Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลุงทะเล้น
•
ติดตาม
7 ก.พ. 2021 เวลา 02:34 • ธุรกิจ
เมื่อวานแอดไปนั่งประชุมร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาระดับโลก และทีมจาก retailer รายใหญ่ นั่งฟังเรื่องวิธีการคิด วิธีการทำงาน และวิธีการวัดผลงานของคนในแต่ละแผนก ก็คิดว่าน่าจะมีประโยชน์เลยเอามาเล่าให้ฟัง
เมื่อแต่ละแผนกมีการตั้งเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ทุกคนก็โฟกัสแต่กิจกรรมของแผนกตัวเองให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด ฟังแบบเร็วๆก็ดีนะครับ เมื่อทุกฝ่ายทำงานมีประสิทธิภาพ องค์กรก็น่าจะมีประสิทธิภาพสูงสุดไปด้วย จริงหรือไม่ ลองมาดูกัน ยกตัวอย่างแค่ 3 แผนกก่อน
แผนกจัดซื้อ มีการต่อรองเงื่อนไขกับทางผู้ผลิตให้ได้ต้นทุนต่ำที่สุด แต่ต้องมีปริมาณในการสั่งซื้อที่ค่อนข้างสูงแลกเปลี่ยนกัน เมื่อตกลงราคา และปริมาณได้แล้ว ทางจัดซื้อก็จะส่งสินค้าเข้าไปยังหน้าร้านแต่ละสาขาจนครบปริมาณที่ตกลงกับทางผู้ผลิตไว้ ถึงแม้จะรู้ว่าปริมาณสินค้าที่ส่งเข้าไปในแต่ละสาขาบางครั้งขายไม่ทัน ทำให้ทีมหน้าร้านต้องไปจัดการลดราคา (mark down) ที่จุดขายบ้าง แต่เมื่อหักลบกลบหนี้กับ Trade Term Agreement (เงื่อนไขการค้า) แล้วก็ยังมีกำไรเหลือ ได้ตาม KPI ที่ตั้งไว้
แผนก supply chain เมื่อได้แผนการกระจายสินค้าจากทีมจัดซื้อ ก็ต้องวางแผนต่อว่าจะลดต้นทุนการขนส่งอย่างไร เพื่อให้ต้นทุนของแผนกตัวเองต่ำที่สุด ทำอย่างไรให้ Stock cover day (ปริมาณสินค้าที่เก็บ) ที่ศูนย์กระจายสินค้า (DC) ต่ำๆ และกระจายสินค้าไปที่สาขาเร็วที่สุด และต้นทุนในการขนส่งต่ำที่สุด ปกติแล้วสินค้าทั่วไปจัดส่ง 2 แบบ ได้แก่ สินค้าที่ต้องเก็บด้วยอุณหภูมิ (แบบแช่เย็น และแบบแช่แข็ง) และสินค้าที่เก็บด้วยอุณหภูมิปกติ (ของแห้ง) ถ้าเป็นการขนส่งสินค้าด้วยอุณหภูมิปกติจะง่ายกว่า เพราะจะคำนึงถึงแค่เรื่อง Truck utilization (ปริมาณการขนสินค้า) เป็นหลัก แต่ถ้าเป็นพวกของสด แน่นอนว่าแช่เย็นกับ แช่แข็งต้องแยกรถกันอยู่แล้ว เอาแค่การจัดการสินค้าแบบแช่เย็นอย่างเดียวก็พอ จะขนสินค้าหมูสด ไก่สด ผักผลไม้ เต้าหู้ ปลา อาหารทะเลมารวมกัน หากคิดแบบเร็วๆก็ไม่น่าจะติดอะไร เพราะอุณหภูมิแบบเดียวกันน่าจะมาด้วยกันได้ แต่หากมองให้ลึกลงไป สินค้าแต่ละประเภทต้องการการดูแลที่ไม่เหมือนกัน เช่น ผักผลไม้ที่เกิดการช้ำได้ง่าย และเมื่อวางผิดตำแหน่งพออุณหภูมิต่างกันก็จะเกิดเหงื่อบนบรรจุภัณฑ์ ทำให้เกิดการเน่าเสียได้ง่าย ไม่รวมเรื่องของกลิ่นที่จะข้ามไปติดในสินค้าอื่นๆที่วางอยู่รวมกัน ถึงแม้ว่าจะจัดพาร์ทิชั่นแยก หรือจะมีการห่มผ้าให้สินค้าก็ตาม แน่นอนว่าแผนกนี้ก็ได้ KPI ที่ต้นทุนในการส่งสินค้าต่ำที่สุดอีกเช่นกัน
แผนกขายหน้าร้าน เมื่อมีสินค้ามาส่งหน้าร้าน ก็ต้องเอาสินค้าไปจัดเก็บแยกประเภทในห้อง stock ก่อน อาหารสดที่มีกลิ่นแรงเก็บไว้ที่นึง ผักผลไม้เก็บไว้อีกที่นึง (บางสาขาพท.น้อยก็กองรวมกันในห้องเดียวนั่นแหละ) แต่ใส่รถมาคันเดียวกันนะ 555 พอเห็นกองสินค้าสูงท่วมหัวแถมมีอีกหลายกองอีก ยังไม่พอสินค้ากลุ่มอาหารมีอายุสินค้าสั้น ประมาณ 6 วัน ของกว่าจะมาถึงสาขาก็หมดเวลาขายไป 2-3 วันแล้ว มีเวลาขายหน้าร้านอีก 2-3 วันต้องขายให้หมด หากพบสินค้าหมดอายุใน stock เวลาทีมตรวจสอบมาเจอก็โดนตัดคะแนนอีก ก็ต้องลากสินค้าออกมาจัดเรียงเยอะๆ ทำโปรโมชั่นราคาพิเศษตอนสิ้นวัน (mark down) ทุกวัน โดยไล่ราคาไปตั้งแต่ลด 25%, 50% และ 75% ตามลำดับ เพื่อวนเวียนกันเป็นวัฏจักรแบบนี้ทุกวัน แน่นอน KPI ของทีมหน้าร้านนอกจากจะรับผิดชอบยอดขายแล้ว ยังต้องดูรายละเอียดทุกบรรทัดตามงบกำไรขาดทุนอีก ซึ่งก็ต้องทำให้บรรลุตามเป้าหมายประจำปีที่ตั้งไว้
พอค่อยๆดูเรื่องการตั้งเป้าหมาย KPI ของแต่ละแผนกภาพรวมก็น่าจะออกมาดีนะครับ เพราะต้นทุนที่ได้ต่ำที่สุดตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) แต่พอมาไล่ดูรายละเอียดปลีกย่อยตรงจุดขายกันบ้าง บนชั้นวางจะเห็นสินค้าที่เสื่อมเสียเร็วกว่ากำหนด เพราะการจัดการสินค้าไม่ดี เห็นปริมาณสินค้าวางทับๆกัน เพราะไม่มีที่วาง การจัดการสินค้าก็ไม่ทั่วถึง FIFO, FEFO ก็ทับๆกันอยู่บนชั้นนั่นแหละ เห็นลูกค้ามากมายที่มารอเป็นแถวยาว เพื่อรอซื้อสินค้าราคาถูกในช่วงค่ำๆ (ถ้าราคาเต็มไม่ซื้อ) ภาพลักษณ์เรื่องคุณภาพก็อาจจะหายไป ท้ายที่สุดยอดขายที่ได้ก็จะมาจากสินค้าที่ต้องเคลียร์ stock ทั้งนั้นแหละ จำนวนลูกค้าแม่บ้านที่จะเลือกซื้อสินค้าไปเพื่อทำกับข้าวให้ครอบครัวทาน ก็จะกลับกลายเป็นพ่อค้า แม่ค้าที่มาเหมาซื้อสินค้าราคาถูกไปขายต่อ
เมื่อถามถึงสัมพันธภาพระหว่างหน่วยงาน ก็ไม่ค่อยดีนัก แต่ละฝ่ายก็โยนลูกกันไปมา ทุกแผนกทำงานตามมาตรฐานแล้ว เอ้า!!! คิดกันแบบนี้ ท้ายที่สุดก็จะกระทบกับภาพรวมในการทำธุรกิจอยู่ดี
เมื่อมาดูงบกำไรขาดทุนของสาขา ก็จะเห็นว่าค่าใช้จ่ายในการทำโปรโมชั่น เพื่อเคลียร์ stock ค่อนข้างสูงมาก หากเราลดตรงนี้ลงได้ แม้เพียง 1 % ก็จะมีกำไรกลับเข้าสู่ระบบ เป็นเม็ดเงินที่สูงเลยทีเดียว ตรงนี้ถือเป็น waste ในระบบอีกตัวนึงที่สามารถวัดผลออกมาเป็นตัวเลขให้เห็นได้
เราอาจจะมองว่าเจ้า KPI นี่เป็นตัวร้ายนะ แต่แอดผ่านงานมาหลายแบบ หลายบริษัท วิธีคิดของผู้บริหารองค์กรต่างหากที่เป็นตัวทำให้เกิดความปั่นป่วนภายในบริษัท สำหรับแอดมองว่าหากเราวาง KPI แยกเป็นแผนกอย่างเดียว มันทำให้เกิดการทำงานเป็นไซโลงานฉันได้แล้ว ที่เหลือไม่ใช่เป็นปัญหาของฉัน เอ๊ะ!!!! แบบนี้มันแอดยืนยันว่ามันไม่ถูก การวัดผลงานในการทำงานที่ดีควรจะต้องมีทั้ง 2 มิติดูแลแผนกตัวเอง และแผนกที่คาบเกี่ยวกันด้วย เพื่อให้บรรลุตามกลยุทธ์ของบริษัทที่ตั้งไว้
ลุงทะเล้น
#ลุงทะเล้น #uncletalent #KeyPerformanceIndicator #KPI
บันทึก
4
2
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย