่อเดือนต่อคน
และราคาค่าเงินเลบานอนที่แท้จริงอยู่ที่ 8,000-10,000 ปอนด์เลบานอนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซื้อขายกันอยู่ในตลาดมืด
ราคาค่าเงินเลบานอนในตลาดมืด
สรุปจากกรณีเลบานอนก็คือ หากทางธนาคารกลางพยายามควบคุมราคาทองคำให้คงที่ แต่อีกด้านหนึ่งก็เพิ่มหนี้สินมาเรื่อย ๆ แบบ infinity ในระยะยาว พอคนมีความรู้มากขึ้น ความเชื่อถือก็จะลดลงเรื่อยๆ
physical gold ก็คงต้องไปเทรดกันในตลาดมืดต่อไป เหมือนอย่างเงินดอลลาร์สหรัฐ ที่ราคาแลกเปลี่ยนต่างจากเรทของทางการ 5-6 เท่า
แต่เรทของทางการแทบจะไม่มีให้แลก ต้องต่อคิวเป็นกิโล
หรืออาจจะเกิด short squeezing เนื่องจากทางตลาดฟิวเจอร์ไม่สามารถหา physical gold มาส่งมอบให้ผู้เล่นได้ แบบที่เกิดกับ GME
ผู้เขียนคิดว่า มันเป็นไปไม่ได้หรอก ที่ธนาคารกลางมือหนึ่งจะควบคุมราคาทองคำให้คงที่ ส่วนอีกมือหนึ่งเพิ่มหนี้สินเข้ามาเรื่อย ๆ ไปตลอดกาล
1
เงินในระบบ = หนี้สิน = ราคาทองคำ
พอถึงจุดหนึ่ง ความน่าเชื่อถือก็จะหมดไปเองในที่สุด ถ้าคนรับรู้ความจริงมากเรื่อย ๆ
In gold we thrust
คำกล่าวของ jp Morgan
ถ้าชอบบทความนี้อย่าลืมกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความดี ๆ ต่อไป
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา