ตอนที่ (1)
ประวัติ
เช็ควันอะห์มัด อัลฟาฏอนีย์ (ร่อฮิมะฮุ้ลลอฮ์ ตะอาลา)
(1856 - 1908)
ชื่อเต็ม :
เชควันอะห์มัด บิน วันมูหัมมัดเซ็น บิน วันมุสตอฟา อัลมลายูวีย์ อัลฟาฏอนี มีเชื้อสายมาจากนักเผยแผ่ศาสนามาจากหะฎอเราะเมาต์ ประเทศเยเมน เล่าขานกันว่าเชื้อสายของท่านสืบสายไปถึง ซัยยิดินา อับบาส อิบนุ อับดุลมุฏฏอลิบ (ลุงของท่านรอซูล) ลุงของเชคอะห์มัดมีชื่อว่า เชควันมุสตอฟา อัลฟาฏอนี ถูกขนานนามว่า ?ดะโต๊ะ ปังลิมอ กายอ?
กำเนิด :
เกิดที่บ้านยามู จังหวัดปัตตานี ในคืนวันศุกร์ ตรงกับวันที่ 5 เดือนชะอ์บาน ฮ.ศ.1272 หรือตรงกับ 10 เมษายน 1856 ณ หมู่บ้านสะนอยานยา เช็ควันอะห์มัดมีชีวิตในช่วงการเปลี่ยนแปลงจากสมัยเก่าสู่สมัยใหม่ ซึ่งท่านยังมีโอกาสสนทนาแลกเปลี่ยนกับนักปฏิรูปในโลกอิสลามและโลกมลายูจำนวนหลายท่าน
ประวัติการศึกษา:
การศึกษาเบื้องต้นกับบิดาของท่านเองคือ หัจญีวันมูฮัมมัดเซ็น หรือหัจญีวันเด็น บิน เชควันมุสตอฟา ต่อมาได้เล่าเรียนลุงของท่านชื่อว่า เชคมุสตอฟา เป็นที่รู้จักในนาม (โต๊ะครู บึนดัง ดายอ) เชควันอะหมัดเป็นเด็กที่มีความฉลาดมากในหมู่ของนักเรียนสมัยนั้นต่างคนต่างก็ยอมรับว่าท่านเป็นเด็กที่เรียนรู้ได้เร็วมาก
คณาจารย์ :
บรรดาคณาจารย์ที่ท่านได้เล่าเรียนมา ณ นครมักกะฮ์ได้แก่ :
1. เชคอะหมัด บินซัยนีย์ ดะฮลาน
2. เชคหัสบุลลอฮ์ (มุหัมมัด บินสุลัยมาน)
3. เชควันมุหัมมัด อาลีย์ กูตัน บินอับดุลเราะห์มาน
4. เชคนิเดร์ ปัตตานี
5. เชคนิมัต กือจิ ปัตตานี
ต่อมาท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อที่บัยติล มักดีส และสุดท้ายท่านไปจบการเรียนของท่านที่อียิปต์ อาจารย์ท่านหนึ่งของท่าน ณ ที่นั่นคือ เชคมุสตอฟา อะฟีฟีย์
นับว่าท่านเป็นนักเรียนชาวปัตตานีคนแรกที่เข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัยอัลอัซฮาร์ ส่วนนักเรียนคนอื่น ๆ ในรุ่นคราวเดียวกันที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยดังกล่าวได้แก่
1. โต๊ะครูหัจฐีมุหัมมัดอะมีน นัดดำ ปัตตานี
2. โต๊ะครูหัจญีดาวูด กูบัง บูนุต โกตาบารู รัฐกลันตัน
3. โต๊ะครูหัจญีวันมะห์มูด บ้านโต๊ะมือเซร์ โกตาบารู
4. โต๊ะครูหัจญีวันอับดุลมุบีน บินอะหมัด
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว ท่านจึงเดินทางมายังนครมักกะฮ์และสอนหนังสือที่นั่น
#คุณสมบัติพิเศษ:
ในฐานะนักปราชญ์ผู้มีชื่อเสียง จึงขอกล่าวถึงคุณสมบัติพิเศษส่วนตัวของท่านบางประการ ดังนี้
1. ท่านเป็นอุละมาอ์ปัตตานีที่มีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับวิชาเคมี จนได้รับการกล่าวขานว่าท่านสามารถทำทองคำได้ แต่เป็นที่น่าเสีย ตำราที่ท่านได้ศึกษาวิจัยถูกไฟไหม้ราว ๆ ปี ค.ศ. 1903
2. ท่านเป็นนักปราชญ์ที่มาจากแผ่นดินมลายูคนแรกที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสตร์ทางการแพทย์ โดยได้รับการชี้แนะจากเช็คอับดุลรอหีม อัลกาบูลีย์ ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ มาจากประเทศอินเดีย สำหรับผลงานเขียนของท่านเชควันอะหมัดเกี่ยวกับการแพทย์ที่เขียนในภาษามลายูคือ ลุกเตาะ อัล อิจญลาน
3. ท่านเป็นคนบรรณาธิการกิตาบในภาษามลายูคนแรกๆ ในสำนักพิมพ์อียิปต์ มักกะฮ์ และอิสตันบูล
4. ท่านเป็นคนที่มีความสนใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การเผยแผ่ ศาสนาอิสลามในปัตตานีและแหลมมลายู การต่อสู้ของชาวมลายูปัตตานี เป็นต้น
5. ทานเป็นอุละมาอ์คนแรกที่มีการถาม ตอบ ปัญหาทางศาสนาอย่างเปิดเผย ส่วนหนึ่งของคำฟัตวาของท่านมีอยู่ใน *กิตาบ อัลฟะตาวา* ซึ่งกิตาบดังกล่าวต่อมาถูกตั้งชื่อใหม่ว่า *ฟะตาวา อัลฟาฏอนียะฮ์*
6. ผลงานเขียน : ตำราในภาษามลายู จำนวน 13 เล่ม
1. ลุกเตาะฮิ ลอญาลาน ฟีย์มา ตะมัซซุ อิลัยฮิ หาญาต อัลอินซาน
2. บะชาเราะฮ์ อัลอามีลีน วา นาเซาะเราะฮ์ อัลฆอฟิลีน
3. อักด์ อัลญุมาน ฟีย์ อะกออิด อัลอีมาน
4. สะอาดะฮ์ อัลมุตะนับบิฮ์ ฟีย์ อัลเมาต์ วะมา ยะตะอัลลัก บิฮีย์
5. บัดร์ อัลตะมาม วัลนุญูม อัตตะวากิบ
6. ฮะดีเกาะฮ์ อัลอัซฮาร์ วัลเราะยาฮิน
7. บะฮ์ญะฮ์ อัลมุบตะดีน วะฟัรฮะฮ์ อัลมุจญตะดีน
8. ตุฮ์ฟะฮ์ อัลอุมมะฮ์ ฟีย์ อัลเศาะลาต อะลา นะบีย์ อัลเราะฮ์มะฮ์
9. บะดาอีย์ อัลซุฮูร
10. ตอยยิบ อัลอิห์ซาน ฟีย์ อัลติบ อัลอินซาน
11. ฟะรีดะฮ์ อัลฟะรออิด ฟีย์ อิลมิ อัลอะกออิด
12. อินวาน อัลฟะลาห์ วะอุนฟุวาน อัลเศาะลาฮ์
13. อัลฟะตาวา อัลฟาฏอนียะฮ์
ตำราในภาษาอาหรับ จำนวน 10 เล่ม
1. ญุมานะฮ์ อัลเตาหีด
2. ตัสฮี้ล นัยล์ อัลอะมานีย์
3. อัลอิบรีส อัลศอรฟ์ ฟีย์ ฟัน อัลศอรฟ์
4. มันฮัจญ์ อัลสลาม ฟีย์ ชัรห์ ฮิดายะฮ์ อัลอะวาม
5. มะตัน อัลมัดค็อล ฟีย์
6. อับนิยะฮฺ อัลอัสมาอ์ วัลอัฟอาล
7. อัลริสาละฮ์ อัลฟาฏอนียะฮ์
8. อัลมันซูมะฮ์ อัลฟาฏอนียะฮ์
9. อิลม์ อิสติอาเราะฮ์
10. ตัดรีจญ์ อัลสิบยาน
อื่นๆ เป็นต้น
สานุศิษย์ :
เป็นที่เลื่องลือว่า ท่านเป็นอุละมาอ์ที่มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วแหลมมลายู หรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นอาจารย์แก่บรรดาอุละมาอ์ผู้สืบทอด ในบรรดาศานุศิษย์ที่สร้างชื่อเสียงมีจำนวนมากมาย แต่ในที่นี้ ขอกล่าวเพียงบางส่วนเท่านั้นคือ
1 . ดะโต๊ะ หัจญีวันอับดุเลาะ วัน มูซอ ผู้พิพากษารัฐยะโฮร์
2. หัจญีวันอิสหาก บิน อับดุลเลาะ ผู้พิพากษารัฐกลันตัน
3. หัจญีวันอะหมัด บิน หัจญีอาวัง มุหัมมัดเซ็น
4. ดะโต๊ะหัจญีนิมัต บินดะโต๊ะนิยูซุฟ
5. โต๊ะครูหัจญีอุมัร บิน อิสมาอีล, สุงัยกือลาดี
และอีกจำนวนมากมาย
เสียชีวิต :
ท่านเสียชีวิตในวันที่ 11 ซุลฮิจญะฮ์ ฮ.ศ. 1325 ตรงกับ 14 มกราคม ค.ศ 1908 ณ ตำบลมีนา ประเทศซาอุดิอารเบีย ศพของท่านถูกฝังไว้ที่สุสานมะอ์ลา นครมักกะห์
ชีวิตสมรส ท่านครองเรือนกับซีตีเสาดะฮ์ บินติ วันอับดุลเลาะ (หลานเช็คนิมัต กือจิ) ท่านมีบุตรธิดาด้วยกัน 3 คนคือ หัจญีวันอิสมาอีล กอฎีย์, หัจญะฮ์วันฟาตีมะฮ์ และหัจญะวันซัยนับ.
(โปรดติมตามตอนคนต่อไป)