5 ก.พ. 2021 เวลา 14:24 • การศึกษา
“มีปัญหามากก็ออกไป หัดทำตัวอยู่ในกฎเหมือนกับคนอื่น ๆ บ้าง”
.
.
.
เป็นประโยคคลาสสิคที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่สิบปี โทรศัพท์จะออกใหม่กี่รุ่น แต่ชุดความคิดเก่า ๆ กับอีโก้ที่สูงลิบลิ่ว ก็ยังคงถูกขว้างลงตรงหน้าเหล่าเด็กผู้ตั้งคำถามถึง
ปัญหาที่ตัวเขามองเห็นอยู่ดี
.
.
.
ในขณะที่คนจำนวนมากกำลังก้าวไปข้างหน้า คนกลุ่มหนึ่งกลับฉุดรั้งการพัฒนาเพียงเพราะคำว่า “กูไม่ถูกใจ” เพียงเพราะพวกเขายึดติดกับรูปแบบเดิม ๆ ที่ทำมานานจนชาชิน ไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นปัญหา อย่างเรื่องกฏทรงผมนักเรียน
ทั้ง ๆ ที่กฏที่ออกมามันก็ไม่ได้ไปยุ่ง หรือแตะต้องผมบนหัวพวกเขาเหล่านั้นเลย
แม้แต่นิด แต่กลับออกมาร้องเรียน โวยวาย ข่มขู่ใช้อำนาจ พอเจอช่องโหว่ของกฎก็ยกเป็นข้อได้เปรียบ ไม่ยอมแม้กระทั่งจะชายตาอ่านส่วนที่เหลือ ถือว่าตัวเองมีอำนาจ พอช่องโหว่นั้นถูกยกเลิก กลับทำเป็นมองไม่เห็น ปล่อยให้นักเรียนรับผลกันไป จนสงสัยเลยว่า ความจริงแล้วที่เขาเหล่านั้น ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เป็นเพราะเขาคิดว่าสิ่งที่เป็นอยู่มันดีจริง ๆ หรือแค่เป็นประเภท เสียศักดิ์ศรีไม่ว่า เสียหน้าไม่ได้ เป็นloser ที่แค่อยากมีอำนาจ กลัวที่จะเสียอำนาจ เสียพลังเหนือเด็กไป
.
.
.
เพราะแบบนี้เลยเอาแต่บอกว่าเขาทำกันมาตั้งนาน ทำไม่แค่นี้ทนไม่ได้ แต่ประทานโทษ ถ้าระบบมันดีจริง มันไม่มีใครมาตั้งคำถามหรอก เขาตั้งคำถามเพราะอยากให้มันพัฒนา ถ้าไม่มีคนชี้ให้เห็นถึงข้อเสียของระบบ มันก็จะเป็นแบบเดิมไปเรื่อย ๆ 10 ปี
100 ปี เพราะมีคนเอาแต่คิดว่ามันดีอยู่แล้ว จะเปลี่ยนมันทำไม
.
.
.
ลองเลิกมองว่าคนถามเป็นเด็กหรือเปล่า ตัดอคติ ลดอีโก้ลงมาสักนิดเถอะ รับฟังคำถาม คิดหาเหตุผล แล้วเบิ่งตามองความจริงที่ว่า อำนาจที่กอดเอาไว้ไม่ยอมปล่อยหลุดมือนั้น ทำให้การพัฒนามันหยุดชะงักลงไปขนาดไหน เพราะความกระหายอำนาจของคนกลุ่มเดียว แม่งทำสังคมทั้งใหญ่เล็กพังมามากมายแล้ว
รูปจาก ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
โฆษณา