Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ครูพี่ออย-นักจิตวิทยาวัยรุ่น
•
ติดตาม
8 ก.พ. 2021 เวลา 02:01 • ครอบครัว & เด็ก
#ลูกวัยรุ่นอารมณ์ขึ้นๆลงๆ
พาคุณพ่อคุณแม่ปวดหัวไปหมดแล้ว😓
📌ทำไมและจะช่วยลูกวัยรุ่นได้อย่างไร
คุณพ่อคุณแม่หลายคนกำลังรู้สึกว่าช่วงนี้ลูกวัยรุ่นกำลังอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ขึ้นๆ ลงๆ เดียวอารมณ์ดี เดียวอารมณ์หงุดหงิด แตกต่างจากตอนที่เขานั้นเป็นเด็ก และเริ่มเหมือนจะค่อยๆ ออกห่าง มีพื้นที่ส่วนตัว ใช้เวลาในห้องส่วนตัวของตัวเองมากขึ้น
การต้องการพื้นที่ส่วนตัว ต้องการเวลาทำอะไรคนเดียวนั้นเป็นเรื่องปกติที่เป็น #สัญญาณของการค่อยๆเข้าสู่ช่วงผู้ใหญ่ มีความอิสระมากขึ้น กำลังเรียนรู้การทำอะไรคนเดียว ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีและปกติ แต่ทั้งนี้
🌟"ลูกวัยรุ่นก็ยังต้องการการช่วยเหลือและคนคอยให้คำปรึกษาอยู่"🌟
สาเหตุหลักๆ 3 ประการสำคัญที่ทำให้ลูกวัยรุ่นอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่ายๆ
🚩🚩1. สมอง ในช่วงของวัยรุ่นนั้น สมองส่วนที่เรียกว่าสมองอารมณ์ได้พัฒนามาอย่างเต็มที่ ในช่วงวัยรุ่นอายุประมาณ 10-12 ปี
สมองส่วนระบบลิมบิก หรือขอเรียกง่ายๆว่า #สมองส่วนอารมณ์พัฒนาอย่างรวดเร็วมาก ชัดเจนเด่นชัดในช่วงวัยนี้ โดยสมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้เกี่ยวกับอารมณ์ ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ เป็นศูนย์กลางของการแสดงอารมณ์ต่างๆ ความทรงจำ พฤติกรรม การตอบสนองต่อการได้รับรางวัลและการถูกลงโทษ
แต่ในขณะที่สมองพรีฟรอนทอลคอร์เท็ก หรือ #สมองส่วนเหตุผลพัฒนาช้ากว่า ซึ่งสมองส่วนนี้ทำหน้าที่ในการคิด ไตร่ตรองวิเคราะห์ คิดแบบเป็นเหตุเป็นผล การรู้จักยับยั้งชั่งใจ ทำให้สามารถควบคุมตัวเองได้
#การพัฒนาที่ไม่สมดุลนี้ โดยสมองส่วนอารมณ์พัฒนาไปเร็วมากกว่า ส่งผลให้ลูกวัยรุ่นจึงมักทำอะไรตามใจตนเอง ยังตัดสินใจเรื่องต่างๆ ได้ไม่ดีมากนัก มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น กล้าเสี่ยง
เวลาเจออารมณ์ลบอาจจะยังจัดการได้ไม่ดีมากนัก
อยากลองสิ่งใหม่ สิ่งที่น่าตื่นเต้น มักใช้อารมณ์ในการตัดสินต่อสถาณการณ์ต่างๆ
.
