6 ก.พ. 2021 เวลา 21:30 • ประวัติศาสตร์
รู้หรือไม่ ??? มีโลมาในแม่น้ำโขง
รู้จัก “โลมา-อิรวดี” (สายพันธุ์สุดคิ้วท์) ที่ตอนนี้เหลือเพียง 90 ตัว-ในแม่น้ำโขงเท่านั้น
โลมาอิรวดี (Irrawaddy dolphin) ถูกพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า (จึงเป็นที่มาของชื่อนั่นเอง) สามารถพบพวกมันได้เพียงแหล่งน้ำ 5 แห่งในโลก นั่นคือ แม่น้ำโขงประเทศลาวและกัมพูชา แม่น้ำขาวประเทศอินโดนีเซีย ทะเลสาบซิลิกาประเทศอินเดีย และในประเทศไทยโลมาอิรวดีเป็นสัตว์สงวน อยู่ในกลุ่มสัตว์ใกล้สูญพันธุ์สูงสุด ขณะนี้พบเพียงแค่ 15-20 ตัวในทะเลสาบสงขลาเท่านั้น
โดยโลมาชนิดนี้ ยังมีอีกหนึ่งชื่อเรียกคือ “โลมาหัวบาตร” เนื่องจากมีหัวกลมเกลี้ยงคล้ายบาตรพระ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Orcaella brevirostris) ลำตัวสีเทาเข้ม ความยาวลำตัวราว 1.8-3 เมตร น้ำหนัก 90-130 กิโลกรัม อาศัยอยู่ได้ในน้ำจืดรวมถึงน้ำกร่อย อายุขัย 30 ปี สามารถอยู่ใต้น้ำได้นาน 1-3 นาทีจากนั้นค่อยขึ้นมาหายใจ เป็นสายพันธุ์ที่มีสายตาดีเทียบเท่ามนุษย์ ทำให้สามารถล่าเหยื่อได้โดยการพ่นน้ำหรือปล่อยฟองอากาศเพื่อให้เหยื่อช็อกตกใจ จากนั้นจึงรีบพุ่งเข้าไปงับกิน (อาหารจานโปรดคือ ปลาตามแหล่งอาศัย กุ้ง และหมึก)
มีฟันแหลมอยู่ประจำขากรรไกร ด้านบนจำนวน 40 ซี่ และด้านล่างจำนวน 36 ซี่ ซึ่งนี่แหละคืออาวุธที่ใช้งับเหยื่อให้ขาด 2 ท่อนได้ในงับเดียว // นอกจากนี้ยังมีบันทึกด้วยว่า โลมาอิรวดีที่ไทยสามารถกินปลาดุกโดยหลีกเลี่ยงการกัดโดนเงี่ยงได้อย่างน่าอัศจรรย์
ปัจจุบัน จำนวนของพวกมันทั่วโลกเหลือไม่ถึง 325 ตัว ซึ่งแม่น้ำที่หลงเหลืออยู่มากที่สุดคือแม่น้ำโขง โดยลดจำนวนลงจาก 200 เหลือเพียง 92 ตัว (ค.ศ.1997-2018) สาเหตุเนื่องจาก ตัวเมียต้องมีอายุถึง 7 ปีกว่าจะพร้อมผสมพันธุ์ แถมยังต้องใช้เวลาตั้งท้องนานถึง 14 เดือนต่อครั้งเลยทีเดียว (คลอดลูกออกมาครั้งละ 1 ตัวเท่านั้น) นอกจากนี้ การถูกล่าเพื่อนำเนื้อไปบริโภค ปัญหามลพิษทางน้ำ และการล่าสัตว์แบบผิดวิธี ก็เป็นสาเหตุหลักที่หากยังเป็นเช่นนี้ต่อไป พวกมันคงสูญพันธุ์ไปจากโลกภายในไม่เกิน 10 ปีแน่นอนครับ
โฆษณา