Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Volleyball Tricks
•
ติดตาม
7 ก.พ. 2021 เวลา 10:42 • กีฬา
เชื่อว่าหลายๆเคยดูกีฬาวอลเลย์บอลแล้ว ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า เมื่อลงสนามในแต่ละฝั่งที่มีผู้เล่น 6 คนนั้นมีตำแหน่งอะไรกันบ้าง แน่นอนทุกคนรู้ว่ามีตัวเซตและตัวตบ แต่จริงๆแล้ว มันมียิบย่อยมากกว่านั้น เราไปดูกันเลยดีกว่าว่ามีตำแหน่งอะไรบ้าง
1. Setter
หรือที่เรียกกันว่า “ตัวเซต” เป็นกุญแจสำคัญของทีม เสมือนเป็นผู้บัญชาการโจมตีของทีมนั้นๆ ลงสนามได้เพียง 1 ตำแหน่งเท่านั้น ยืนไขว้กันกับ Opposite Hitter
2
หน้าที่หลักของตัวเซตคือ เปิดเกมรุกให้กับทีม โดยต้องเล่นสัมผัสบอลครั้งที่ 2 ของทีมเพื่อจ่ายบอลเปิดเกมรุกให้กับผู้เล่นคนอื่นๆในบอลครั้งที่ 3 ต่อไป เล่นประจำจุดอยู่บริเวณขวาหน้า และขวาหลังเมื่อลงแดนหลัง นอกจากนี้ตัวเซตยังจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ เช่น การบล็อค การเสิร์ฟ และการรับลูกด้วยเช่นกัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะการตบลูกมากนัก ตำแหน่งนี้ไม่ต้องรับบอลแรก
ตัวเซตที่ดี จะสามารถเปิดเกมรุกให้ผู้เล่นคนอื่นทำแต้มได้ง่าย และจะทำให้ผู้เล่นฝั่งตรงข้ามอ่านเกมยาก เนื่องจากเป็นผู้บัญชาการเกมบุกในสนาม จึงต้องมีทักษะการสื่อสารในทีม การตัดสินใจเลือกรูปแบบการโจมตี หรือการอ่านบล็อคของฝ่ายตรงข้ามด้วยเช่นกัน หากตัดสินใจผิดพลาด อาจจะทำให้การโจมตีไม่สมบูรณ์ หรืออาจจะถูกสกัดกั้นโดยฝ่ายตรงข้ามได้ ถือเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่มีความกดดันสูงสุดในทีม
1
2. Outside Hitter
บางครั้งอาจเรียกว่า Outside Spiker หรือ Wing Spiker ก็ได้ ในภาษาไทยเราเรียกว่า “ตำแหน่งหัวเสา” หรือที่ติดปากกันว่า “ตัวตีโค้ง” นั่นเอง ตอนลงสนามแข่งจะมีทีมละ 2 ตำแหน่ง ยืนไขว้กัน
ผู้เล่นตำแหน่งนี้ ทำหน้าที่บุกบริเวณหัวเสาด้านซ้ายของทีม และมักจะเป็นคนที่ทำแต้มบ่อยๆให้กับทีม เป็น 1 ในตัวทำแต้มของทีม ผู้เล่นต้องมีทักษะในการบุกที่ดี และปรับเปลี่ยนการบุกได้ดี เพราะมักจะเป็นตำแหน่งที่ตัวเซตจะจ่ายบอลไปให้เมื่อทีมเปิดแรกไม่ดีเท่าที่ควร การตีบอลแก้จึงเป็นทักษะที่ควรมี ตัวเซตมักจะจ่ายบอลให้เมื่อบอลไม่เป็นไปตามแผน รวมทั้งจุดนี้เป็นจุดที่จ่ายบอลง่ายที่สุดอีกด้วย ตัวเซตมักจะเลือกจ่ายไปยังตำแหน่งนี้ด้วย หากคิดอะไรไม่ออกว่าจะเล่นแผนไหนดี ดังนั้น ต้องเป็นผู้เล่นที่ตีแล้วหวังผลได้
Outside Hitter เมื่อลงแดนหลังจะประจำอยู่ตรงกลางหลัง ต้องมีทักษะในการบุกจากแดนหลังด้วย โดยจะทำการบุกบริเวณกลางหลังของสนาม(หลังเส้น 3 เมตร) การบุกแบบนี้จะเห็นได้บ่อยในการเล่นระดับสูง
1
นอกจากการบุกแล้ว ตำแหน่งนี้จำเป็นต้องมีทักษะการรับลูกที่ดีด้วย เนื่องจากต้องทำหน้าที่เป็นคนรับลูกเสิร์ฟเพื่อเปิดบอลแรกร่วมกันกับตัวรับอิสระของทีม ส่วนทักษะอื่นๆ เช่น การบล็อก ก็ยังจำเป็นต้องมี เพราะต้องบล็อกบอลตีของ Opposite Hitter ของฝั่งตรงข้าม รวมถึงการรับลูกเสิร์ฟ ลูกตบ ก็ต้องเชี่ยวชาญเช่นกัน ถือว่าเป็นตำแหน่งที่ต้องมีความสามารถรอบด้านเลยทีเดียว
3. Middle Blocker
หรือ “ตำแหน่งบอลเร็ว” ลงสนามครั้งละ 2 คน ยืนไขว้กัน จะถูกเปลี่ยนตัวด้วย ตัวรับอิสระ เมื่อลงแดนหลัง
1
หน้าที่หลักคือ การสกัดกั้นการโจมตีของฝั่งตรงข้าม และตีบอลเร็ว โดยปกติแล้วผู้เล่นตำแหน่งนี้มักจะมีรูปร่างที่สูงเพื่อที่จะได้ทำการบล็อกได้ง่ายและได้ผล ตำแหน่งที่ประจำอยู่คือบริเวณกลางหน้าของทีม ไม่ว่าการโจมตีของฝั่งตรงข้ามจะมาในรูปแบบใด Middle Blocker จะเป็นคนที่ต้องวิ่งไปทำการบล็อกทุกครั้ง ทุกตำแหน่ง หากการโจมตีมาบริเวณหัวเสาซ้ายหรือขวา จะต้องวิ่งไปประกอบการบล็อกกับเพื่อนในทีมอีกคนที่อยู่ด้านข้างไม่ว่าจะซ้ายหรือขวา ขึ้นอยู่กับว่าฝั่งตรงข้ามโจมตีมาจุดใด ผู้เล่นจึงจำเป็นมีทักษะความคล่องตัวในการวิ่งและการบล็อกที่ดีมาก
ทักษะที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การอ่านเกมการบุกของฝั่งตรงข้าม โดยอ่านผ่านตัวเซตของอีกฝั่งก่อนที่จำทำการบล็อก เนื่องจากยืนอยู่ตรงกลางด้านหน้า ทำให้มองเห็นตัวเซตฝั่งตรงข้ามได้ชัดเจน หากสามารถคาดคะเนการจ่ายบอลของตัวเซตของคู่แข่งได้ จะทำให้สามารถวิ่งไปบล็อกได้ถูกทิศทาง
1
ในส่วนของการบุก ตำแหน่งนี้จะตีบอลเร็ว โดยตัวเซตจะจ่ายบอลให้แบบสั้นๆ เร็วๆ แล้วจึงโจมตีแบบรวดเร็วหน้าตาข่าย ตำแหน่งการตีจะเน้นบริเวณกลางหน้าเป็นหลัก แต่บอลเร็วนั้นมีหลากหลายรูปแบบมาก จึงอาจจะเห็นการบุกหลายๆแบบ จากหลายๆจุด เพื่อให้คาดเดาได้ยาก ทั้งนี้ จำเป็นต้องเข้าขากับตัวเซตมาก ไม่เช่นนั้นอาจจะผิดพลาดในการโจมตีได้ง่าย เพราะบอลที่จ่ายให้ตีนั้น ว่องไวและสั้นมาก ตำแหน่งนี้จึงไม่ค่อยได้บุกมากนัก เนื่องจากเล่นค่อนข้างยาก หากบอลแรกเปิดไม่เข้าจุด ก็แทบจะจ่ายบอลให้ไม่ได้เลย ยกเว้นตัวเซตมีความเชี่ยวชาญสูงมากและเข้าขากันดีมาก
หน้าที่อีกอย่างหนึ่งคือ เป็น “ตัวล่อ” ให้กับทีม โดยมักเข้าวิ่งเข้าหาตัวเซตหรือทิศทางอื่นๆเสมือนกับว่าจะทำการบุก แต่ตัวเซตจ่ายบอลให้ผู้เล่นคนอื่นแทน เพื่อเป็นการหลอกให้บล็อกฝั่งตรงข้ามทำงานได้ลำบาก และช่วยเปิดทางให้เพื่อนร่วมทีมโจมตีสะดวกขึ้น
1
โดยรวมแล้ว ตำแหน่งนี้จะเน้นที่การบล็อค และการบุกเป็นสำคัญ ดังนั้น ผู้เล่นไม่จำเป็นต้องมีทักษะในเกมรับที่ดีมากนัก เพราะเป็นตำแหน่งที่ไม่ต้องรับเสิร์ฟ และไม่ต้องรับลูกตบมากนัก เพราะเมื่อลงแดนหลังจะถูกเปลี่ยนด้วยตัวรับอิสระ
1
4. Opposite Hitter
หรือ Opposite Spiker คนไทยเราเรียกว่า “ตำแหน่งบีหลัง” ลงสนามได้เพียง 1 ตำแหน่งเท่านั้น ยืนไขว้กับ ตัวเซต ในทีม ตำแหน่งนี้ถือว่าเป็น Ace หรือ Killer ของทีมในการเล่นระดับสูง
1
Opposite Hitter เป็นคนที่ทำคะแนนหลักของทีม มักเป็นเป็นคนที่ตีได้ดีที่สุด หวังผลได้มากที่สุดในทีม ตำแหน่งนี้จะประจำจุดบริเวณขวาหน้า และทำการบุกจากหัวเสาด้านขวา รวมถึงบล็อก Outside Hitter ของฝั่งตรงข้ามด้วย ผู้เล่นตำแหน่งนี้ไม่ต้องรับบอลเสิร์ฟเลย ไม่ว่าจะอยู่แดนหน้าหรือหลังก็ตาม จะถูกผู้เล่นคนอื่นๆมาคอยบังเอาไว้เพื่อจะได้ไม่ต้องถูกรับบอล เพราะจะต้องรักษา Opposite Hitter ไว้สำหรับการโจมตีเท่านั้น และเพื่อไม่ให้เสียจังหวะจากการรับบอลแรก ทำให้สามารถพร้อมที่จะโจมตีได้ทุกเมื่อ เสมือนตำแหน่งนางพญาของทีมที่สมาชิกคนอื่นๆต้องคอยเปิดทางไว้ให้พร้อมตีในจังหวะที่ 3
เมื่อลงแดนหลัง จะต้องทำการบุกจากแดนหลังด้วย เนื่องจากคนที่อยู่ไขว้กันคือ ตัวเซต ทำให้แดนหน้าจะเหลือตัวบุก แค่ 2 คนเท่านั้น ดังนั้น ตำแหน่งนี้ต้องทำการบุกจากแดนหลังขวาด้วย ทำให้การบุกยังมีครบสามตำแหน่งอยู่เช่นเดิมและจะไม่เป็นช่องไหว่ในการโจมตี โดยรวมแล้วไม่ว่าจะอยู่แดนหน้าหรือหลัง ตำแหน่งนี้ต้องโจมตีอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว และมักเป็นคนที่ทำคะแนนสูงสุดในทีม ทักษะการโจมตีต้องอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
ในช่วงคับขัน ช่วงโต้ไปมานานๆ หรือจังหวะที่รับบอลบุกของอีกฝ่ายขึ้นมาได้ ตัวเซตมักจะจ่ายไปให้ Opposite Hitter เพื่อทำการปิดแต้มให้เร็วที่สุด ผู้เล่นต้องมีความพร้อมในการบุกไว้ตลอดเวลา เพราะเป็นตำแหน่งที่ถูกคาดหวังสุงสุดในการทำแต้ม
แม้ว่าผู้เล่นจะมีการบุกที่ยอดเยี่ยม และเน้นเกมบุก แต่ยังต้องมีทักษะการรับลูกด้วย เพราะเป็นผู้เล่นที่ยังเล่นอยู่ปกติแม้ว่าจะลงแดนหลังไปแล้ว เพราะคู่แข่งสามารถโจมตีใส่ได้ทุกเมื่อ ไม่เหมือนกับ Middle Blocker ที่จะถูกแทนที่ด้วยตัวรับอิสระในแดนหลัง มีแค่บอลเสิร์ฟเท่านั้นที่ Opposite Hitter ไม่ต้องรับ
2
* Opposite Hitter ตามที่กล่าวมานั้น เป็นการเล่นแบบสากลที่พบได้ทั่วไปในทีมระดับสูง แต่มีบางทีมอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวมาข้างต้น โดยบางทีมอาจจะให้ Opposite Hitter เป็นตัว Support เน้นช่วยในเกมรับ แล้วให้ตัวทำแต้มหลักเป็น Outside Hitter แทน มักพบในทีมฝั่งเอเชีย สรุปคือตำแหน่งนี้สามารถพลิกแพลงการเล่นได้ 2 รูปแบบคือ เป็น Killer หรือ เล่นเป็นตัว Support แต่ในสากลแล้วจะเล่นเป็น Killer มากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโค้ชของทีมด้วยว่าจะเลือกใช้อย่างไร
5. Libero
หรือ “ตัวรับอิสระ” สังเกตได้ง่ายคนผู้เล่นที่ใส่เสื้อสีต่างจากคนๆอื่นๆ ลงสนามได้ครั้งละ 1 คน โดยปกติจะลงแทนตำแหน่ง Middle Blocker เมื่อวนลงในแดนหลัง แต่จริงๆแล้วสามารถลงแทนผู้เล่นแดนหลังคนใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น Middle Blocker แต่สามารถสลับเปลี่ยนลงได้โดยไม่ต้องขอเปลี่ยนตัวจากกรรมการ
ตำแหน่งนี้ลงสนามไป เพื่อเล่นเกมรับเท่านั้น เป็นคนที่เชี่ยวชาญในการรับลูกทุกรูปแบบได้เป็นอย่างดี เป็นตัวรับที่ดีที่สุดในทีม หน้าที่จึงเน้นในการรับลูกเสิร์ฟ ลูกตบ และบอลทุกๆ รูปแบบ โดยที่ทักษะด้านอื่นๆ จะไม่จำเป็นมากนักเนื่องจากไม่สามารถเล่นในหน้าและไม่สามารถโจมตีหรือเสิร์ฟได้ เมื่อลงสนามจะประจำจุดบริเวณหลังซ้ายของแดน หากเป็นไปได้ Libero จะเป็นคนที่สัมผัสแรกบอลให้ได้บ่อยที่สุด เพื่อให้ผู้เล่นคนอื่นๆที่เหลือได้เตรียมพร้อมโจมตีได้เลย และไม่เสียจังหวะในการบุกด้วย
5 ตำแหน่งในวอลเลย์บอล
10 บันทึก
9
1
14
10
9
1
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย