6 ก.พ. 2021 เวลา 13:06 • หนังสือ
หนังสือ “ เอเลนอร์ สบายดี “ Eleanor Oliohant is completely fine 😌
Gall Honeyman เขียน
จากคำโปรยด้านหลังหนังสือเล่มนี้ พร้อมกับรูปวาดผู้หญิงผมยาวยืนหลบมุมหลังต้นไม้ มันชวนให้อยากรู้ว่าคนอย่าง
“ เอเลนอร์ ” จะมีจุดจบอย่างไร เพราะเราคิดว่า เราก็มีนิสัยอะไรคล้ายๆกันกับเอเลนอร์ บางอย่างคือ เป็นพวกไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงกิจวัตร หรืออะไรที่แพลนวางไว้ในแต่ละวัน แต่ละเวลา บางครั้งก็จะทำกิจกรรมอะไรเดิมๆ ที่ชอบ แค่นั้นเราก็พอใจกับมันและเรียกมันว่า “ ความสุข (ของตัวเอง) ”
1
ใครบ้าง??? ที่มี Safe Zone เป็นการได้ใช้ชีวิตปกติประจำวันแบบเดิมและที่สำคัญคือ ด้วยตัวคนเดียว จะสบายใจที่สุด!! มีความสุขที่ได้อยู่กับตัวเอง อย่างเช่น กำหนดวันไป ห้างสรรพสินค้า,ธนาคาร, คาเฟ่ร้านโปรด,ดูหนังในคืนวันศุกร์,เวลาอ่านหนังสือก่อนนอน ฯ กล่าวคือ มีกิจวัตรที่ค่อนข้างตายตัว ไม่มีเหตุการณ์อะไรพิเศษที่ต้องออกไปข้างนอก เจอสังคมที่ต่าง สถานที่ที่เปลี่ยน และตารางเวลาที่อยู่ดีๆก็แทรกเข้ามา เพื่อเจอกับอะไรที่ยากจะคาดเดา เรียกง่ายๆว่า ความสุขของฉันคือความเหมือนเดิม
ไม่รู้ว่าคนแบบนี้จะมีเยอะแค่ไหน แต่เราคนหนึ่งสบายใจกับเหตุการณ์หรือการทำอะไรที่ได้ กำหนดเอง ถึงแม้ว่าจะไม่ได้กำหนดเองแต่ก็พอได้รู้ล่วงหน้า ( มีเวลาให้เตรียมตัว,เตรียมใจ พร้อม!! เจอคน) เหตุผลของเราก็คือ เราได้บริหารเวลาส่วนตัวที่เหลือจากสังคมที่ทำงาน ครอบครัว เพื่อน แฟน แม้แต่กับสัตว์เลี้ยงตัวโปรด ได้อย่างไม่มีอะไรมากระทบหรือเกิดเหตุการณ์ ไม่คาดฝัน เพราะมันอาจทำให้เราผิดหวังจากแผนการที่วางไว้สำหรับ การไป Shopping,ไปดูหนัง,ไปเที่ยว หรือแม้แต่พลาดเวลานอนเฉยๆอยู่บ้าน อาจพูดได้ว่า “ ก็แค่อยากนอนโง่ๆบน เตียง ” สำหรับเรามันคือ เวลาพิเศษที่ให้รางวัลกับตัวเอง
2
หรือว่าการชอบอยู่คนเดียว เรียกว่า "การหลีกเลี่ยง" ในการกระทบกระเทือนทางจิตใจหรือความคิดของคนอื่นที่ส่งผลต่อเรา ในความเชื่อเดิมๆความชอบเดิมๆของเรา เวลาที่เราต้องใช้ชีวิตอยู่กับใครสักคนนานๆ เรากลัวที่จะรู้จักนิสัยใจคอคนๆนั้นอย่างลึกซึ้ง แล้วเราไม่ชอบหรือทำให้ต้องตัดสินคนๆนั้น แบบไม่อยากฉันไม่อยากจะคบหรือคุยด้วยเลย เราอย่าเจอกันอีกเลยนะ!! เราคิดว่ามันก็เป็น ข้อเสีย เหมือนกันนะ เพราะดูว่าเราเป็นคนปิดกั้นคนที่จะเข้ามาในชีวิต
แล้วยิ่งมีความคิดเห็นหรือความชอบความสนใจ ในบางเรื่องที่ต่างกัน มันค่อนข้างยากที่จะให้เขาหรือใครสักคนเป็นคนที่ได้อยู่ข้างกายอย่างสบายใจหรือทำความรู้จักอย่างสนิทชิดเชื้อ ประมาณว่า เรารู้จักกันแค่นี้พอ!! มันจะทำให้เรายังคงมีเส้นความสัมพันธ์เชื่อมกันอยุ่ได้ อย่าให้มันต้องขาด เพราะเรานิทกันมากเกินไปเลย มันจึงเป็นที่มาของความสัมพันธ์หลากหลาย รูปแบบของคนในสังคม เพื่อนสนิท เพื่อนร่วมงาน เพื่อนเที่ยว เพื่อนแท้ ฯลฯ หรือไม่ใช่เพื่อน!! ก็แค่คนรู้จัก
 
คำว่า “ สนิท” นี่เราวัดกันอย่างไรหนอ?? ต้องคิดเหมือนกันทุกเรื่อง ชอบเหมือนกันทุกอย่าง หรือ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมามากมาย รึอาจเป็นคนที่รู้จักกันมานมนาน เราพูดเรื่องนี้ก็เพราะว่า “ เอเลนอร์ ” ไม่เคยมีใครเลยคนน่ะสิ ไม่ว่าจะความสัมพันธ์รูปแบบใด ที่จะเรียกมันว่า “ คนคุ้นเคย , คนสนิท ,เพื่อน T_T ”
เรามาพูดถึง “ เอเลนอร์ ” ตัวละครเอกของเรื่องกันบ้าง ในแง่ที่เหมือนเราก็แล้วกันนะ เพราะ ในหนังสือเล่มนี้ เอเลนอร์ต้องเจอกับปัญหาชีวิต เหตุการณ์วัยเด็กที่น่าสงสาร ที่มีผลต่อสภาพจิตใจ พฤติกรรม นิสัยจนไปถึงปัญหาโรคซึมเศร้าที่ค่อนข้างหนัก ซึ่งชีวิตเราอาจจะไม่ได้ใกล้เคียงกับเอเลนอร์ทุกมุมมอง ที่จะสามารถตัดสินตัวละครและจิตใจตัวละครได้ทั้งหมด เราขอพูดเรื่อง การอยากอยู่คนเดียว หรือ การใช้ชีวิตคนเดียวแล้วมันสบายใจดี ก็แล้วกันนะ
เอเลนอร์ เธอมี routine ที่วนลูปมาก กินอะไรเดิมๆ ทำอะไรเวลาเดิมๆ ไม่เปลี่ยนแปลง และ เธอก็ใช้ชีวิตกับ routine เดิมๆของเธอด้วยความรู้สึก ตัวคนเดียวจริงๆ เธอไม่อินกับงานสังคมใดๆ ไม่มีเพื่อนร่วมงานที่สนิท ไม่มีเพื่อนวัยเด็กหรือญาติพี่น้อง ไม่มีใครเลยนอกจาก “ แม่จ๋า ” ของเธอที่แสนน่าเศร้า ในบางครั้งเอง. “ แม่จ๋า ” ก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นหรือ routine ที่น่าประทับใจสำหรับเอเลนอร์ แต่มันเป็นกิจวัตรส่วนหนึ่งได้ เพราะความเคยชินไปซะแล้ว และไม่มีใครที่ได้เข้ามาเปลี่ยน เนี่ยล่ะสิ!!
....... กว่าจะมี.......ใครสักคนเข้ามาในชีวิตก็นานมากแต่ยังไม่สายเกินไป ก็คือ “เรย์มอนด์” ที่มีบทบาททำให้ชีวิตของเธอได้เปลี่ยนเพราะการมีใครสักคนนี่แหละ
เมื่อพูดถึง การอยากอยู่คนเดียว ไม่ได้หมายความว่า เราจะอยากอยู่คนเดียวบนโลก หรือ อยู่คนเดียวตลอดเวลา,ตลอดชีวิตและตลอดไป ถ้าเราจะพูดอีกครั้งให้เข้าใจมากขึ้น เราเชื่อว่าคนที่ชอบอยู่คนเดียว คือการได้อยู่กับตัวเองในเวลาที่เราเลือกได้ด้วยตนเอง ว่าฉันอยากอยู่คนเดียวในตอนไหน วันไหน ที่ไหน เวลาใด ไม่ได้รวมถึงการทำงานในบริษัทที่มีเราทำงานอยู่คนเดียว หรือ ไปดูหนังก็ขอให้มีเราซื้อตั๋วนั่งดูอยู่คนเดียว หรืออาจจะไปร้านอาหารในตอนที่ไม่มีใคร มีเพียงเรานั่งคนเดียวในร้าน มันก็คงไม่ใช่ขนาดนั้น พอเข้าใจไหมค่ะ เพราะ มนุษย์ผู้ชอบฉายเดี่ยว การไปกินข้าวข้างนอกคนเดียวท่ามกลางคนมากมาย ดูหนังคนเดียว โดยที่มีเบาะข้างๆมากันเป็นคู่ เป็นครอบครัว แค่นี้มันจิ๊บๆมาก ไม่สะเทือนต่อมความรู้สึกโดดเดี่ยวเดียวดายแม้แต่น้อย
แต่ “ เอเลนอร์ ” แม้แต่จะพูดกับคนขายเสื้อผ้า คนขายเครื่องสำอางยังรู้สึกอายและประหม่า กลัวการพูดสื่อสารกับคนแปลกหน้า ในสถานที่ สถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย ถ้าใครมีความรู้สึกคล้ายกับเธอล่ะก็ หนังสือเล่มนี้ก็ไม่ควรพลาดเลยนะ
1
สุดท้ายนี้ เราคิดว่า การได้อยู่กับตัวเองบ้างมันก็ดี แต่การได้มีใครสักคนบ้างมันก็ดีไม่แพ้กัน การอยู่คนเดียว ในตอนที่เราต้องการจริงๆมันเป็นอะไรที่สบายใจและเหมือนเติมพลังชีวิตเลยล่ะ แต่พออ่านเรื่องนี้จบ มนุษย์ผู้(ชอบ)ฉายเดี่ยวทุกคนไม่ว่าจะ. “ เอเลนอร์ ” หรือเราเองก็ยังยืนยันว่า ทุกคนควรมีเพื่อน ที่ปรึกษา หรือคนสนิทไว้สักคนก็ยังดี หรือใครสักคน ในครอบครัว ใครก็ได้ขอให้มีสักคนเถอะหน่า!!!! ไม่ว่าจะสถานะใด? ความสัมพันธ์แบบไหน? มันทำให้ชีวิตเรามีสีสันและได้มุมมองที่หลากหลายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกอะไรก็ตาม การมีใครสักคนเข้ามาในชีวิตเดิมๆของเรา มันเหมือนได้เปลี่ยนสวิตช์ทางอารมณ์ ทางความคิดความเชื่อของเราไม่มากก็น้อย และเราอาจจะเรียนรู้และค้นพบได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ การได้อยู่กับใครที่ไม่ใช่ตัวเราเอง ” เราอาจเรียกมันว่า “ ความสุข ” ก็ได้นะคะ 🙂
โฆษณา