8 ก.พ. 2021 เวลา 09:48 • ความคิดเห็น
5 อุปนิสัย ที่ทำให้ฐานะการเงินคุณแย่ลง
ภาพโดย 1820796 จาก Pixabay
"การสร้างความมั่งคั่งเหมือนกับการฝึกฝนเพื่อเข้าแข่งกีฬาโอลิมปิก"
บทความ 5 Bad Money Habits That Keep You Poor โดยคุณ Daniel's Brew กล่าวว่า การที่จะประสบความสำเร็จทางการเงินนั้น ต้องใช้ทั้งวินัยและความอดทน ความพยายามฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เสมือนนักกีฬาที่จะเข้าแข่งกีฬาโอลิมปิค โดยที่ไม่รู้ว่าจะได้ชัยชนะกลับมาหรือไม่
ถึงแม้ว่าเราจะไม่รู้ว่าเราจะไปถึงเส้นชัยของความร่ำรวยหรือไม่ แต่อย่างน้อยเราควรกำจัด 5 นิสัยทางการเงินที่ทำให้เรามีฐานะแย่ลงออกก่อนค่ะ
ภาพโดย David Mark จาก Pixabay
ถ้าไม่ร่ำรวยล้นฟ้า อย่างน้อยเราก็ควรจะมีฐานะทางการเงินที่สุขสบายใช่มั้ยคะ
เงินทองต้องวางแผนเรียบเรียง
5 อุปนิสัย ที่ทำให้ฐานะการเงินคุณแย่ลงมาฝากค่ะ
1. เก็บเงินด้วยการออมเพียงอย่างเดียว โดยไม่รู้จักนำเงินไปลงทุน
การฝากเงินในธนาคาร หรือ กองทุนตราสารเงินระยะสั้น ให้ความปลอดภัยในเรื่องของเงินต้น แต่ได้ผลตอบแทนที่น้อยมาก จึงควรมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เพื่อเป็นสภาพคล่องเท่านั้น
เราต้องแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาไว้ในสินทรัพย์ลงทุนรูปแบบต่างๆ
ในภาพคือ รายการสินทรัพย์ลงทุนที่ความเสี่ยงและผลตอบแทนการลงทุนแตกต่างกัน
เราควรมีความรู้ในเรื่องเหล่านี้และเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินอย่างเหมาะสม
ที่มา www.krungsriasset.com
ตัวอย่าง พลังดอกเบี้ยทบต้นของผลตอบแทนการลงทุนที่แตกต่างกัน
ลงทุนเดือนละ 1,000 บาทเป็นเวลา 30 ปี
เงินต้นที่เราออมเป็นเงิน 360,000 บาท
👉ผลตอบแทน 4% ต่อปี
เงินเราจะมีมูลค่า 685,000 บาท
👉ผลตอบแทน 15% ต่อปี
เงินเราจะมีมูลค่า 5,500,000 บาท
จะเห็นได้ว่าอัตราผลตอบแทนทำให้แตกต่างกันได้มากเลยทีเดียว
2
ที่มา ตลาดหลักทรัพย์
2. ไม่ใช่เพียงแค่ใช้เงินจ่ายอย่างระมัดระวัง แต่คือการวางแผนการเงินอย่างชาญฉลาด
เราจะเห็นตัวอย่างคนที่มีรายได้สูง บางคนในช่วงวัยทำงาน กลับกลายเป็น คนที่ลำบาก ไม่มีเงินใช้ในช่วงวัยชรา เทียบกับ บางคนที่ทำงานธรรมดา มีรายได้ปานกลาง กลับกลายเป็นคนที่ดูสุขสบาย พอมีพอกินในยามแก่
สิ่งที่แตกต่างกันของคน 2 กลุ่มนี้ คือ การวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ
☝สิ่งสำคัญไม่ใช่เราหาเงินได้มากเท่าไหร่ แต่สำคัญว่า ในระยะยาวเราทำให้เงินเหลือได้มากเท่าไหร่ ทำให้เงินงอกเงยได้มากขึ้นแค่ไหน
1
เราต้องจัดสรรเงินลงในส่วนต่างๆของการวางแผนทางการเงินอย่างเหมาะสม
ตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพเข้าใจง่าย
คือ ปิรามิดทางการเงิน
ตั้งแต่พื้นฐานการจัดการสภาพคล่อง การบริหารความเสี่ยงด้วยประกัน การวางแผนจัดสรรเงินไปลงทุน การบริหารภาษีเสียภาษีอย่างถูกต้องและเหมาะสม และสามารถส่งมอบความมั่งคั่งสู่รุ่นต่อไป ด้วยการวางแผนมรดก
1
www.insuredlover.com
[อ่านเรื่องปิรามิดทางการเงินได้ที่
การที่จะมีเงินใช้ตลอดช่วงวัยเกษียณ ไม่ใช่เพียงแค่วางแผนว่าต้องมีเงินจำนวนเท่าไหร่ ที่จะค่อยๆถอนใช้จนถึงอายุที่เราคาดว่าจะจากไป
เราต้องมีแผนจัดการความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาล เลือกใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆเป็น เช่น ใช้ประกันบำนาญให้มีรายได้ประจำในช่วงวัยเกษียณ มีความรู้เรื่องการลงทุนที่ทำให้สามารถใช้เงินจากผลตอบแทนไปตลอดชีวิต รวมถึงต้องส่งมอบความมั่งคั่งสู่รุ่นลูกหลานได้
3. มีความเชื่อเรื่องเงินที่ผิด
ถ้าคุณยังเป็นคนที่อายที่จะพูดเรื่องเงิน คุณก็ไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งได้
บางคนรู้สึกว่าการเจรจาเรื่องเงิน ทำให้เราดูเป็นคนเห็นแก่เงิน แต่นั่นเป็นสิ่งสำคัญมาก ที่ต้องคำนึงเรื่องของความคุ้มค่าของเงินที่จ่ายออกไป และการได้รับกลับมา
เรื่องนี้เห็นตัวอย่างได้ชัด สำหรับคนที่ทำงาน freelance บางคนไม่กล้าที่จะตกลงราคาของงาน ให้คุ้มค่าแรงค่าสมองของเรา บางคนอายที่จะทวงถามค่าตอบแทนที่ตกหล่นไป ทำให้ freelance หลายคนมีปัญหาหนี้สิน รายได้ไม่พอรายจ่าย แทนที่จะเป็นโอกาสของการสร้างรายได้ไม่จำกัด สามารถหารายได้ได้มากกว่าคนทำงานประจำ
เราต้องกล้าพูดถึงเรื่องเงินได้อย่างตรงไปตรงมาค่ะ
4. ใช้ชีวิต Unhealthy ขาดการดูแลสุขภาพ
การดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ไม่เพียงทำลายสุขภาพของเราเท่านั้น แต่ยังทำลายฐานะการเงินของเราด้วย
ข้อแรก คือ เรื่องของจำนวนเงินที่เราต้องซื้อสิ่งเหล่านี้มาเสพเป็นประจำ วันแล้ววันเล่า ปีแล้วปีเล่า
หากนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนต่อเนื่องสัก 10-15 ปีแทน เราอาจจะได้เงินก้อนไปซื้อบ้านได้สัก 1 หลังเลยทีเดียว
ข้อสอง คือ ทำลายสุขภาพ คุณจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวตามมาในยามแก่ หรืออาจจะมาเร็วกว่านั้น หากเจ็บป่วยตั้งแต่วัยทำงาน ก็จะกระทบการหารายได้ของเราอีกด้วย
☝สิ่งที่ unhealthy พอๆกับการดื่มแอลกอร์ฮอล์และสูบบุหรี่ ซึ่งมีผลเสียไม่แพ้กันที่เรามักมองข้าม คือ การทานแป้งและน้ำตาลในปริมาณมากเกินไปต่อวัน
จนเราเป็นคนติดหวานโดยไม่รู้ตัว ซึ่งมักมาในรูปแบบอาหารที่เป็นที่นิยมต่างๆ เช่น ชานมไข่มุก ขนมแสนอร่อย และยังราคาสูงอีกด้วย หากเป็นยี่ห้อดังที่กำลังฮิต ขนมบางยี่ห้อ ชิ้นเดียวแพงกว่าอาหาร 3 มื้อของบางคนอีกค่ะ
คุณอาจจะเป็นโรคคลอเรสเตอรอลสูง หรือ เบาหวานตั้งแต่วัยทำงานได้ค่ะ
การบริโภคที่ทำลายสุขภาพ นอกจากสิ้นเปลืองเงินแล้ว คุณยังไม่สามารถสมัครทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพได้ คุณอาจจะต้องจ่ายเบี้ยประกันในเรตที่แพงกว่าคนอื่น หรือ ถูกบริษัทประกันปฏิเสธความคุ้มครอง กลายเป็นว่าคุณจะต้องรับความเสี่ยงไว้เองอีกด้วย
5. การจัดการหนี้สินที่ไม่จบสิ้น
เราจะสร้างความมั่งคั่งไม่ได้ ถ้าเรายังจัดการหนี้สินไม่ได้
ดอกเบี้ยที่แพงที่สุดคือบัตรเครดิต และหนี้ที่เกิดจากบัตรเครดิตมักเกิดจากหนี้บริโภคที่เราใช้จ่ายเกินตัว ต้องหาวิธีจัดการหนี้ส่วนนี้ให้หมดไปโดยเร็วที่สุด
ในส่วนหนี้ที่เป็นหนี้ระยะยาวที่เป็นการผ่อนทรัพย์สิน เช่น บ้าน รถยนต์ ควรรวมแล้วไม่เกิน 40% ของรายได้ จะได้ไม่กระทบสภาพคล่อง จนอาจจะลามไปถึงการใช้เงินเดือนชนเดือนจนไปเป็นหนี้บัตรเครดิตได้
ลองตรวจสอบสถานะทางการเงินของเราและหาวิธีจัดการดูนะคะ สำคัญที่เราต้องยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นก่อนค่ะ เราจึงจะแก้ปัญหานั้นได้ ถ้าเรายังมองว่าการมีหนี้สิน ไม่ใช่ปัญหา เราก็จะมีหนี้สินตลอดไปค่ะ
อ้างอิงบทความ
กดฟังคลิปได้ที่
☝ติดตามฟังสาระดีดีของการวางแผนการเงินส่วนบุคคลและการพัฒนาตัวเองได้ที่

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา