8 ก.พ. 2021 เวลา 03:00 • ธุรกิจ
ทำไม ไต้หวัน จึงเป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์
5
สมาร์ตโฟน วิดีโอเกม คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆ สิ่งเหล่านี้ กำลังมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวันนี้
1
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ว่ามานั้นจะมีส่วนประกอบสำคัญอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ ชิป
ที่ทำหน้าที่ ประมวลผล เก็บข้อมูล และส่งข้อมูล
โดยที่ ชิป มีองค์ประกอบหลัก คือ สารกึ่งตัวนำหรือที่เรียกกันว่า เซมิคอนดักเตอร์
2
และถ้าหากพูดถึง ผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของโลก
เราก็คงต้องยกตำแหน่งนั้นให้กับ “ไต้หวัน”
ทำไม ไต้หวัน จึงเป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรม เซมิคอนดักเตอร์?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
ไต้หวัน หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “สาธารณรัฐจีน”
ปี 2020 ไต้หวัน มีประชากรจำนวน 23.6 ล้านคน
และมีมูลค่า GDP ประมาณ 19 ล้านล้านบาท
3
แต่รู้ไหมว่า ถ้าย้อนเวลากลับไป 60 ปีที่แล้ว ขนาดเศรษฐกิจของไต้หวันนั้นเล็กกว่าประเทศไทยเกือบเท่าตัว
- มูลค่า GDP ในปี 1960 ของไต้หวัน เท่ากับ 48,000 ล้านบาท
- มูลค่า GDP ในปี 1960 ของไทย เท่ากับ 83,000 ล้านบาท
2
ในช่วงนั้น อุตสาหกรรมการผลิตของไต้หวัน ยังคงเป็นการรับจ้างผลิต ที่เน้นการใช้แรงงานสูง
แต่จุดเปลี่ยนทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญของไต้หวัน ก็เกิดขึ้นในช่วงปี 1986-2000
2
ในช่วง 15 ปีนั้น รัฐบาลไต้หวันต้องการเสริมสร้างความสามารถในการผลิตสินค้าของประเทศ
ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะสินค้าไอที
เพื่อให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าของไต้หวัน
6
และหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่ถูกผลักดัน ก็คือ “อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์”
1
ธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ หลักๆ ก็คือการผลิต ชิป หรือ ชิปเซต
ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่ประมวลผล เก็บข้อมูล และส่งข้อมูล
ที่เปรียบเสมือนสมองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างเช่น สมาร์ตโฟน หรือ คอมพิวเตอร์
3
Cr. archello
การจะได้มาซึ่งชิปที่มีประสิทธิภาพสูง ก็ต้องมีเทคโนโลยีในการผลิตขั้นสูงก่อน
ซึ่งการจะมีเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง ก็หมายความว่า ไต้หวัน ต้องทุ่มงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาสูงมากตามไปด้วย
1
สิ่งที่รัฐบาลไต้หวันทำในตอนนั้นคือ
มีการจัดสรรเงินทุนเพื่อก่อตั้ง "สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม” หรือ Industrial Technology Research Institute (ITRI)
3
ซึ่ง ITRI มีการร่วมทุนกับบริษัทฟิลิปส์ของเนเธอร์แลนด์
ทำให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชิปมาที่ไต้หวัน
จนทำให้ ITRI สามารถพัฒนากระบวนการผลิตชิปเป็นของตัวเอง
8
หลังจากนั้น ในปี 1987 ก็ได้เกิด บริษัท “TSMC”
หรือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company
บริษัทผลิตชิป ที่เป็นเสมือนหัวใจของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไต้หวัน
2
Cr. WccfTech
หลังจากนั้นมา เศรษฐกิจไต้หวันก็เติบโตอย่างรวดเร็ว
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไต้หวันระหว่างปี 1986-2000 เติบโตเฉลี่ยปีละ 7.5%
7
และถ้านับตั้งแต่ปี 1960-2019
รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี ของคนไต้หวัน เพิ่มขึ้นถึง 167 เท่า
จากประมาณ 4,500 บาท เป็น 750,000 บาท
ทำให้ไต้หวันในตอนนี้ ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงไปเรียบร้อยแล้ว
5
โดยในปัจจุบัน อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์
สร้างรายได้ให้กับไต้หวันสูงกว่า 3 ล้านล้านบาท
หรือคิดเป็น 16% ของมูลค่า GDP
2
และ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC
ที่เป็นผลพวงจากการทุ่มงบประมาณวิจัยและพัฒนาในอดีตของรัฐบาลไต้หวัน
ก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็น ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ ที่ตอนนี้ครองส่วนแบ่งในตลาดชิปโลก กว่า 55.6%
9
โดยในปีล่าสุด รายได้ของ TSMC สูงกว่า 1.4 ล้านล้านบาท กำไร 533,000 ล้านบาท
และมีมูลค่าสูงถึงประมาณ 17.6 ล้านล้านบาท
และในทุกวันนี้ รัฐบาลไต้หวันก็ยังคงให้ความสำคัญในการทุ่มงบวิจัยและพัฒนาอย่างมาก
1
อย่างเช่นในปี 2018 งบวิจัยและพัฒนาของไต้หวัน มีสัดส่วนกว่า 3.4% ต่อมูลค่า GDP ของไต้หวัน
ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวถือว่ามากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก
1
Cr. Taiwan Today
สรุปแล้วก็คือ ที่ไต้หวันสามารถก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าแห่งอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ได้
ปัจจัยที่สำคัญอย่างมาก คือการกำหนดชัดเจนว่าจะผลักดันอุตสาหกรรมนี้
และทุ่มงบการวิจัยและพัฒนาจำนวนมหาศาล เพื่อให้ได้มาซึ่งเทคโนโลยีขั้นสูง และผลักดันศักยภาพของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ให้ถึงขีดสุด
1
และในวันนี้สิ่งเหล่านั้นที่ไต้หวันได้ทุ่มเทลงไป มันก็ได้ออกดอกออกผล อย่างเห็นได้ชัดแล้ว..
2
โฆษณา