6 ก.พ. 2021 เวลา 16:18 • การศึกษา
COPY CATS and a COPYRIGHT
สองสามวันมานี้ได้ฟังเรื่องหนาหูในแวดวงวิชาการ เกี่ยวกับการนำผลงานทางปัญญาของผู้อื่นไปใช้เสมือนว่าเปน
ของตนเอง นอกจากไม่ให้เครดิตทั้งที่ผู้เจ้าของนั่งอยู่ตรงหน้าในงานสััมมนาแล้วยังป่าวประกาศเสียอย่่างกับว่าคิดค้นขึ้นมาได้เองเสียอย่างนั้น อีกเรื่องก็เปนเช่นว่าให้มีการนำเสนอข้อเสนอ (proposal) เพื่อไปพิจารณาสั่งซื้อสั่งจ้างแต่พอดีพอร้ายฝ่ายจัดซื้อเอาproposal ของรายที่ 1 ไปเปิดให้รายที่สองทำราคาเข้ามาเลยแบบไม่ต้องคิดอะไรมาก
ความอึดอัดคับข้องใจของเหล่านักวิชาการเจ้าของผลงานแสดงออกมาจนสัมผัสได้
มาตรการควรเปนอย่างไร? เปนเเค่เรื่องมารยาทหรือไม่? ได้สังเกตหลายคนที่มีพฤติกรรมขโมยความคิด องค์ความรู้ ลอกวิทยานิพนธ์ของผู้อื่นไปใช้มักมีพฤติการณ์แสวงหาทางลัดในการไขว่คว้าไต่เติมเสริมฐาน เพื่อปีนป่ายไปให้ถึงฝั่งฝัน สุดท้าย...ทุกราย_จบไม่สวย ด้วยสนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อในตน ความช่ำชองชำนาญในเนื้องานไม่มี
เปรียบเหมือนชอบทางลัดก่อสร้างพระเจดีย์มียอดสูง เมื่อสังคมค้นได้คุ้ยเจอว่าฐานรากมันปลอมเปราะ ฉะนี้แล้วยอดพระเจดีย์ที่สุกสกาวก็ต้องพังคลืนลงไม่เปนท่า เปนคดีโดนปลด โดยพิพากษา น่าอับอายขายขี้หน้าแทบแทรกแผ่นดินหนี มีให้เห็นอยู่ถมไป
ฝรั่งคงว่า It costs a lot.
ยาพิษเคลือบน้ำตาลอย่างนี้ร้ายกาจนัก ใครชอบกิน ยิ่งไต่ขึ้นสูง ตกมายิ่งเจ็บหนัก ยิ่งตัวใหญ่นัก ยิ่งล้มเสียงดัง!
โบราณกาลแต่ก่อนไรท่านทำอะไรจึงต้องไหว้ครูเสียก่อน ภาษิตตาฮิติ ที่คนฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมพูดให้ได้ยินบ่อยๆมีว่า ' เมื่อกินน้ำ...นึกถึงคนขุดบ่อ ' ไทยๆเราไหว้ครูเพื่อขออนุญาต ขอใช้วิชาที่ครูสอน ที่ครูถ่ายทอดให้ นอบน้อมว่าข้าฯ(พเจ้า) เปนผู้ใช้ ขอบน้ำใจท่านผู้คิด ขอบน้ำจิตท่านผู้ให้
วันนี้คนไทยติดนิสัยใครไม่ทราบได้ แต่ไม่ใช่นิสัยคนตาฮิติ
ลางท่านว่าเรื่องความคิดนี้มันพูดยาก ก็อยู่ๆมันผุดขึ้นมาเองในขมอง ไม่ได้ไปลอกไปคัดของใครเขามาจะให้ทำไง
ก็เรียนได้อย่างเดียวว่า ถ้าเปนอย่างพรรค์นั้นจริง ก็คงไม่มีใครว่ากระไร
แต่ถ้าใช้เปนข้ออ้างล่ะก็...หน้าด้านฯ:-
Sincerely,
JPK
David Ogilvy สันตะปาปาแห่งวงการโฆษณาร่วมสมัยมีทัศนคติอย่างไรต่อประเด็นนี้? ค่าที่โอกิลวี่มักทำโฆษณาแบบไม่หวงของ เผยแพร่เปนการทั่วไป เช่นว่า
" How to creat advertising that sells"
"How to advertise travel."
"How to launch new product."
"How to make tv commercial that sells." เรียกได้ว่าบอกวิธีการ how to อย่างละเอียดเปนขั้นตอน พร้อมตัวอย่างแจกฟรีกันเลย คู่แข่งเมื่อได้อ่านก็ย่อมสามารถเอาวิชาไปใช้ทำมาหากินแย่งงานตะแกได้ทันที
วิชั่น วิสัยทัศน์ของโอกิลวี่กลับตรงกันข้าม เขามั่นใจว่า ลูกค้าจะรู้ได้เองว่าจะใช้มือสมัครเล่นที่ "พอทำงานได้" หรือจะเลือก "มืออาชีพระดับครู" มาจัดการกับงานโฆษณาที่ซับซ้อน ก็ เก๋าขนาดเขียนวิธีทำงานโฆษณาให้คนอื่นทำตามได้ก็แล้วกัน ใครไม่เลือกแก แกก็ไม่ทำงานด้วย ไม่คู่ควร ว่่างั้นเถอะ
น่าชื่นชมในแง่ที่โอกิลวี่มีความเชื่อมั่นในระบบการแข่งขันโดยเสรี เขาให้ความสำคัญกับการพัฒนางานของตนเองและไม่ยอมอยู่นิ่ง เขาเชื่อว่ารายรับที่ดีของบริษัท มาจากความสามารถของกิจการที่ผลิตผลงานชิ้นเลิศเท่านั้น
กลางทศวรรษ 1980 มีกระแสความพยายามในการปรับลดต้นทุนการจัดซื้อขององค์กร มีวิธีการมากมายที่ฝ่่ายจัดซื้อเรียนรู้ที่จะนำมาใช้และsupplier ต้องขวนขวายที่จะรับมือ หนึ่งในนั้นคือ RFP ( Request for Proposal) ด้วยความพยายามที่จะให้คู่ค้าทุกเจ้าเสนอราคาบนมาตรฐานเดียวกัน และนำไปสู่การแข่งราคาให้องค์กรทำสัญญากับผู้ที่ให้ราคาต่ำสุดหลังผ่่านกระบวนการ RFQ ( Request For Quotation)
สันตะปาปา เดวิด ไม่ได้เเยแสกับกระบวนการเช่นว่านี้ เขาไม่เคยเจรจากับเจ้าหน้าที่จัดซื้อ ตรงกันข้าม ในกรณีของลูกค้าสำคัญเช่น เชลล์ เขาเดินทางข้ามมหาสมุทรมาลอนดอนทันทีที่ทราบว่า แม็กซ์ เบิร์น ประธานผู้บริหารของเชลล์ เชื้อสายสก็อตอยู่ในพื้นที่ จากความพยายาม 7 วันที่ฝากข้อความถึง ประธานเบิร์น เขาได้รับการตอบกลับ ซึ่งจบลงด้วยการร่วมรับประทานอาหารเที่ยงกับมุขมนตรีแห่งสก็อตแลนด์ ที่ห้องอาหารรัฐสภา
อิ่มข้าวแล้ว ฝนตก เดวิดเดินไปส่งท่านประธานด้วยร่มของเขาและเล่าถึงความสำคัญของการทำธุรกิจแบบเฟิร์สคลาส... ไม่มีใครลดราคาที่นั่งชั้นหนึ่ง บริการต่่างหากที่เปนเลิศในการเดินทาง และผลงานต้องเปนที่ประจักษ์ เขางัดเอาโฆษณามาสเตอร์พีชที่โอกิลวี่ทำให้กับโรลส์สรอยออกมา.. ท่านประธานเห็นด้วยว่ามันชั้นหนึ่ง
และแล้วเชลล์ก็กลายเปนลูกค้ารายใหญ่ที่สุด ของ โอกิลวี่ & แมเธอร์ มาตั้งแต่บัดนั้นฯ
โฆษณา