Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นึกออกบอกเล่า by NatchiiJourney
•
ติดตาม
8 ก.พ. 2021 เวลา 15:34 • หนังสือ
Book Bestie #2 : หมู่เกาะมาเลย์เล่ม 1-2 The Malay Archipelago 1-2
เล่มสองที่อยู่บนเล่มหนึ่งซึ่งได้ทำการห่อปกไว้โดยที่ไม่ได้คาดคิดไว้ว่าสีกระดาษห่อของเล่มสองจะเข้ากับเล่มหนึ่งเสียทีเดียว
ต้นฉบับจาก Alfred Russel Wallace (อัลเฟรด รัซเซล วอลเลซ) จากปี 1869 ที่บันทึกดังกล่าวได้ถูกเผยเเพร่จากการเก็บตัวอย่างเเละศึกษาธรรมชาติในเเถบหมู่เกาะมาเลย์เเละเกาะบอร์เนียวนั่นคือเเถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริเวณประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์เเละบรูไนในปัจจุบัน
วอลเลซเป็นนักธรรมชาติวิทยารุ่นราวคราวเดียวกับชาร์ล ดาร์วินอันเป็นผู้ศึกษาระบบนิเวศน์ที่หมู่เกาะกาลาปากอสเเละเป็นบิดาเเห่งทฤษฎีวิวัฒนาการนาม Natural Selection (เดี๋ยวไว้อ่าน The Voyage of Beagle จบเเล้วจะมาเล่าสู่กันฟังนะคะ)
การเดินทางของวอลเลซในเเถบหมู่เกาะมาเลย์เเละอินโดนีเซียได้ดำเนินไปเพื่อเก็บตัวอย่างสัตว์ในพื้นที่ดังกล่าวเเต่ด้วยจิตวิญญาณอันชาญเฉลียวของเขาทำให้วอลเลซเกิดการศึกษาเเละตั้งคำถามถึงความหลากหลายเเละความเเตกต่างของเหล่าสัตว์น้อยใหญ่นานาพันธุ์ที่เขาค้นพบ
เเม้ว่าโดยส่วนใหญ่(โดยเฉพาะในเล่มที่สอง)เขาจะเล่าถึงพวกกนกเสียมากกว่าเเต่ถึงกระนั้นเเม้พื้นที่ห่างกันไม่มากเพียงระหว่างเกาะใกล้ๆกันกลับมีพันธุ์สัตว์ที่ปรากฏต่างกันลิบลับเลยทีเดียวทำให้เกิดการเรียกขานเส้นวอลเลซ (Wallace line) ขึ้นมาเเทนเส้นทางที่วอลเลซได้เดินทางเเละได้พบถึงความเเตกต่างของพันธ์ุสัตว์เเม้ว่าหมู่เกาะจะใกล้กันมากๆ
จากการค้นพบของเขาได้มีอิทธิพลต่อเเนวคิดทางชีววิทยาในปัจจุบันโดยวอลเลซได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาเเห่งชีวภูมิศาสตร์ และเเนวคิดเขาจากการเเบ่งเส้นวอลเลซถือว่าเป็นจุดกำเนิดที่จุดประกายเกิดการศึกษาการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกเเม้ว่าในท้ายที่สุดเขาจะไม่ได้เป็นผู้เสนอทฤษฎีดังกล่าวก็ตามเเต่ในยุคดังกล่าวก็ยากที่จะหาคนอย่างวอลเลซที่ได้ศึกษาประวัติศาสตร์ธรรมชาติ เเกะรอย สังเกต จินตนาการสิ่งเหล่านี้ออกมาได้
นอกจากเหล่าสรรพสัตว์ที่ได้สำรวจพบรวมทั้งได้เป็นผู้ค้นพบหลายสปีชีส์ก็ยังเห็นได้ว่าวอลเลซได้เล่าเรื่องถึงอารยธรรมของผู้คนบนเกาะที่เขาไปไม่ว่าจะปาปัว สิงคโปร์ มะละกาเเละชายฝั่งเล็กๆอีกมากมาย การที่เขาไปอย่างเป็นมิตรเเต่ในยุคที่ชาตตะวันตกต่างล่าอาณานิคมกันก็เเสดงถึงความเป็นอารยะของชาติตะวันตกเเละพื้นที่ที่เขาได้ไปสำรวจได้เห็นถึงวิถีชีวิตของผู้คนอีกธรรมชาติที่ยังไม่ได้ถูกถากถางไปดั่งปัจจุบันของคาบสมุทรมาเลย์
หนังสือชุดนี้เเท้จริงตีพิมพ์ห่างกันราว 7 เดือน อันที่จริงเราก็ซื้อตั้งเเต่เปิดตัวเเล้วเเหละค่ะเเต่เนื่องด้วยภารกิจทางการศึกษาเเละหลายอย่างทำให้เพิ่งมาอ่านเล่มหนึ่งต่อเล่มสองในช่วงปิดเทอม ทั้งสองเล่มใช้เวลาอ่านร่วมยี่สิบวันเนื่องจากความไม่ตรงสายที่ศึกษาเเต่ภาษาในเล่มสละสรวยทำให้คนทั่วไปก็สามารถอ่านเข้าใจได้เเม้ว่าจะใช้เวลาเยอะนิดหน่อยเเละบางทีคุณวอลเลซก็ได้พร่ำพรรณนาถึงธรรมชาติเยอะไปหน่อยโดยที่เห็นได้ชัดว่าคุณวอลเลซในเล่มสองชื่นชอบปักษาสวรรค์เป็นเอามากโดยเเทบทั้งเล่มก็จะกล่าวถึงเเต่นกพันธุ์นี้ ตามหาทั้งเกาะน้อยใหญ่เเม้ลูกสมุนป่วยก็ไม่อาจหวั่น มีเเพสชั่นในขั้นที่ยกว่าเป็นนกที่สวยที่สุดในโลกพบเเต่บริเวณคาบสมุทรมาเลย์ เขียนทั้งบทเพื่อเธอเเต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งการนำซากไปยังเกาะอังกฤษก็สามารถ
ทำให้เขาประทังชีวิตเเละดำเนินการสำรวจต่อไปได้เเต่โดยดีเนื่องด้วยความสวยงามหายาก เเต่ในเชิงจริยธรรมเเละศีลธรรมคุณวอลเลซเเสดงให้เห็นถึงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมาก เเม้ว่าจะมาตัวคนเดียวเข้าป่าจ้างชาวบ้านที่เเทบไม่รู้ภาษาซึ่งกันเเละกันด้วยซ้ำเพื่อที่พวกเขาจะได้สิ่งตอบเเทนเป็นผ้า ของเครื่องใช้ อุปโภคบริโภคอันเป็นสินค้าที่สมัยนั้นว่ามีมูลค่า อีกทั้งเรื่องที่เราชอบคือได้รู้ถึงเรื่องการรักษาโรคโดยใช้ควินินไม่ว่าคุณวอลเลซ ลูกสมุน คนบนพื้นที่ที่ไปเยือนป่วยก็จะเห็นถึงการใช้ควินินรักษาโรคเเละฟื้นตัวกลับมาได้
PARADISAEA RUBRA
ส่วนตัวเเล้วเห็นความสำคัญของคุณอัลเฟรดวอลเลซว่าเป็นผู้มีอิทธิพลในเชิงธรรมชาติวิทยาไม่เเพ้ ชาร์ล ดาร์วินเลยทีเดียวเลยค่ะ เเม้ว่าทฤษฎีของชาร์ล ดาร์วินจะโด่งดังมากกว่าเเต่ในเรื่องทฤษฎีทีค้นพบ งานตีพิมพ์ เเละมิตรภาพของทั้งคู่ก็ไม่อาจตัดสินได้ว่าใครจะยิ่งใหญ่มากกว่าใคร เราจะมองเห็นว่าการตีพิมพ์ก่อนการค้นพบก่อนบางทีก็เป็นเรื่องของคอนเนคชั่นนั่นคือโอกาสของเเต่ละคนมากกว่า
หนังสือทั้งสองเล่มสิริรวม 424+392 = 816 หน้า ความน่าสนใจ 4/5 เนื่องด้วยความหนาเเละพาสชั่นของผู้อ่านที่บางวันตั้งเป้าไว้ห้าสิบหน้ามิอาจอ่านมากถึงได้ สุดท้ายนี้ไม่การอ่านหนังสือชุดนี้เเสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในอดีตราว 180 ปี ตั้งเเต่ 1854 ถึง 1864 ที่คุณอัลเฟรด วอลเลซได้สำรวจธรรมชาติ พอมองย้นกลับมาปัจจุบันมักจะทำให้ตระหนักได้เสมอว่าทุกวันนี้เราเป็นหนึ่งในตัวการณ์ของ human factor ทำลายระบบนิเวศน์ไหมนะเเละเราจะช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติเหล่านี้ได้อย่างไร
Reference
[1] หนังสือหมู่เกาะมาเลย์เล่ม 1-2 โดย Alfred Russel Wallace สนพ.มติชน เเปลโดยอาจารย์ชิ้น นำชัย ชีววิวรรธน์, ณัฐพล อ่อนปาน, ต่อศักดิ์ สีลานนท์และศศิวิมล เเสวงผล ขอบคุณทุกท่านเเละทางสนพ.ที่ได้ส่งต่ความรู้ให้งอกงามในสังคมไทยค่ะ
[2]
https://blogs.crikey.com.au/northern/2009/12/26/alfred-r-wallace-native-boys-and-the-red-bird-of-paradise/
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย