Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
dstory_d
•
ติดตาม
5 ก.พ. 2021 เวลา 18:11 • ไลฟ์สไตล์
How I start my bujo? EP1 : Notebook
วิธีเลือกสมุดบูโจของเรา
1
หลายๆคนน่าจะเคยได้ยินว่า bullet journal หรือเจ้า bujo นั้น มีแค่สมุด 1 เล่ม กับปากกา 1 ด้าม ก็สามารถทำได้แล้ว แต่เปิดไปดูก็เจอแต่คนใช้สมุดแบบไม่มีเส้นบ้าง สมุดลายจุดบ้าง แถมบางแบรนก็ราคาแพงจนต้องร้องขอชีวิต มันทำไมกันนะ? แล้วเราควรจะใช้สมุดแบบไหนดี? วันนี้เราจะมาแชร์ "วิธีเลือกซื้อสมุดบูโจ" ของเรากันค่ะ
1) จำนวนหน้าของสมุด :
เนื่องจาก bujo จะมีหน้าที่เราเรียกกันว่า future log ซึ่งเป็นแผนการในอนาคตของเรา 12 เดือน ดังนั้นเราจึงชอบที่จะใช้สมุดที่มีหน้ากระดาษ 180 หน้าขึ้นไป เพื่อที่จะใช้ไปได้ทั้งปี ไม่ต้องมาset up สมุดเล่มใหม่บ่อยๆ แต่ยิ่งหน้ากระดาษเยอะ ก็หมายถึงสมุดจะยิ่งหนัก ดังนั้นใครที่ไม่ชอบพกสมุดหนักๆ รวมไปถึงคนที่ไม่ได้จดอะไรในบูโจเยอะก็อาจจะเลือกเล่มที่หน้าน้อยลงหน่อยจะได้พกง่ายๆ หรือบางคนอาจจะใช้สมุดสันห่วงที่สามารถเติมกระดาษได้ก็สะดวกไปอีกแบบค่ะ
2) sizeของสมุด :
ในที่นี้เราหมายถึงความกว้าง และยาวของสมุดค่ะ เนื่องจากเราชอบที่จะพกbujoติดตัว ดังนั้น ไซส์สมุดจึงต้องสัมพันธ์กับไซส์กระเป๋าของเรา นอกจากนี้ เรายังชอบทำ monthly log แบบปฏิทิน เราเลยจะชอบใช้สมุดที่ไซส์ตั้งแต่ A5ขึ้นไป เพราะถ้าเล็กกว่านี้ เวลาทำปฏิทิน ช่องจะเล็กจนเขียนยากด้วย
3) ลายของกระดาษ :
กระดาษในสมุดนั้นมีหลากหลายลาย เราสามารถเลือกหน้ากระดาษแบบไหนก็ได้ตามความถนัดในการใช้งานของเรา เช่น
- กระดาษลายเส้น (line) ข้อดีคือ มีบรรทัดชัดเจน ช่วยให้การเขียนของเราง่าย และเป็นระเบียบ และหาซื้อง่าย
- กระดาษลายตาราง (grid) กระดาษแบบนี้จะช่วยให้ง่ายสำหรับการทำตาราง เว้นช่องไฟซ้ายขวา และการจัดพื้นที่หน้ากระดาษด้วย แต่ต้องระวังในการเลือก ไม่ให้สีของเส้นตารางนั้นเข้มจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้ลายตาได้
- กระดาษลายจุด (dot) กระดาษยอดฮิตในการทำ bujo ข้อดีจะเหมือนกระดาษ grid แต่จะดูสะอาดตากว่า แต่ข้อเสียคือหาซื้อยาก และมักราคาแพง
- กระดาษเปล่า (plain) เหมาะกับคนที่ไม่ได้ซีเรียสมากว่าจะต้องเขียนเป็นระเบียบ ยิ่งเหมาะมากกับคนที่ชอบวาดรูปตกแต่งและไม่ต้องการให้มีลายของกระดาษมารบกวนสายตา
4) ความหนาของกระดาษ :
สมุดโดยทั่วไปตามท้องตลาด จะมีความหนาของกระดาษอยู่ที่ประมาณ 75-80 grams ซึ่งเป็นความหนาที่โอเคสำหรับการเขียนด้วยปากกาลูกลื่น, ปากกาเจล และการใช้พวกปากกา marker ตกแต่งเล็กๆน้อยๆ แต่ถ้าใครอยากจะวาดรูปตกแต่งแบบจัดเต็ม อาจเลือกเป็นกระดาษที่หนา 100 grams
5. function อื่นๆ :
สมุดแต่ละแบรนก็จะมีลูกเล่นพิเศษของตัวเอง ซึ่งฟังก์ชันเหล่านี้ เป็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ ที่ทุกคนสามารถเลือกได้ตามความถนัดในการใช้งานได้เลย เช่น
- มีริบบิ้นขั้นหน้ากระดาษ
- มี pocket สำหรับใส่รูป หรือสติ๊กเกอร์ให้พกพาไปกับสมุดได้ด้วย
- มี elastic band สำหรับรัดสมุด ป้องกันไม่ให้สมุดเปิดเวลาใส่ในกระเป๋า
- หน้าปก: ปกแข็ง, ปกหนัง, ปกอ่อน หรือมีปกพลาสติกหุ้มปกให้อีกชั้น
- มีช่องเสียบปากกาติดมาด้วย
- สันของสมุด : สันกาว, สันเย็บกี่ หรือสันห่วง
- มีเลขหน้า หรือหน้าสารบัญมาให้
ซึ่งข้อนี้เราไม่ได้ใส่ใจมันมาก สำหรับเรา ขอแค่เป็นสันเย็บกี่ กางได้180 องศาก็โอเคแล้วค่ะ
ก็จบกันไปแล้วค่ะ สำหรับวิธีการเลือกสมุดบูโจของเรา หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์นะคะ
ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน เราจะพยายามทำ EP ต่อๆไปในซีรีส์นี้ออกมาอีก ฝากติดตามด้วยค่ะ ❤️
15 บันทึก
15
3
9
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
How I start my bujo?
15
15
3
9
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย