7 ก.พ. 2021 เวลา 03:29 • ไลฟ์สไตล์
เช็คลิสต์สำหรับคนอยากลาออก!
"ไม่อยากตื่นไปทำงานเลย"
"วันจันทร์อีกแล้ว! เหมือนยังไม่ได้พักเลย"
หากอาการในเช้าวันทำงานของคุณเป็นแบบนี้
เชื่อว่ามันคืออาการของคนหมดไฟในงาน
แต่จำใจต้องไปทำเพราะ
ลาออกไปแล้วจะเอาอะไรกิน
เพื่อนหลายคน รวมถึงผู้ใหญ่ที่ผมรู้จักตั้งคำถามกับผมว่า
"ทำไมถึงรู้ว่าควรลาออก แล้วรู้ได้ยังไงว่าพร้อมที่จะลาออก"
อย่างแรกที่ผมใช้ตัดสินใจคือ
คุณทำงานที่คุณกำลังทำอยู่นี้ เพื่ออะไร?
เพื่อเงิน เพื่อความฝัน เพื่อความมั่นคง
นี่เป็นสิ่งที่จะได้ยินเสมอเมื่อยินคำถามนี้ออกไป
ซึ่งมันไม่ผิดเลย ไม่มีคำตอบไหนผิด
แต่สิ่งที่อยากให้ตระหนักถึงคือ
วันนี้เราได้อยู่กับสิ่งที่เราอยากทำแล้วรึยัง
ถ้าคำตอบคือ
2
ได้อยู่กับสิ่งที่อยากทำและมีรายได้พอใจด้วย
อันนี้เป็นเรื่องที่ดีและน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง
แต่ถ้าสิ่งที่ทำในตอนนี้ไม่ได้ตอบโจทย์ในชีวิตเลย
และรายได้ก็ไม่ได้ตอบโจทย์ชีวิตเช่นกัน
3
เพียงแต่ทำให้ชีวิตมีสภาพคล่องไปเรื่อยๆ
นั่นคือความผิดปกติที่คนส่วนใหญ่ยินยอม
สาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือ
พวกเขาไม่รู้ว่าจริงๆแล้วตัวเองต้องการอะไร
ชีวิตในปัจจุบันจึงต้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ต้องการจะทำจริงๆ
หากเป็นงานที่คุณทำแล้วไม่ได้ชอบอะไรมากมาย
แต่อยากเรียนรู้ระบบต่างๆ เข้าไปเก็บเกี่ยว
ศึกษาระบบงานเพื่อนำไปต่อยอดกับสิ่งที่เป็นเป้าหมาย
ถ้าคุณเข้าไปด้วยเหตุผลนี้จะพบเลยว่า
การลาออกไม่ใช่เรื่องยากเลย
อาจจะดูเห็นแก่ตัวไปหน่อย
แต่ถ้าคุณรู้สึกว่าสิ่งที่คุณอยากเรียนรู้คุณได้เรียนรู้แล้ว
และงานนั้นเป็นงานที่จะไม่พัฒนาตัวคุณแล้ว
การก้าวออกมาอาจจะเป็นสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ
เมื่อมองถึงเป้าหมายที่เป็นตัวเลขก็ดูจะไม่ตอบโจทย์เหมือนกัน
1
ยกตัวอย่าง
หากมีเงินเก็บจากเงินเดือนงานประจำ
เดือนละ 30,000 บาท
1 ปีจะมีเงินเก็บ 360,000 บาท ยังไม่รวมโบนัส
เมื่ออายุ 30 ปี จะมีเงินเก็บ 1.8 ล้านบาท
มันเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง
แต่ไม่ตอบโจทย์เป้าหมายของชีวิต
ที่เมื่ออายุ 30 ปี ก็อยากจะมีบ้าน มีรถ มีครอบครัว
และที่สำคัญคือรันธุรกิจ
การนำเงิน 1.8 ล้านบาทมากระจายสู่ค่าใช้จ่ายในช่วงนั้นก็ดูเหมือนจะไม่พอหากเก็บตรงๆ
5
และเมื่อสำรวจต้นทุนความรู้แล้ว อาจจะยังมีไม่ครบ แต่ก็มีเวลาให้ลองผิดลองถูกอยู่ 5 ปี
จึงได้ตัดสินใจ
หนีจากวงจรที่ตัวเองไม่ได้ชอบ
สู่การทำสิ่งที่อยากตื่นขึ้นมาทำ
4
อาจจะเป็นความคิดที่ไม่เข้าท่าสำหรับใคร
แต่ส่วนตัวแล้ว มันเหมือนการได้ใช้ชีวิตที่อยากใช้ ได้ทดสอบความสามารถในทุกด้าน บริหารเวลาได้
4
มาถึงส่วนสำคัญที่เป็นประเด็นเช็คลิสต์ของผมที่ใช้สำรวจตัวเองว่าพร้อมลาออกรึยัง
> ไม่มีความสนใจในเนื้องานที่ทำอยู่แล้ว
ตอนที่ตัดสินใจว่าจะไม่ทำงานประจำตามสาขาที่เรียนจบมา
เพราะว่าเมื่อถามตัวเองลงไปลึกๆแล้ว
ไม่ได้มีแพสชั่น
ที่จะอยู่จนถึงจุดสูงสุดของ Career path
และต่อให้เงินเดือนมากกว่านี้
ก็ไม่ได้ทำให้อยากทำสิ่งนี้เพิ่มขึ้น
ข้อควรระวังคือ อย่าตัดสินใจตอนเหนื่อยหรืองานมีปัญหา
11
> มีสิ่งที่อยากทำจริงๆ
ในระหว่างที่รู้ว่าการทำงานแนวนี้ไม่เหมาะกับตัวเองก็ได้เรียนรู้
และรู้จักตัวเองในแต่ละช่วงเวลา ทั้งตอนเครียด
ตอนสุข ตอนมีปัญหาต่างๆ
พอรู้แล้ว่าในชีวิตนี้อยากทำสิ่งไหนจริงๆ
ก็ลองวางแผนความเสี่ยง
และรายได้ที่จะสามารถสร้างจากสิ่งนั้น
5
> ลองต่อเวลาให้ตัวเองอีกซักนิด
ผมใช้สูตรส่วนตัวคือ
ใจเย็นๆ นายอาจจะมีอคติเกินไป
ผมตัดสินใจเข้าทำงานอีกที่
เพื่อตรวจสอบดูว่าจะชอบไหม
คำตอบคือไม่ ดังนั้นการลาออกจึงไม่ใช่เรื่องยาก
2
> ตรวจสอบความสามารถกับสิ่งที่อยากทำด้วย model เล็กๆ
เช่น เมื่ออยากขายของหรือทำธุรกิจอะไรซักอย่าง
ก็ลองลิสต์เลยว่าต้องรู้อะไรบ้าง
และทดลองทำมันจนรู้ปัญหาหน้างาน
แล้วจดบันทึกไว้ว่านี่แหละปัญหาที่ต้องเจอ
มันไม่ใช่เรื่องแปลกเลย
สมัยนี้มีทางเลือกให้ลองมากมาย ขอยกอีกตัวอย่าง คุณอาจจะมีความฝันในการทำครีมบำรุงผิวแบรนด์ตัวเอง ก็อาจจะหนักใจว่า ฉันต้องใช้ทุนมากในการทำวิจัย ซื้อเครื่องจักรนั่นนี่เยอะแยะไปหมด
แต่เดี๋ยวก่อน!
หากคุณมั่นใจในสูตรที่คุณชอบและเชื่อมั่นว่าจะดีต่อลูกค้า
มีวิธีรองรับคือ การ OEM พูดง่ายๆคือเรามีสูตรที่เรามั่นใจ แล้วส่งให้โรงงานที่มีเครื่องจักรพร้อม นักวิจัยพร้อม ที่จะรับจ้างผลิตสินค้าให้เรา และเรานำไปขาย
5
> ประมาณการณ์รายได้จากสิ่งที่อยากทำว่ามีความเป็นไปได้ไหมที่จะตอบโจทย์ด้านตัวเลข
ตรงนี้ บอกเลยว่า อย่ามโน บางงานที่เราชอบจริงๆ แต่สร้างรายได้ให้น้อยและไม่ตอบโจทย์กับตัวเลขที่เราต้องการ ถ้ายังฝืนทำโดยที่ไม่มีการแก้ไขปัญหา และหาจุดบกพร่อง มันจะส่งผลเสียในระยะยาว และแน่นอนว่าต้องเสียดายเวลา อาจจะแก้ปัญหาโดยการประมาณการณ์จุดคุ้มทุน
เก็บข้อมูล หาปัจจัยต่างๆให้ได้มากที่สุดเพื่อนำมาประเมินว่าจะคุ้มทุนเมื่อไหร่ พอจะเป็นไปได้ไหม
5
> เรียนรู้สกิลใหม่ๆ
ในที่นี้ขอแนะนำสกิลที่สำคัญมากไม่ว่าจะอยู่ในวงการไหนคือ
"สกิลการพูด" การจะพูดให้ดีได้ย่อมเกิดจากการฟัง ฟังสิ่งที่ดี
และพัฒนาสกิลจากการฝึกกับผู้คน
(ขอกล่าวในคอนเทนต์ต่อๆไป)
1
> ตรวจสอบภาระว่า เราเสี่ยงได้มากเพียงไหน
ส่วนนี้สำคัญมาก เพราะหากเราตัดสินใจออกจากงานประจำแล้วแปลว่ารายได้ส่วนนี้เราจะหายไปทันที
หากคุณมีภาระหลายทางให้ต้องรับผิดชอบแล้ว
ก็คงลำบากที่จะตัดสินใจลาออก หากแนะนำได้ก็คงไม่อยากให้สร้างภาระก้อนใหญ่ไว้ แต่เมื่อมีมาแล้ว ส่วนที่สามารถแก้ไขได้คือ เพิ่มเติมความสามารถที่สร้างรายได้ทดแทนได้
อ่านมาถึงตรงนี้ก็อยากจะย้ำเตือนว่า การลาออกจากงานประจำอย่าลาออกเพื่อหวังความมสบาย และหนีความไม่ลงตัวของเพื่อนร่วมงาน
เพราะในโลกของการลุยด้วยตัวเองมันหนักกว่าทำงานประจำเยอะมาก
จากที่คุณทำงานประจำรับผิดชอบแผนกเดียว
พอลาออกมาคุณต้องเป็นได้ทุกแผนก
ไม่ว่าจะเป็น พนักงานขาย บัญชี การตลาด คนส่งของ แม่บ้าน ยาม ผู้บริหาร คุณควรรู้ว่าคุณจะได้เป็นทุกตำแหน่ง
3
เพราะฉะนั้นอย่าลาออกมาเพื่อหวังว่าจะสบาย
แต่สิ่งที่ได้คือ
ถ้าคุณได้ทำในสิ่งที่รักจริงๆแล้ว
คุณรู้สึกดีกับมัน
คุณจะยอมลดการดื่มแอลกอฮอล์ลงเพื่อมัน
คุณจะจัดการเวลาเพื่อมัน
คุณจะมีเวลาในชีวิตที่มีคุณค่า
คุณอยากจะตื่นเช้ามาเพื่อมาคลุกคลีอยู่กับมัน
และ ในก่อนนอนทุกคืน
คุณจะรู้สึกเหมือนกับว่าพรุ่งนี้คุณได้นัดออกเดทกับคนที่คุณแอบชอบ
คุณอยากให้ถึงพรุ่งนี้ไวๆ
3
อยากทำอะไรจงมีเหตุผลรองรับ
การเตรียมตัวมาดีย่อมเท่ากับมีโชคคอยเข้าข้าง
อยากลาออก อย่ามโน!
3
โฆษณา