7 ก.พ. 2021 เวลา 05:04 • อาหาร
กิมจิก็ของจีน? สรุปดราม่ากิมจิเป็นของใครระหว่างเกาหลี VS จีน
เกาหลีกับจีนมักจะมีปัญหาปะทะกันอยู่เนืองๆ โดยเฉพาะเรื่องวัฒนธรรม ที่จีนมักจะเคลมว่าเป็นของตัวเอง ดราม่าล่าสุดที่ทำให้เกิดกระแสความไม่พอใจกันระหว่างชาวจีนกับชาวเกาหลีมาจาก "กิมจิ" เครื่องเคียงที่ทำจากผักหมักด้วยกรรมวิธีดั้งเดิมจากเชื้อจุลินทรีย์ ดราม่านี้มีมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว จนถึงตอนนี้ก็ยังพูดถึงกันไม่สิ้นสุด
3
ยูทูบเบอร์ชาวจีนที่โดนชาวเน็ตถล่ม
เรื่องมันมีอยู่ว่า เดือนธันวาคมปีที่แล้ว ยูทูบเบอร์สาวดังชาวจีนนามว่า Liziqiได้อัพโหลดวิดิโอทำอาหารที่มีหน้าตาและกรรมวิธีทำคล้ายคิมจิ นอกจากนี้เธอยังสาธิตการทำอาหารหน้าตาเหมือนกับซุป (김치찌개) เสร็จแล้วก็ติดแฮชแท็ก #ChineseCuisine #Chinesefood ภายในเวลาแค่สามวัน ก็มีผู้ชมเกิน 3ล้านคนไปแล้ว โดยมีชาวเกาหลีมากมายเข้ามาคอมเมนท์ความคิดเห็นในเชิงไม่เห็นด้วย และบอกว่าอย่ามาแย่งของเกาหลีกันเต็มไปหมด นอกจากนั้น เนื่องจากประเทศจีนไม่อนุญาตให้ใช้youtube ก็เลยมีกระแสลือกันว่า มีผู้มีอำนาจปลุกปั่นอยู่เบื้องหลังรึป่าว!?
1
Hamzy 햄지 ยูทูบเบอร์สาวโชว์วิธีการทำกิมจิ แล้วก็โดนถอดสัญญากับบริษัทจีนหมด
หลังจากยูทูบเบอร์จีนอัพวิดิโอได้ไม่นาน ยูทูบเบอร์สาวชาวเกาหลีนาม Hamzy ผู้ทำช่อง ม็อกบัง หรือช่องโชว์กินอาหาร ก็ได้อัพโหลดวิดิโอโชว์วิธีการทำกิมจิและติดแฮชแท็ก #KoreanFood ซึ่งทำให้เธอถูกยกเลิกสัญญากับบริษัทในจีนที่เป็นผู้เผยแพร่วิดิโอของเธอในจีนไปหมด
ทั้งนี้ ทางจีนอ้างว่า จีนเป็นผู้นำด้านการทำอาหารประเภทผักดองมานานแล้ว โดยเฉพาะเพ่าช่าย(paocai)อาหารประจำเสฉวน ซึ่งทางจีนอ้างว่าเป็นเวอร์ชั่นกิมจิของจีน
1
"ดิฉันไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารอะไรหรอกนะคะ แต่ในความคิดของดิฉัน กิมจิ หรือที่เรียกว่า เพ่าช่ายในภาษาจีน ก็เป็นอาหารที่ไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไหนอย่างเดียวหรอก มันก็มีความคล้ายๆกันไปหมด เพียงแต่ว่าแต่ละพื้นที่ก็มีวิธีเตรียมอาหาร วัตถุดิบ รสชาติที่แตกต่างกันหน่อย" โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีน Hua Chunyingกล่าวในงานแถลงข่าวเมื่อถูกถามเกี่ยวกับดราม่าดังกล่าว เธอเหมารวมว่าเพ่าช่ายกับกิมจิคืออย่างเดียวกัน ทำให้ความไม่พอใจบานปลายไปเรื่อยๆ
ทางเกาหลี ทั้งสื่อและองค์กรรัฐบาลที่เกี่ยวข้องก็ออกมาต่อต้านกัน พร้อมกับให้เหตุผลว่า แม้ว่าเพ่าช่ายกับกิมจิจะดูคล้ายๆกันหากมองเผินๆ กิมจิมีกรรมวิธีหมักที่แตกต่างจากเพ่าช่ายของจีนมาก เพ่าช่ายของจีนทำโดยใส่เกลือ สมุนไพรจีน ผักชี ฯลฯ ต้มเสร็จแล้วก็ใส่ผักต่างๆลงไป จึงไม่ใช่กรรมวิธีหมักด้วยจุลินทรีย์แบบเกาหลี
ทั่วโลกรับรู้กันเป็นอย่างดีว่า เกาหลีภูมิใจในอาหารที่ชื่อว่า กิมจิ และใช้เป็นสัญลักษณ์ในการโฆษณาวัฒนธรรมเกาหลีมานานแล้ว เกาหลีอ้างว่า Codex Alimentarius Commission องค์กรร่วมภายใต้Food and Agriculture OrganizationของสหประชาชาติและWHO ได้ยอมรับกิมจิเป็นอาหารของเกาหลีในปี 2001
ทั้งนี้ การที่เกิดประเด็นปะทะกันทางออนไลน์กับจีนแบบนี้ อาจจะเป็นเพราะเกาหลีมีปมที่วิตกกังวลเกี่ยวกับจีนหลายประเด็น
ด้านหนึ่ง คือ จีนมีอิทธิพลในคาบสมุทรเกาหลีมากขึ้นเรื่อยๆ เศรษฐกิจเกาหลีพึ่งพาการส่งออกสู่จีนและการรับนักท่องเที่ยว รวมถึงผู้เสพวัฒนธรรมK-PopและK-Dramaเสกลขนาดใหญ่
แต่อย่างที่พวกเรารู้กัน จีนใช้อำนาจทางเศรษฐกิจนี้ในการช่มขู่ประเทศอื่นๆให้ทำตามระเบียบที่จีนต้องการ เมื่อปี2017 จีนก็เคยลงโทษเกาหลีที่อนุญาตให้สหรัฐอเมริกาเข้ามาติดตั้งระบบ anti-missile defence systemในเกาหลีเพื่อรับมือกับเกาหลีเหนือ จีนโกรธมากที่เกาหลีไม่ฟัง จึงสั่งคว่ำบาตรเกาหลี ไม่ให้นำเข้ารายการทีวีเกาหลี ห้ามคนจีนไปทัวร์เกาหลีอยู่สักพักเพื่อลงโทษและโชว์ว่าจีนมีอำนาจลงโทษเธอนะ
2
กิมจิมากกว่า 40% ที่บริโภคกันอยู่นั้นผลิตและนำเข้ามาจากจีนเพราะเกาหลีผลิตเองไม่ไหว นอกจากนี้ แม้ว่าเกาหลีจะมีวัฒนธรรมการทำกิมจิช่วงฤดูหนาวกับครอบครัว ทำเสร็จก็เก็บไว้ทานทั้งปี แต่ด้วยลักษณะโครงสร้างครอบครัวที่เปลี่ยนไป คนเริ่มอาศัยอยู่ในเมืองเป็นครอบครัวขนาดเล็กและไม่มีเวลาหรือสนใจจะมาทำกิมจิเอง ทำให้วัฒนธรรมนี้อาจจะหายไปได้ นอกจากนี้ ชาวเกาหลียังนิยมบริโภคอาหารต่างประเทศกันมากขึ้น ทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าอาหารเกาหลีอย่างกิมจิจะตกอยู่ในอันตรายได้
2
นอกจากนี้ ในสื่อต่างๆของจีน วัฒนธรรมเกาหลีเริ่มปรากฎตัวมากขึ้น เช่น ชุดประจำชาติเกาหลี เครื่องแต่งกายบางส่วน ซึ่งจีนนำไปใช้ในภาพยนตร์หรือรายการของตัวเอง ทำให้เกาหลีรู้สึกไม่พอใจอยู่เนืองๆ เพราะจีนทำเหมือนกับว่าชุดพวกนั้นเป็นของตัวเอง
1
แน่นอนว่ากระแสชาตินิยมของทั้งสองประเทศคุกรุ่นพอสมควร หากเรื่องนี้ไม่จบลงด้วยการเจรจาอย่างจริงจังแล้ว อาจจะเกิดความขัดแย้งในด้านอื่นๆเช่นเศรษฐกิจได้อีกรอบ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนก็ออกมาบอกแล้วว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีนกับเกาหลีสำคัญกว่าดราม่านี้ และความเข้าใจผิดก็เกิดขึ้นจากการแปลผิดเท่านั้น
1
โฆษณา