6 ก.พ. 2021 เวลา 03:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Boeing 737 - ความเคยชินที่กลายเป็นการละเลย
737 Max 8
ย้อนกลับไปในช่วงปี 2018 ถึง 2019 เครื่องบินที่ได้รับการพูดถึงจากสื่อทุกแขนงคงหนีไม่พ้น Boeing 737 Max 8
หลังจากเกิดอุบัติเหตุติดต่อกันถึง 2 ครั้ง และคร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 300 คน
เจ้าหน้าที่กำลังรวบรวมชิ้นส่วนของ Lion Air เที่ยวบินที่ 610
หลายๆคนได้แต่ตั้งคำถามวาเกิดอะไรขึ้น และในบทความนี้ เราจะพูดถึงสาเหตุว่าทำไมดีไซน์ของ 737 ที่มีประวัติการให้บริการอย่างยาวนาน ถึงนำไปสู่โศกนาฏกรรมครั้งใหญ่
เครื่องบินในตระกูล 737 เกิดขึ้นในช่วงทศวรรศที่ 1960 ถึง 1970
ในเวลานั้น 737 ถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินโดยสารเพื่อให้บริการในเส้นทางบินสั้นๆ
โดยมีจุดเด่นคือจำนวนเครื่องยนต์เพียงแค่2เครื่อง น้อยกว่าเครื่องรุ่นอื่นๆในเวลานั้นที่มี3-4เครื่องยนต์ ซึ่งช่วยสายการบินประหยัดค่าน้ำมันได้
ในปัจจุบัน 737 สามารถถูกแบ่งออกได้เป็น 3 แบบหลักๆอันได้แก่
737 Classic ถูกผลิตขึ้นโดยโบอิ้งครั้งแรกในปี 1984 นับว่าเป็นต้นตระกูลของ737 เลยก็ว่าได้ ประสบความสำเร็จอย่างมากและถูกผลิตไปกว่า1,988ลำ ประกอบไปด้วย 737-300, 737-400 และ 737-500
737 Classic
737 NG หลังจากความสำเร็จของ 737 Classic โบอิ้งจึงตัดสินในปรับปรุง 737 รุ่นใหม่นี้ให้มีปีกที่ใหญ่ขึ้น เครื่องยนต์ที่ทรงพลังมากกว่าเดิม เช่นเดียวกับน้ำหนักบรรทุกที่เพิ่มขึ้น เพื่อแข่งกับการมาถึงของ Airbus A320
737 NG ประกอบไปด้วย 737-600, 737-700, 737-800 และ 737-900
737 NG (Next Generation)
737 Max ประกอบไปด้วย 737 Max 7, 737 Max 8, 737 Max 9 และ 737 Max 10ถึงแม้ว่าการออกแบบของ 737 จะย้อนไปกว่าหลายทศวรรศ โบอิ้งก็ยังคงเลือกที่จะปรับปรุงเครื่องบินตระกูลนี้ต่อไป 737 ตระกูล Max ได้รับการปรับปรุงในแง่ของประสิทธิภาพให้มีความใกล้เคียงกับ คู่แข่งอย่าง A320neo แต่ด้วยดีไซน์ที่คงเดิมมากว่า 50 ปี ปัญหาก็เริ่มที่จะแสดงให้เห็น
737 Max
737 NG นั้นใช้เครื่องยนต์รุ่น CFM-56 จำนวน 2 เครื่องที่ติดอยู่ใต้ปีก ซึ่งเมื่อสังเกตดีๆแล้วจะเห็นว่าตัวครอบเครื่องยนต์ด้านล่างนั้นมีลักษนะเป็นระนาบคล้ายกับการโดนเฉือนออก อันมีสาเหตุมาจากข้อกำหนดในการการเว้นระยะห่างระหว่างเครื่องยนต์และพื้นด้านล่าง
สำหรับ737แล้ว นับว่าเป็นเครื่องบินที่ลำตัวอยู่ใกล้กับพื้นมากพอสมควร เทียบกับเครื่องคู่แข่งอย่าง A320
เนื่องด้วยใน737 รุ่นแรกๆอย่าง 737-100/200 ทั้งคู่ต่างมีเครื่องยนต์ที่ขนาดเล็กกว่าในปัจจุบันมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไป เครื่องยนต์รุ่นใหม่ๆที่ทรงพลังมากขึ้น และประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ต้องแลกด้วยขนาดที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
และใน 737 Max 8 เครื่องยนต์ที่จำเป็นต้องใช้อย่าง CFM-LEAP ก็มีขนาดใหญ่กว่าเก่า
เครื่องยนต์ CFM-LEAP
แต่เมื่อไม่มีพื้นที่เหลือให้ขยับเครื่องยนต์ลงด้านล่างแล้ว หนทางเดียวก็คือการทำยังไงก็ได้ให้เครื่องยนต์ติดอยู่สูงขึ้น โดยไม่กระทบกับโครงสร้างปีก
วิศวกรของโบอิ้งจึงได้เลือกที่จะขับเครื่องยนต์มาด้านหน้าของปีกมากขึ้น แล้วจึงเลื่อนตำแหน่งติดเครื่องยนต์ขึ้นด้านบน เพื่อให้มีระยะห่างเพียงพอ
แม้การทำเช่นนี้จะแก้ปัญหาพื้นที่ที่ไม่เพียงพอได้ มันกลับทำให้รูปแบบการบิน (flight characteristics) ของเครื่องบินเปลี่ยนไป
ในการติดเครื่องยนต์แบบใหม่ เครื่องบินจะมีแนวโน้มี่จะเชิดหัวขึ้นมากกว่าปกติ จนอาจทำให้เสียแรงยก (Stall) ได้ เพราะเหตุนี้เองMCASจึงได้ถูกนำเข้ามาใช้
การอ้างอิงจากเซ็นเซอร์ของระบบMCAS
MCAS หรือ Maneuvering Characteristics Augmentation System จะมีหน้าที่ช่วยกดหัวของเครื่องบินลงเพื่อป้องกันการ Stall โดยอ้างอิงจากเซ็นเซอร์วัดองศาที่ติดอยู่บริเวณหัวเครื่อง
ด้วยความที่โบอิ้งในตอนนั้นต้องการที่จะให้ 737 Max ออกสู่ตลาดอย่างเร็วที่สุด จึงได้มีการรับรองเครื่องบินรุ่นนี้ ว่าไม่ต่างอะไรจากรุ่น 737 NG ที่ให้บริการอยู่ทั่วโลก
สายการบินจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องฝึกนักบินเป็นจำนวนหลายชั่วโมง แค่คอร์สสั้นๆแปปเดียวก็เพียงพอแล้ว
ปัญหาเริ่มเกิดขึ้นเมื่อซอฟท์แวร์ในระบบ MCAS ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้อ้างอิงจากเซ็นเซอร์ 2 ตัวบนเครื่อง แต่อ้างอิงจากฝั่งของกัปตันเพียงอย่างเดียว
ซึ่งถ้าเกิดเซ็นเซอร์ตัวนั้นขัดข้อง และแสดงผลว่าเครื่องบินกำลังเชิดหัวขึ้นตลอดเวลา MCAS ก็จะกดหัวเครื่องลงตลอดเวลาเช่นกัน
ถึงกระนั้น ในคู่มือของ 737 Max 8 ก็ไม่ได้กล่าวถึงการทำงานของ MCAS ไว้แม้แต่น้อย ความผิดพลาดนี้เป็นสาเหตุที่นำไปสู่การตกของสายการบิน Lion Air เที่ยวบินที่ 610 ในปี2018 และ Ethiopian Airlines เที่ยวบินที่ 302 ในปี 2019
เศษซากของ Ethiopian Airlines เที่ยวบินที่ 302
ถึงแม้ว่าความผิดพลาดของ 737 Max 8 จะถูกแก้ไข
มันได้ทิ้งบทเรียนไว้ให้กับอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก
การออกแบบเครื่องจักรไม่ใช่แค่เครื่องบิน ควรจะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน เช่นเดียวกับการคิดถึงผู้ใช้งาน
เพราะไม่ว่าในการสร้างหรือออกแบบสิ่งใดๆ ก็ล้วนแล้วแต่จะทำให้เกิดความเสี่ยง และเกิดอันตรายได้
หากมีความรอบคอบและการคำนึงถึงความปอดภัยที่ไม่พียงพอ
ถ้าชื่นชอบติดตามกันได้ที่
โฆษณา