9 ก.พ. 2021 เวลา 00:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ประสิทธิภาพความแตกต่าง ในการกำหนดเขตโซนนิ่งผังเมืองในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา!!
(Zoning in Japan Versus Zoning in the U.S.)
ภาพการออกแบบทางเดินเท้าที่ทำให้เกิดการส่งเสริมการเดินภายในย่าน สำหรับทุกกลุ่มผู้ใช้
"ระบบการแบ่งเขตโซนนิ่งทางผังเมือง" หรือในทางผังเมืองเรียกว่า "Zoning Ordinance" ซึ่งเป็นระบบของการวางผังเมืองเพื่อกำหนดประเภทพื้นที่สำหรับสิ่งก่อสร้างตามการใช้งานวัตถุประสงค์ทางผังเมืองโดยเป็นกรอบใหญ่ในการวางผังเพื่อนำไปสู่กำหนดรายละเอียดทางการออกแบบเมือง (Urban Design) ในอนาคต
บทความวิจัยได้เปรียบเทียบว่า ระบบการกำหนดเขตโซนนิ่งทางผังเมืองของญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพสูงในการส่งเสริมให้เกิดย่านที่ใช้งานแบบผสมผสานการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Mixed-Land Use) และส่งเสริมให้เกิดเมืองแห่งการเดิน (Walkable City) การแบ่งเขตโซนนิ่งของญี่ปุ่นมีความแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาอย่างไร และปัจจัยอะไรที่ทำให้เกิดความแตกต่างเหล่านี้ มาดูคำตอบกัน!!
ประสิทธิภาพการออกแบบทางเดินเท้าและทางจักรยานที่มีความสำคัญมากกว่ารถยนต์บนท้องถนน เพื่อส่งเสริมเมืองแห่งการเดินปั่นจักรยาน
นายโนแลนเกรย์ ได้เขียนอธิบายเกี่ยวกับการวางผังเมืองของญี่ปุ่นว่า "ระบบการกำหนดแบ่งเขตโซนนิ่งทางผังเมืองของญี่ปุ่น ถูกวางผังทำให้ง่ายต่อการสร้างย่านที่สามารถเดินได้และสามารถใช้งานร่วมกันได้" ซึ่งมีความแตกต่างจากบรรทัดฐานของอเมริกาในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะ "การกำหนดแบ่งเขตโซนนิ่งผังเมืองของญี่ปุ่นค่อนข้างมีความเสรี แต่เป็นข้อกำหนดที่ความสำคัญต่อการควบคุมผังบริเวณค่อนข้างมากและส่งเสริมให้เกิดความหนาแน่นต่ำในบางพื้นที่ โดยแยกการใช้งานบางพื้นที่ซึ่งจำกัดไว้ โดยข้อกำหนดนั้นจะไม่มีความแตกต่างด้านกฎระเบียบระหว่างอพาร์ทเมนต์และบ้านเดี่ยว" เพื่อทำให้เกิดความหลากหลายของย่านที่ผสมผสานความหลากหลายของประเภทอาคาร
3
ทั้งนี้ ปัจจัยอะไรทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากมาย ระหว่างระบบการแบ่งเขตโซนนิ่งในญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา นายเกรย์ ได้อธิบายว่า มีปัจจัยหลักอยู่สามประการ ได้แก่
ข้อแรก คือ สหรัฐฯให้สิทธิพิเศษด้านอสังหาริมทรัพย์เป็นการลงทุนตามกฎหมายแก่นักลงทุนมาก แต่ที่ญี่ปุ่นไม่ได้ส่งเสริมให้ผู้บริหารเมืองมีอำนาจทำตามใจ แต่ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดทางผังเมืองที่กฎหมายได้กำหนดไว้แล้วในพื้นที่นั้น ๆ ซึ่งมีข้อจำกัดและรายละเอียดจำนวนมากระบุไว้โดยเคร่งครัด
ทั้งนี้ กฎหมายปัจจุบันสนับสนุนให้ผู้ซื้อบ้านปฏิบัติต่อทรัพย์สินของตนเพื่อ "สร้างความมั่งคั่ง" มากกว่าการซื้อมาแล้วขายไปในเวลาอันรวดเร็วโดยยืนหยัดเพื่อสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมให้มีแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ในญี่ปุ่นบ้านมีมูลค่าการขายต่อเพียงเล็กน้อย โดยลดค่าเสื่อมราคาทั้งหมดในบางกรณีซึ่งไม่แพงมาก โดยนับจากอายุเฉลี่ยของบ้านเพียง 22 ปี
มาตรฐาน Universal Design ที่ทรงประสิทธิภาพสำหรับเมืองแห่งการเดินและผู้สูงอายุของญี่ปุ่น
ข้อ 2 นายเกรย์ เขียนว่า "บริการสาธารณะส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ได้รับการบริหารจัดการในระดับท้องถิ่นโดยผลักดันให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับบริการสาธารณะใช้การแบ่งเขตโซนนิ่งตาม "คุณภาพการบริการสาธารณะ" ปัจจัยดังกล่าวได้ทำให้เกิดกระบวนการแบ่งแยกตามเชื้อชาติและชนชั้นให้มีความรุนแรงขึ้น ในทางตรงกันข้ามบริการสาธารณะในท้องถิ่นของญี่ปุ่นได้รับมาตรฐานเดียวกันในระดับประเทศ รวมถึงเกาะต่าง ๆ โดยประเทศจะชดเชยกับอัตราการเก็บภาษีที่ค่อนข้างสูงและนโยบายการตรวจคนเข้าเมืองที่บังคับใช้เป็นเนื้อเดียวกันทุกเชื้อชาติ ซึ่งนโยบายเหล่านี้มีผลในการแยกคุณภาพการ "บริการสาธารณะ" ออกจากขอบเขตดูแลของเทศบาลในพื้นที่ไม่ใช่เรื่องง่าย" นัก เนื่องจากเป็นอำนาจของผู้บริหารท้องถิ่น แต่ญี่ปุ่นทำได้เพื่อให้เมืองมีคุณภาพเป็นเนื้อเดียวกัน
การส่งเสริมระบบขนส่งมวลชนในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างเมืองกระชับและมีประสิทธิภาพในญี่ปุ่น
ข้อ 3 แนวทางของสหรัฐอเมริกา จะใช้แผนความเห็นร่วมเพื่อปรับเปลี่ยนเป็นหลัก ในการวางแผนการใช้ที่ดินในท้องถิ่น ซึ่งทำกันอย่างแพร่หลาย โดยใช้การตัดสินใจอนุญาตตามความสนใจพิเศษ แต่ที่ญี่ปุ่นใช้ระบบอนุญาตแบบ "ตามสิทธิ์" ซึ่งหมายความว่าหากโครงการเป็นไปตามข้อกำหนดการแบ่งเขต ก็ไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบตามดุลยพินิจ"
การสร้างเมืองสำหรับผู้สูงอายุให้ใช้งานได้โดยสะดวกในญี่ปุ่น
โดยในแง่นี้ของข้อกำหนดการแบ่งเขตของญี่ปุ่นจะเป็นไปตามการวางแผนที่เหมาะสม โดยผู้กำหนดนโยบายจะพิจารณาล่วงหน้าว่าต้องการอนุญาตการพัฒนาประเภทใด และที่ไหน และเมื่อนักพัฒนามีข้อเสนอที่สอดคล้องกันตามแผนระบบผังเมือง ก็จะมอบใบอนุญาตที่จำเป็นให้ในการดำเนินการ
บทสรุป แนวคิดทางระบบข้อกำหนดการแบ่งเขตของญี่ปุ่น กับสหรัฐเมริกา มีกฎหมายที่แตกต่างกันในแต่ละเมืองและพื้นที่ โดยส่วนใหญ่พบว่า ระบบการผังเมืองของญี่ปุ่น เน้นการพัฒนาเมืองตามแผนแม่บทผังเมืองที่วางไว้อย่างเคร่งครัด ผู้บริหารเมืองไม่สามารถตัดสินใจที่ไม่เป็นไปตามแผนผังเมืองที่วางไว้ได้ หากขัดแย้งกับข้อกำหนด แต่หากนักพัฒนาทำตามข้อกำหนดการพัฒนาในพื้นที่นั้นก็สามารถพิจารณาอนุญาตได้โดยง่าย จึงมีความแตกต่างกับกฎหมายแต่ละมลรัฐของอเมริกาที่ให้อำนาจผู้บริหารเมืองในการพิจารณาที่ให้สิทธิกับนักลงทุนสูง และอาจไม่เป็นไปตามแผนผังเมืองที่วางไว้ การวางเป้าหมายการเป็นย่านที่ผสมผสาน หรือเมืองแห่งการเดินโดยแท้จริง จึงเป็นการยากที่จะเกิดขึ้นให้สอดคล้องตามทฤษฎีการวางผังเมืองยุคใหม่ เราจึงพบว่ามีบางเมืองในสหรัฐอเมริการเท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการไปสู่เมืองแห่งการเดินตามแนวทางการเติบโตอย่างฉลาด (Smart Growth) และวิถีชีวิตเมืองยุคใหม่ (New Urbanism)
เขียนแปลโดย ผศ. ศิวพงศ์ ทองเจือ สามัญสถาปนิก (ส-สผ 26 สถาปัตยกรรมผังเมือง) ประธานกรรมาธิการสถาปนิกผังเมืองทักษิณ / ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการที่ปรึกษาผังเมืองรวมจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา
โฆษณา