🚩🚩2. ร่างกายที่เปลี่ยนแปลง
วัยรุ่นให้ความสำคัญและใส่ใจในร่างกายที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งในวัยรุ่นผู้หญิงและวัยรุ่นผู้ชาย หากลูกมีการเปลี่ยนแปลงที่ช้าหรือเร็วกว่าเพื่อนรอบข้างก็สามารถความกังวลให้กับเจ้าตัวได้ รวมทั้งในวัยนี้เป็นวัยที่ต้องการการนอนที่เพียงพอ แต่ด้วยกิจกรรมหรือหลายเหตุผลก็ทำให้อาจจะนอนไม่เพียงที่จะส่งผลต่ออารมณ์ของเจ้าตัวได้เช่นกัน
🚩🚩3. สังคมและปัจจัยรอบข้าง
วัยนี้เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นค่อนข้างเยอะ มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนชั้นในการเรียน การเจอเพื่อนใหม่สังคมใหม่ การแข่งขัน ความกดดันต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของตัวลูกได้ ประกอบกับการที่เป็นช่วงที่กำลังเรียนรู้การต้องตัดสินใจทำหลายสิ่งคนเดียวจากเมื่อก่อนที่คอยมีพ่อแม่คอยช่วย ก็จะเป็นสิ่งที่กระทบต่ออารมณ์ของเขาได้เช่นกัน
🌟สิ่งที่สำคัญคือ เราไม่สามารถทำให้หรือพยายามจะทำให้ลูกไม่รู้สึกเสียใจ รู้สึกแย่ๆได้
แต่เราสามารถทำให้เขาจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้นได้ค่ะ โดยการ
1. เข้าใจและรู้ทันอารมณ์ตัวเอง
คนเราทุกคนล้วนมีอารมณ์เป็นเรื่องปกติ มีอารมณ์ดีบ้าง อารมณ์เศร้าบ้างปนกันไป #สร้างความเข้าใจว่าการมีอารมณ์เศร้า เสียใจนั้นเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ พ่อแม่เองก็มีอารมณ์แบบนี้เช่นกัน ดังนั้นหากลูกมีความรู้สึกเศร้า หรือเจอความผิดหวังก็ไม่ต้องกดความรู้สึกนั้น รับรู้ถึงอารมณ์นั้นและจัดการอย่างเหมาะสม
2. พูดคุย ถามไถ่
การพูดคุยถามไถ่ ทำให้เขารู้ว่ายังมีเราคอยอยู่เคียงข้างเสมอ เขาไม่ได้เผชิญสิ่งต่างๆ อยู่คนดียว แน่นอนว่าบางสิ่งเราได้ให้เขาได้เรียรรู้ด้วยตัวเอง หรือบางสิ่งที่เขาอยากทดลองทำเองคนเดียวเขาก็สามารถทำได้ แต่ในขณะเดียวกันหากเขาต้องการความช่วยเหลือ หรือ คนรับฟัง เราก็พร้อมจะรับฟัง บางครั้งแค่มีคนรับฟังก็ช่วยให้ลูกรู้สึกดีขึ้น
3. ให้เวลาเป็นตัวช่วย
ลูกวัยรุ่นกำลังอยู่ในช่วงเรียนรู้การทำหลายสิ่งหลายอย่างด้วยตัวเอง รวมทั้งการจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นรวมทั้งรับมือหรือการตอบสนองต่อสถาณ์การณ์ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นส่วนที่จะทำให้เขาค่อยพัฒนาการจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ดังนั้นการให้เวลาลูก หากลูกโกรธหรือโมโหให้คุยกันตอนที่พร้อมทั้งเราและเขา
4. โมโหมา ไม่ต้องโมโหกลับ
หากลูกเริ่มแสดงอาการเกรี้ยวกราด หรือพูดจาไม่ดีใส่เรา เราต้องไม่ระเบิดกลับไป ให้ใจเย็นๆ ก่อน เพราะคีย์ที่สำคัญคือ ลูกจะเรียนรู้และซึมซับการจัดการปัญหาแบบที่เราทำให้เขาเห็น บอกลูกได้เลยว่าแม่ไม่อยากจะคุยตอนที่เราอารมณ์ไม่ดี, บอกความรู้สึกกับลูกได้ว่า "ตอนนี้แม่โกรธมากที่ลูกทำแบบนี้ รอสักพักพอเราอารมณ์ดีแล้วค่อยคุยกัน" เพื่อเราจะได้ไม่ใช้คำพูดทำร้ายกันไปมา รวมทั้งจะได้พูดถึงเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นและแก้ได้ตรงจุดมากกว่า
5. ร่วมด้วยช่วยกันในการจัดการปัญหา #แต่เขาเป็นคนตัดสินใจ
หากมีปัญหาหรือสิ่งที่ต้องตัดสินใจ เราสามารถช่วยเขาหรือเสนอแนะมุมมองได้ แต่ให้เขาได้เป็นคนตัดสินเอง เพราะการได้ตัดสินใจเองด้วยตัวเองนั้นนอกจากเขาจะรู้สึกดีมากกว่าแล้ว ยังเป็นการสร้างการเห็นคุณค่าในตัวเองให้กับเขาอีกด้วย
6. ผู้เชี่ยวชาญพร้อมช่วยเหลือ
หากคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าจัดการไม่ไหวแล้ว หรือเริ่มสังเกตุเห็นลุกวัยรุ่นของเรามีอาการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปมากทำให้คุณพ่อคุณแม่หนักใจ เช่น ไม่ทานข้าว, ทำร้ายตัวเอง, ควบคุมตัวเองไม่ได้, ใช้สารเสพย์ติด เป็นต้น อย่าลังเลที่จะไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าหากลูกยังไม่พร้อมที่จะไป หรือไม่รู้จะพาไปอย่างไร #คุณพ่อคุณแม่เองสามารถเข้าไปพบ พูดคุยก่อนปรึกษาก่อนในเบื้องต้นได้ค่ะ เพื่อร่วมกันหาทางช่วยเหลือร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ
-------ครูพี่ออย
นักจิตวิทยาวัยรุ่น❤️
FB: ครูพี่ออย-จิตวิทยาเลี้ยงลูกวัยรุ่น
1 บันทึก
1
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย